ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางอารมณ์ / ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามตำแหน่งและประสบการณ์ทำงาน และ 3) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่
ส่งเสริมการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 160 คน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffe’และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุบลราชธานีทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการดำเนินงานทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย
- การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า
2.1 สภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำแนกตามตำแหน่ง ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.2 การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำแนกตามประสบการณ์โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- เงื่อนไขที่ส่งผลต่อดำเนินงานตามมาตรฐานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดการศึกษาให้เพียงพอ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในด้านต่าง ๆ จัดหาบุคลากรสนับสนุนในตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของผู้ดูแลเด็กให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐานถูกสุขลักษณะและมีความปลอดภัย ประเมินผลการจัดเรียนการสอนอย่างสมํ่าเสมอปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนจัดตั้งชมรมผู้ปกครองและให้ประชาชนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนจัดประชุมผู้ดูแลเด็กเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานโดยให้หน่วยงานหรือองค์กรส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ดีซึ่งกันและกัน
คำสำคัญ : การดำเนินงานตามมาตรฐาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
The research aimed to study and compare the states and problems and to examine the performance according to the standard of the early childhood development centers under Tambon Administrative Organizations in Ubon Ratchathani. The instruments were a questionnaire with a confidence value equivalent to 0.95 and an in-depth interview. Statistics used were percentage, mean, standard deviation, t-test, variance analysis, Scheffe’s paired test, and content analysis.
The research findings were as follows.
- The performance according to the standard of the early childhood development centers under Tambon administrative organizations in Ubon Ratchathani was at a high level. The problems related to the performance were at a low level.
- By comparing the states of the performance of the centers in the study, it was found that:
2.1 The performance according to the standard of the early childhood development centers as classified by positions was overall different with a statistical significance of 0.05.
2.2 A comparison of the performance according to the standard as classified by experience was overall different with a statistical significance of 0.05.
- The conditions affecting the performance according to the standard were as follows. There should be sufficient budget for the centers, personnel should be adequate for different tasks, building and settings should be standardized and safe for children, evaluation of teaching and learning should be regularly conducted and improved, a curriculum should be in line with a context of a community, a popular participation was necessary for creating a good relation with surrounding communities, state agencies should be more involved to build more efficient network.
Keywords : performance according to the standard, the early childhood development centers