การศึกษาความพึงพอใจของผู้มารับบริการสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีการศึกษา 2558

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ งามฉลาด

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจผู้มารับบริการสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีการศึกษา2558 และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการ บุคลากรสายสนับสนุน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้ารับบริการ กลุ่มตัวอย่างเป็นจำนวน 500 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์โดยหาสถิติแจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test Independent Samples Test และ One-way Analysis of Variance

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้มารับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X= 4.44,S.D. = 0.339) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มากที่สุด คือ ด้านบทบาทการชี้นำสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.53,S.D= 0.512) รองลงมาคือ ด้านบทบาทการตอบสนองต่อความต้องการของสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.52,S.D=0.489) และน้อยที่สุด คือ ด้าน สิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก (X=4.21, S.D= 0.566)
  2. เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการของสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ พบว่า ผู้มารับบริการที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด และประเภทผู้รับบริการ มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

คำสำคัญ : ความพึงพอใจ ผู้มารับบริการ สำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

          This research aimed to study satisfaction of the customers toward the Dean’s Office of the Faculty of Humanities and Social Sciences, Surindra Rajabhat University, Academic Year 2015 and The compare of satisfaction of the clients to service. Samples were academicians, staffs, students, and general public who were given service by the Faculty of Humanities and Social Sciences, Surindra Rajabhat University. Populations were 500 people. Questionnaire was used to collect data and analyzed the data by Statistical Package for the Social Sciences program for frequency, percentage, average, and standard deviation. The hypothesis test by comparing the satisfaction of the customers toward the Dean’s Office was divided by genders, comparing between two variables, the value of the variable, statistical analysis using T-test Independent Samples Test and One-way Analysis of Variance.

  1. Customer’s satisfaction toward the Dean’s Office of the Faculty of Humanities and Social Sciences, Surindra Rajabhat University were given service; overall they were satisfied at the highest level (= 4.44, S.D. = 0.339). When it was considered each individual aspect it was found that the most satisfying aspects of the role of social direction ; overall they were satisfied at the most (X= 4.53, S.D. = 0.512); then the aspect of satisfaction of the response to the demands of social issues; overall they were satisfied at the most (X= 4.52,S.D. = 0.489) and the lowest satisfaction was the aspect of amenities respectively; overall they were satisfied at the highest level (X= 4.21,S.D. = 0.566)
  2. The compare of satisfaction of the clients to service were included by gender, age, and educational background. Even though the aspect of customers and providers were different but it was found that there was no statistically significant at the 0.05 level .

Keywords : Satisfaction, Customers, Dean’s Office of the Faculty of Humanities and Social Sciences, Surindra Rajabhat University

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)