การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำแนกตาม ประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 81 โรงเรียน จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
- ผลการเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม ประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม ขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านวิธีการไกล่เกลี่ย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ปรากฏดังนี้
3.1 วิธีการเผชิญหน้ากัน ผู้บริหารควรฟังปัญหาและศึกษาสาเหตุของความขัดแย้ง จากนั้นจึงเรียกคู่กรณีมาชี้แจงเหตุผลพร้อมๆกัน แล้วจึงแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างเป็นธรรม ตรงไปตรงมา
3.2 วิธีการหลีกเลี่ยง ผู้บริหารอาจจะใช้วิธียืดเวลาในการแก้ปัญหาหรือหลบเลี่ยงการแก้ปัญหา หรือให้ผู้อื่นที่คู่กรณีให้ความเคารพและเชื่อถือมาแก้ปัญหาความขัดแย้ง
3.3 วิธีการบังคับ ผู้บริหารควรหว่านล้อมคู่กรณีให้คู่กรณีคล้อยตามที่ผู้บริหารต้องการโดยการใช้วิธีชี้แจงข้อดีข้อเสีย พยายามสร้างความเชื่อมั่น หรือความตระหนักที่ทำให้คู่กรณีต้องเชื่อในการตัดสินใจของผู้บริหาร
3.4 วิธีการไกล่เกลี่ย บริหารควรวางตัวเป็นกลาง เพื่อหาวิธียุติข้อขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย
3.5 วิธีการประนีประนอม ผู้บริหารควรรับฟังเหตุผลของทั้ง 2 ฝ่ายมาพิจารณาและไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล จากนั้นจึงหาทางออกที่ดีให้แก่คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย
คำสำคัญ : ผู้บริหารสถานศึกษา การบริหารความขัดแย้ง
The research aimed to study and compare a conflict administration of the school administrators under the jurisdiction of the Office of the Secondary Education Service Area 29 as classified by working experience and school size, and to examine the recommendations for the conflict administration of the administrators in the study. The samples in the research were the school administrators under the jurisdiction of the Office of the Secondary Education Service Area 29. A total of 148 samples were selected by a simple random sampling from 81 schools. The research instrument was a five-rating scale questionnaire with a confidence value equivalent to 0.92. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.
The research findings were as follows.
- The conflict administration by the school administrators was ranked at a high level.
- A comparison showed that there was no difference in the conflict administration by the administrators as classified by the working experience and school size. There was a difference with a statistical significance of .05 in the aspect of the reconciliation method.
- The guidelines for the conflict administration were as follows.
3.1 The administrators should give attention to the conflict, examine the problems and their causes. Both sides should be informed of the root causes. The problems should be tackled in a fair and transparent manner.
3.2 The administrators may prolong the time to deal with the problems or may avoid the problem. They may have someone respected by the conflicting sides respect solve the conflict.
3.3 The administrators should convince or persuade the conflicting sides to see the advantages and disadvantages of the conflict.
3.4 The administrators should be tactful to convince the conflicting sides to obey what they had said. In addition, the administrators should be neutral in the issue.
3.5 The administrators should give an equal attention to both sides, carefully consider the issue and come out with the best solution.
Keywords : The schooladministrators, Conflict Administration