การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล (วัดฟ้าหยาด) ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล (วัดฟ้าหยาด) ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เปรียบเทียบความคิดเห็นการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล (วัดฟ้าหยาด) ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และข้อเสนอแนะการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล (วัดฟ้าหยาด) ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ตามมาตรฐานการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 120 คน ได้แก่ คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 19 คน ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำนวน 92 คน และตำแหน่งอื่น ๆ ในเทศบาลตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร จำนวน 9 คน ผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 66 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.98 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การทดสอบค่า F และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล (วัดฟ้าหยาด) ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
- การเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล(วัดฟ้าหยาด) ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร อายุต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตำแหน่ง แตกต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล (วัดฟ้าหยาด) ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร 1) ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ควรดำเนินการให้มีมาตรฐานการจัดการศึกษาปฐมวัยเช่นเดียวกับ สถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ เพิ่มงบประมาณในการบริหารจัดการดำเนินงานให้เพียงพอ 2) ด้านบุคลากร ควรส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และวิชาชีพ การบรรจุและแต่งตั้งให้บุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นข้าราชการ สำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิถูกต้องตามที่กำหนด มีการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน อย่างต่อเนื่อง มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบเหมาะสมกับความสามารถ 3) ด้านอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ควรจัดงบประมาณการซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารอย่างเพียงพอ เครื่องเล่นควรได้รับการซ่อมแซมบำรุงรักษาให้ดีอยู่เสมอ มีความแข็งแรง 4) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ควรมีหลักสูตรที่สามารถปรับให้มีความยืดหยุ่น ควรให้บุคลากรเข้ารับการศึกษาอบรมให้มีความรู้ ในการบริหารงานวิชาการและการจัดกิจกรรมตามหลักสูตร มีการนิเทศงานอย่างสมํ่าเสมอ 5) ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ควรมีการวางแผนการประชาสัมพันธ์งาน เพื่อให้เห็นความสำคัญกับเด็กปฐมวัยและกิจกรรมของศูนย์ฯ ควรให้มีการพบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะอย่างสมํ่าเสมอ 6) ด้านการส่งเสริมเครือข่ายและการพัฒนาเด็กปฐมวัย ควรมีการติดต่อประสานงานจัดกิจกรรมส่งเสริมเครือข่ายและการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการสรุปรายงานผลให้หน่วยงานต้นสังกัดและแสวงหาเครือข่ายใหม่ ๆ
คำสำคัญ : การดำเนินงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล
The research aimed to study and compare the states and recommendations on the performance of the early childhood development center (Wat Fayard) in Tambon Fayard in Yasothon’s Mahachanachai. The population was 120. Ten key informants were used in the research. The research instruments were a five-rating scale questionnaire with a confidence value equivalent to .98 and an interview. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test, and content analysis.
The research findings were as follows.
- The performance of the early childhood development center in the study was at a high level.
- Considering a comparison of the opinions on the performance of the center in question, it was found that the subjects who were different in age had a different opinion with a statistical significance of 0.01. The subjects who had a different position had a different opinion with a statistical significance of 0.05. The subjects who had a different educational level had no different opinion.
- The following were the recommendations. 1) On administration: the administration should be similar to that at other centers under the local administrative organizations; sufficient budget was to be allocated. 2) On personnel: personnel should be made aware of duties and responsibilities; working potential should be continuously improved and developed; tasks and responsibilities should be assigned according to one’s competence. 3) On building, facilities and setting: these should be regularly maintained and taken care of. 4) On academic affairs and curricular activities: the curriculum should be flexible; training should be organized for the personnel; and supervision should be regular. 5) On participation and support: a plan should be properly made so that those concerned would realized the importance of children and center activities; view exchange should be regularly made. 6) On promotion and development of the early childhood development: there should be a coordination for the activities to promote the networks; reports should be given to the agencies concerned.
Keywords: The Performance, The Early Childhood Development Center