ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเครื่องมือการพัฒนาสมรรถนะส่วนบุคคล กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • ษิตาพร สุริยา

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเครื่องมือการพัฒนาสมรรถนะส่วนบุคคล (IDP) ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และเพื่อศึกษาอุปสรรคในการใช้เครื่องมือ IDP ของ สช. ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย 1) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานทรัพยากรบุคคล ของ สช. จำนวน 1 คน 2) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับพนักงานของ สช. จำนวน 4 คน และ 3) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่มกับพนักงาน สช. จำนวน 8 คน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเครื่องมือ IDP ของ สช. ได้แก่ 1) การให้ความร่วมมือและสนับสนุนจากผู้บริหารและหัวหน้าสายงานอย่างจริงจัง 2) การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับกระบวนการ IDP 3) ทีมงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้อย่างเหมาะสมในกระบวนการ IDP 4) ระยะเวลาในการทำ IDP ต้องมีความต่อเนื่อง 5) กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพมีความสอดคล้องกับงานที่รับผิดชอบ และ 6) การประเมินผลที่เที่ยงตรงและยุติธรรม และในการใช้เครื่องมือ IDP ของ สช.นั้น ได้แก่ 1) ผู้บริหารไม่เห็นถึงความสำคัญของงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง 2) ผู้บริหารและหัวหน้าสายงานขาดการมีส่วนร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาในการทำ IDP อย่างเต็มที่ 3) พนักงานขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกระบวนการ IDP 4) ทีมงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีไม่เพียงพอ 5) ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจัดกิจกรรมที่ไม่สอดคล้องกับงานประจำที่พนักงานรับผิดชอบ และ 6) ขาดความเที่ยงตรงในการประเมินผล

คำสำคัญ : การพัฒนาสมรรถนะส่วนบุคคล ความสำเร็จ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

          The research purposes are 1) to study about factors that influence succession of individual development plan (IDP) instrument of National Health  Commission  Office (NH) and 2) to study about problems or barriers in implementation of IDP instrument for NH. This research used qualitative method by 1) collected data by in-depth interview with a human resource officer of NH 2) collected data by in-depth interview with 4 officers of NH and 3) collected data by focus group discussion with 8 officers of NH. The results show that factors that affect to succession of IDP instrument of NH are 1) supporting and participation of administrators and managers 2) strengthening appropriate knowledge and understanding about IDP process by efficiency communication 3) potent human resource team with appropriate knowledge and understanding about IDP process 4) IDP process implementation must in ongoing status all the time 5) potential development activities planning should relevance with currently job and 6) accurate and conscientious assessment both in subordinates and superiors. And barriers in implementation of IDP instrument for NH are 1) administrators and managers lack of pragmatically awareness in the importance of human resource management 2) administrators and line managers lack of seriously participation in IDP process 3) organizational members lack of appropriate knowledge and understanding about IDP process 4) shortage of human resource department staff 5) human resource department set unfit or incompatible development activities for organizational members and 6) lack of accurate and conscientious assessment.

Keywords : Individual Development Plan, Succession, National Health  Commission  Office

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)