กลวิธีการประพันธ์ด้วยเมตาฟิกชันในนวนิยายเรื่อง “อาณาเขต” ของนิธิ นิธิวีรกุล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเมตาฟิกชันในฐานะที่เป็นกลวิธีการประพันธ์ในนวนิยายเรื่องอาณาเขตของนิธิ นิธิวีรกุล ฉบับพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2564 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กรอบแนวคิดในการวิจัยทางด้านกลวิธีการประพันธ์ด้วยเมตาฟิกชัน โดยคัดเลือกวรรณกรรมประเภทนวนิยายหนึ่งเรื่องที่มีกลวิธีการประพันธ์ที่ใช้เมตาฟิกชันและเป็นวรรณกรรมปัจจุบันระหว่างปี พ.ศ. 2556-2564 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์นวนิยายที่ใช้เมตาฟิกชันในฐานะกลวิธีการประพันธ์เพื่อการเปิดเผยลักษณะประดิษฐกรรมทางภาษาของเรื่องเล่า
ผลการวิจัยพบว่า เมตาฟิกชันเป็นกลวิธีการประพันธ์ในการสร้างความตระหนักถึงความเป็นเรื่องแต่งของวรรณกรรม มีทั้งหมด 3 กลวิธี ได้แก่ 1) การเปิดเผยกระบวนการแต่งวรรณกรรม ผ่านการคิดโต้เถียงในความนึกคิดของผู้ประพันธ์ การคัดสรรเรื่องราว
การเรียงร้อยถ้อยคำ และการปรับแก้ 2) การแสดงภาวะตระหนักรู้ของตัวละครว่าเป็นเพียงสิ่งที่ถูกประกอบสร้างขึ้นของผู้ประพันธ์ และ 3) การแสดงการวิพากษ์วิจารณ์วรรณกรรม ผ่านการโต้แย้งเจตนาและสถานะของผู้แต่งรวมทั้งวิพากษ์วิจารณ์การแต่งเรื่องตามสูตรสำเร็จทางการประพันธ์ ข้อค้นพบจากกลวิธีการประพันธ์ด้วยเมตาฟิกชันนำมาสู่การยืนยันภาวะโลกภายในเรื่องแต่งเพื่อให้ผู้อ่านตระหนักถึงโลกของเรื่องแต่งที่ถูกประพันธ์สร้างขึ้นจากการเปิดเผยให้เห็นการประกอบสร้างทางความคิดของนักเขียนซึ่งมีนัยแฝงการโต้ตอบอุดมการณ์ของวรรณกรรมสัจนิยม
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
เกตสุณี มั่นชาวนา, และ ธัญญา สังขพันธานนท์. (2563). เมตาฟิกชันในรวมเรื่องสั้นชุดเรื่อง
บางเรื่องเหมาะที่จะเป็นเรื่องจริงมากกว่า ของจำลอง ฝั่งชลจิตร. วารสาร
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 127-144.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559). แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี: นาคร.
นิธิ นิธิวีรกุล. (2564). อาณาเขต. กรุงเทพฯ: สมมติ.
นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด. กรุงเทพฯ: อ่านและวิภาษา.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2545). เมตาฟิกชันในงานเรื่องสั้นสมัยใหม่ของไทย. วารสารราช
บัณฑิต, 27(3), 842- 847.
เสาวณิต จุลวงศ์. (2553). สำนึกในความเป็นเรื่องแต่งในสามเรื่องสั้นร่วมสมัยของไทย.
วรรณวิทัศน์, 10(1), 171-193.
เสาวณิต จุลวงศ์. (2550). ความซับซ้อนของการเล่าเรื่อง: ลักษณะหลังสมัยใหม่ในบันเทิง
คดีร่วมสมัยของไทย. วิทยานิพนธ์ อ.ด. (วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ)
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Borges, J.L. (1964). Pierre Menard, Author of the Quixote. In Ficciones
(pp. 85-99). New York: Grove Press.
Calvino, I. (1979). Se una notte d’inverno un viaggiatore. Turin: Einaudi.
Nöth, W. (2003). Crisis of Representation. Semiotica, 143(1-4), 9-15. https://
doi.org/10.1 515/semi.2003.019
Rushdie, S. (1981). Midnight’s Children. London: Jonathan Cape.
Waugh, P. (2001). Metafiction: The Theory and Practice of Self-Conscious
Fiction. London and New York: Routledge.