คุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลเมืองหัวหิน 2) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับคุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองหัวหิน 3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างปัจจัยในการให้บริการกับคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลเมืองหัวหิน และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลเมืองหัวหิน โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนชุมชนที่อาศัยอยู่ในเทศบาลเมืองหัวหิน จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 8 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยแบบพหุคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลเมืองหัวหิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 3.88, S.D. = 0.65) 2) ลักษณะส่วนบุคคลที่
แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลเมืองหัวหิน
ไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ
ด้านความคาดหวังของผู้รับบริการ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลเมืองหัวหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และด้าน
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลเมืองหัวหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) แนวทาง
การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลเมืองหัวหิน พบว่า ควรมีการนำปัจจัยในการให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านความคาดหวังของผู้รับบริการ และด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ดังนี้ ควรจัดเตรียมสถานที่และที่จอดรถให้เพียงพอ ควรมีการฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับการให้บริการอย่างต่อเนื่อง พนักงานควรมีความพร้อมให้บริการประชาชนด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น รวดเร็ว ดูแลและเอาใจใส่ให้บริการอย่างตั้งอกตั้งใจ ควรจัดสรรพนักงานที่มีทักษะ ความรู้ความสามารถให้ตรงตามตำแหน่งหน้าที่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กัลยกร เทียนดี. (2559). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการ ให้บริการของ
เทศบาลตำบลช้าข้าม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ รป.ม.
(การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา.
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2560). (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-
. https:/www.dga.or.th/wp-content/uploads/2018/08/file_326
e26a233b3fc9c88e48300c10334.pdf.
ชาญธิวัฒน์ กิจสวัสดิ์. (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะ
แก่ประชาชน กรณีศึกษาเทศบาลเมืองไร่ ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1), 335-353. https://so05.tci-thaijo. org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/79717
เทศบาลเมืองหัวหิน. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). ประจวบคีรีขันธ์:
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองหัวหิน.
นาตยา โสภาค. (2560). คุณภาพการให้บริการของแผนกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาล
เขาย้อย อำเภอเขายื้อย จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์).
เพชรบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ปิยณัฐ จันทร์เกิด. (2560). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลนครนกรสวรรค์ตามการรับรู้
ของประชาชน. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์). นครสวรรค์: บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ไพฑูรย์ คุ้มคง. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาล
ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ รป.ม.
(การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร, เอก ศรีเชลียง, ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ, และ ไททัศน์ มาลา. (2561).
แนวทางการบริการสาธารณะเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานการบริการที่ดีแก่
ประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลย
อลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 147-157.
เรืองชัย เรืองอาจ. (2565). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการงานก่อสร้างและ
ขยายเขตระบบจำหน่ายภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของการไฟฟ้าส่วน
ภูมิภาค อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ รป.ม.
(รัฐประศาสนศาสตร์). เพชรบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สุธัญญา ยิ้มละมัย. (2568). คุณภาพการให้บริการประชาชนของเทศบาลเมืองหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์). เพชรบุรี:
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สุภาพร วงษ์จำปี. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของ
เทศบาลตำบลกลองพลู อำเภอเขาคิชณกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ รป.ม.
(การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิชาติ สุขสุเมฆ. (2562). คุณภาพการให้บริการของงานประปา ในพื้นที่องค์การบริหาร
ส่วนตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์
รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์). เพชรบุรี: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนานาชาติ
แสตมฟอร์ด.
Lovelock, C. H. (1996). Principles of Service Marketing and Management
(2nd ed). New Jersey: Prentice Hall.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1990). Delivering Quality Ser
vice Balancing Customer Perception and Expectation. New York:
The Free Press.
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis (3rded). Singapore:
Harper International Editor.