การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การกำหนดนโยบายและแผน
การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) การดำเนินการและติดตามประเมินผลการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีเจาะจงจำนวน 35 คน โดยกำหนดคุณลักษณะว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสารองค์กรโดยตรง ตั้งแต่ระดับนโยบาย แผน การดำเนินการ และการติดตามประเมินผลการสื่อสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดีในปีงบประมาณ 2565 จำนวน 4 องค์กร ได้แก่ เทศบาลเมือง เทศบาลนคร เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 9 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และนำเสนอผลการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การกำหนดนโยบายและแผนการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและการสื่อสารที่ครอบคลุมทั้งองค์กร 2) การดำเนินการสื่อสาร มี 5 หลักการสำคัญ คือ หลักการสื่อสาร การสื่อสารสองทาง การมีส่วนร่วม กิจกรรมการสื่อสาร และ กลวิธีในการสื่อสาร ส่วนการติดตามประเมินผลการสื่อสาร มี 4 วิธีสำคัญ คือ ใช้วิธีการอภิปราย-ซักถาม การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น และการประเมินก่อน-หลัง และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 10 ประเด็น ได้แก่ การสื่อสารเชิงเนื้อหา กลยุทธ์การสื่อสาร การสื่อสารเชิงรุก การสื่อสารสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การดำเนินการสื่อสารอาศัยการกำหนดความถี่ การสื่อสารที่ใช้ทั้งสื่อเก่าและสื่อสังคมออนไลน์ควบคู่กัน การจัดตั้งองค์กรการสื่อสารเป็นศูนย์การสื่อสารหรืองานประชาสัมพันธ์ การจ้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเป็นผู้รับผิดชอบ และการให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมินผลการสื่อสารองค์กร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กานต์ บุญศิริ. (2562). ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการสื่อสารผลการดำเนินงานทางการเมือง
และการปกครองท้องถิ่น: หลักและทฤษฎีการสื่อสารทางการเมืองและการ
ปกครองท้องถิ่นชั้นสูง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โกวิทย์ พวงงาม. (2562). การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
คณะกรรมการการกระจายอำนาจ. (2565). ผลการคัดเลือก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่
มีการบริหารจัดการที่ดีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. https://odloc.go.th/
good-management/อปท-ที่มีการบริหารจัดก-12/
จิตตินันท์ ตั้งประเสริฐ, และ พิทักษ์ศักดิ์ ทิศาภาคย์. (2563, มกราคม-มิถุนายน).
นโยบายการบริหารจัดการและการใช้สื่อในการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
ของกรมประชาสัมพันธ์ในบริบทประเทศไทย 4.0. วารสารศรีปทุมปริทัศน์,
(1), 137-152.
จุมพล หนิมพานิช. (2562). ตัวแบบ/กระบวนทัศน์รัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชซิ่ง.
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2562). ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการสื่อสารขององค์กรทางการเมือง
และการปกครองท้องถิ่น: หลักและทฤษฎีการสื่อสารทางการเมืองและการ
ปกครองท้องถิ่นขั้นสูง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์. (2562). การวางแผน การบริหารโครงการและการประเมิน
โครงการสื่อสารเพื่อพัฒนา: การสื่อสารกับการพัฒนา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
นันทวัฒน์ บวรนันท์. (2562). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
นันทะ บุตรน้อย, วิพัฒน์ หมั่นการ, พรชนก ทองลาด, และ สุธีรา ทิพย์วิวัฒน์พจนา.
(2567, พฤศจิกายน-ธันวาคม). การตรวจสอบสามเส้าในการวิจัยทาง
สังคมศาสตร์. วารสารมณีเชษฐาราม, 7(6), 1184-1198.
นิชาวดี ตานีเห็ง, วิทยาธร ท่อแก้ว, ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, และ โกวิทย์ พวงงาม. (2562,
มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารของอนายกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัย
ฟาฏอนี, 9(17), 105-114.
เนตต์พัณณา ยาวิราช. (2560). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนัสชนก สุรชัยกุลวัฒนา. (2562, มกราคม-มิถุนายน). รูปแบบการสื่อสารเพื่อการสร้าง
ภาพลักษณ์ของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม. วารสารอีเล็กทรอนิกส์การเรียน
รู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 4(2), 54-61.
วาสิตา บุญสาธร. (2563). การสื่อสารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์.
วิกานดา พรสกุลวานิช. (2565). สื่อและผลของการสื่อสารในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิทยาธร ท่อแก้ว. (2563). ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ทางการเมืองและสังคม: หลัก
และทฤษฎีการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นขั้นสูง. นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิสาข์ เชี่ยวสมุทร. (2564, มกราคม-เมษายน). ปัจจัยด้านการสื่อสารองค์กรที่มีผลต่อการ
เติบโตและความยั่งยืนขององค์กร: กรณีศึกษา บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน).
วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(1), 104–118.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การติดตามประเมินผลการดำเนิน
งานภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด. (2568). แสดงผลการวิเคราะห์แนวคิดในการกำหนดนโยบายการ
สื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของบริหารองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ใน การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้
บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสาร
ทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด. (2568). หลักการของนโยบายการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหาร
จัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน การสื่อสารเพื่อ
เสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น).
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด. (2568). แนวทางการจัดการในการดำเนินนโยบายการสื่อสารเพื่อ
เสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ใน การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมือง
และการปกครองท้องถิ่น). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด. (2568). สภาพปัญหาและความต้องการในการวางแผนการสื่อสารเพื่อ
เสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ใน การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมือง
และการปกครองท้องถิ่น). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด. (2568). องค์ประกอบของแผนการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหาร
จัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน การสื่อสารเพื่อ
เสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น).
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด. (2568). กลวิธีในการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่
ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการ
บริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์
ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น). นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด. (2568). วิธีการนำนโยบายและแผนการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการ
บริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปใช้ปฏิบัติ ใน
การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมือง
และการปกครองท้องถิ่น). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด. (2568). สรุปการติดตามประเมินผลการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการ
บริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน การสื่อสาร
เพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครอง
ท้องถิ่น). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิงห์ สิงห์ขจร, สุภาภรณ์ ศรีดี, วิทยาธร ท่อแก้ว, และ กานต์ บุญศิริ. (2562, กรกฎาคม-
ธันวาคม). การสื่อสารการสร้างความนิยมของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น. วารสา
รอัล-ฮิกมะฮ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(18), 197-210.
สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2563). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการท่องเที่ยว: แนวคิดและวิธี
วิจัย. กรุงเทพฯ: สิริชัยการพิมพ์.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร, และ สุภาภรณ์ ศรีดี. (2562). ทฤษฎีการสื่อสารกับปรากฏการณ์
ทางสังคม. หลักและทฤษฎีการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นชั้น
สูง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2564). นวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
อภิชัจ พุกสวัสดิ์. (2565). นวัตกรรมการจัดการและการสื่อสารภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Robbins, Stephen P. (1994). Essentials of Organizational Behavior. N.J.:
Prentice-Hall.
Torfing, J., & Ansell, C. (2020). Systemic Governance and the Design of
Public Policies: A Theoretical Framework. New York: Routledge.
บุคลานุกรม
A1 (ผู้ให้สัมภาษณ์) ผศ.สิทธิพันธ์ พูนเอียด (ผู้สัมภาษณ์). ณ เทศบาลตำบลแม่ตืน ตำบลลี้
อำเภอลี้จังหวัดลำพูน. เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567.
A2 (ผู้ให้สัมภาษณ์) ผศ.สิทธิพันธ์ พูนเอียด (ผู้สัมภาษณ์). ณ องค์การบริหารส่วนตำบลย่านยาว
ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567.
A3 (ผู้ให้สัมภาษณ์) ผศ.สิทธิพันธ์ พูนเอียด (ผู้สัมภาษณ์). ณ เทศบาลตำบลแม่ตืน ตำบลลี้
อำเภอลี้จังหวัดลำพูน. เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567.
A4 (ผู้ให้สัมภาษณ์) ผศ.สิทธิพันธ์ พูนเอียด (ผู้สัมภาษณ์). ณ เทศบาลเมืองทุ่งสง ตำบลปากแพรก
อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567.
A5 (ผู้ให้สัมภาษณ์) ผศ.สิทธิพันธ์ พูนเอียด (ผู้สัมภาษณ์). ณ เทศบาลนครยะลา จังหวัด
ยะลา. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567.
A6 (ผู้ให้สัมภาษณ์) ผศ.สิทธิพันธ์ พูนเอียด (ผู้สัมภาษณ์). ณ เทศบาลนครยะลา ตำบลสะเตง
อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567.
A7 (ผู้ให้สัมภาษณ์) ผศ.สิทธิพันธ์ พูนเอียด (ผู้สัมภาษณ์). ณ เทศบาลเมืองทุ่งสง ตำบลปากแพรก
อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566.
A8 (ผู้ให้สัมภาษณ์) ผศ.สิทธิพันธ์ พูนเอียด (ผู้สัมภาษณ์). ณ องค์การบริหารส่วนตำบลย่านยาว
ตำบลย่านยาว อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567.
A9 (ผู้ให้สัมภาษณ์) ผศ.สิทธิพันธ์ พูนเอียด (ผู้สัมภาษณ์). ณ เทศบาลนครยะลา ตำบลสะเตง
อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567.
A10 (ผู้ให้สัมภาษณ์) ผศ.สิทธิพันธ์ พูนเอียด (ผู้สัมภาษณ์). ณ เทศบาลเมืองทุ่งสง ตำบลปากแพรก
อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566.