เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก หลวงพระบางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • นาฎยา ซาวัน
  • คนึงนิตย์ ไสยโสภณ
  • บุญยัง หมั่นดี

คำสำคัญ:

มิติใหม่ของการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, ศูนย์การเรียนรู้มอนเตสซอรี่

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์เศรษฐกิจการท่องเที่ยวและเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในเมืองมรดกโลก หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเทคนิควิธีการสังเกต การสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชาชนท้องถิ่นในเขตอนุรักษ์ ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลด้วยเทคนิคการตรวจสอบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาโดยมีเหตุผลประกอบ

          ผลการวิจัยพบว่า เศรษฐกิจการท่องเที่ยวของเมืองหลวงพระบางมีปัจจัยนำเข้าภายนอกคือนโยบายให้การท่องเที่ยวเป็นภาคส่วนสำคัญอันดับหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแขวง ปัจจัยภายในคือความเป็นเมืองมรดกโลกที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภายในตัวเมือง 23 แห่ง วิถีชีวิตของผู้คน ประเพณีท้องถิ่นและสภาพภูมิประเทศที่โดดเด่น ประชาชนท้องถิ่นใช้ปัจจัยนำเข้าในการประกอบอาชีพทำให้ได้รับประโยชน์ในรูปของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการทำธุรกิจที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม ขนส่ง ขายสินค้า ที่ระลึกและบริการท่องเที่ยว โดยมีลักษณะเป็นธุรกิจขนาดเล็กของครอบครัวทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม การท่องเที่ยวช่วยเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ มีจำนวนผู้มีงานทำและมีรายได้ในครอบครัวเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว แต่มีค่าครองชีพที่สูงขึ้นและต้องปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

          แนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยว คือ การสร้างความตระหนักในคุณค่าและความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของมรดกร่วมกันของประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว การสนับสนุนเงินทุนและลดการลงทุนของชาวต่างประเทศในธุรกิจขนาดเล็ก ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน ปรับปรุงฐานข้อมูลและการบริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทและหน้าที่ในการบริหารจัดการเมืองมรดกโลกและการท่องเที่ยว

คำสำคัญ : เศรษฐกิจการท่องเที่ยว เมืองมรดกโลก

          This research was aimed to study tourism economy situation and guidelines of tourism economy promotion in the world heritage of Luangprabang, Lao People Democratic Republic. This qualitative research used observation, interview and focus group techniques to collect data. The sample group was selected by purposive sampling from local people in the protection zone. The research data was validated by data triangulation technique and analyzed by content analysis then reported by descriptive presentation.

          The result was found that external input for tourism in Luangprabang was the policy to promote tourism as the first priority to support and develop social and economy of Luangprabang. The internal inputs were cultural world heritage accredited with 23 attractions of history and cultural, ways of life, tradition and outstanding landscape. Local people used those inputs to earn extra income from tourism business included accommodation, food and beverage, transportation, souvenir business and travel service. Nature of the business was small family business of both main and supplementary occupation. Tourism created extra channels to earn income, increase number of employed people, increase family income and gave better quality of life from infrastructure development in order to support tourism. On the other hand, people have to adjust themselves to accord way of life changing and increasing living cost.

          The guidelines on tourism economy promotion were create awareness of the value and sense of ownership on the heritage to tourists and local people, develop human resources of tourism, decrease foreigner investment in small business and give capital support, promote unique product in each community, develop and service up to date tourism information and establish participation from every part in order to create role and administration on the heritage site.

Key words : Tourism economic, World heritage site

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)