การผสานคติความเชื่อของชาวจีนกับคติความเชื่อของท้องถิ่น: กรณีศึกษาศาลเจ้าพระเสื้อเมือง และศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

อุมา สินธุเศรษฐ

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการผสมผสานคติความเชื่อของชาวจีนกับคติความเชื่อในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการผสมผสานคติความเชื่อของชาวจีนกับคติความเชื่อในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลการวิจัยเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 คน ได้แก่ 1) กลุ่มคณะกรรมการและผู้ดูแลศาลเจ้า จำนวน 7 คน และ 2) กลุ่มผู้ศรัทธาในศาลเจ้า หรือผู้รู้จักศาลเจ้า จำนวน 10 คน ที่อาศัยในพื้นที่ที่ศาลเจ้าตั้งอยู่ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) การผสมผสานคติความเชื่อของชาวจีนกับคติความเชื่อในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ (1) การนับถือเทพารักษ์ประจำถิ่นนครศรีธรรมราชในฐานะเทพ “เปิ่นโถวกง” (本头公) (2) เทพประธานรูปลักษณ์ศิลปะท้องถิ่นในศาลเจ้าแบบจีน และ (3) การผสมผสานรูปแบบของประเพณีพิธีกรรมใน
งานประจำปี และ 2) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการผสมผสานคติความเชื่อของชาวจีนกับคติความเชื่อในท้องถิ่นนครศรีธรรมราช จากกรณีศึกษาพบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) การซ้อนทับของคติความเชื่อรูปแบบเดียวกัน (2) ลักษณะทางสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ และ (3) การบริหารงานของคณะกรรมการศาลเจ้า การผสานคติความเชื่อของชาวจีนกับคติความเชื่อของท้องถิ่นแสดงให้เห็นถึงวิถีพหุวัฒนธรรมของคน 2 กลุ่มที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข อีกทั้งยังถือเป็นภูมิปัญญาใหม่ที่เกิดจากการปรับตัวตามกระแสพลวัตของวัฒนธรรมท้องถิ่น

Article Details

How to Cite
สินธุเศรษฐ อ. . (2025). การผสานคติความเชื่อของชาวจีนกับคติความเชื่อของท้องถิ่น: กรณีศึกษาศาลเจ้าพระเสื้อเมือง และศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 17(1), 75–108. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/275370
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ตันประเสริฐ, ภูธร ภูมะธน, แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย, ประทุม ชุมเพ็งพันธุ์, ต้วน

ลี่เซิง, ชวลิต อังวิทยาธร, ทิวา ศุภจรรยา, และ สุกรี เจริญสุข. (2540). รายงาน

การวิจัยสนองพระราชประสงค์ เรื่อง นครศรีธรรมราช: กรณีศึกษา 1. การตั้ง

ถิ่นฐานที่กรุงชิงและพรุควนเคร็ง 2. จีน: ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ผู้คนและ

วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

จอมพณ สมหวัง, และ พระสุกฤษฏิ์ ปิยสีโล (ทะรินทร์). (2561, มกราคม-มิถุนายน). อิทธิพล

ของท้าวจตุโลกบาลที่มีต่อสังคมพุทธศาสนาล้านนา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 3(1),

-24.

จำรัส เพชรทับ. (2552). ประวัติศาสตร์สิชล: คนสันทรายและสายน้ำ. กรุงเทพฯ: เอดิสัน

เพรสโปรดักส์.

ชวลิต อังวิทยาธร. (2552). ประวัติศาลเจ้าพระเสื้อเมือง (ปึงเถ้ากง). นครศรีธรรมราช:

ม.ป.พ.

ณัฐวัฒน์ ภัทรสิริรดานันท์. (25 กรกฎาคม 2566). รายการระเบียงใต้ [วิดิทัศน์]. NBT

South. https://www.youtube.com/watch?v=Sc2yi82-yKQ

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2503). ตำนานพิธีตรุษ พระนิพนธ์กับทั้งพระ

วิจารณ์: พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงอักษรสารกิจ ณ เมรุ

วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2503. กรุงเทพฯ: มหาดไทย กรม

ราชทัณฑ์.

ตรี อมาตยกุล. (2517). จังหวัดนครศรีธรรมราช. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปณกิจศพ

นางจวน มัลลิกะมาส วันที่ 23 ธันวาคม 2517. กรุงเทพฯ: กิจสยามการพิมพ์.ถาวร สิกขโกศล. (2562, มกราคม). ปุนเถ้าก๋ง เทพผู้คุ้มครองชุมชนจีนโพ้นทะเล. ศิลป

วัฒนธรรม, 40(3), 152-169.

ปรีชา นุ่นสุข. (2531, สิงหาคม). รายงานการสัมมนา เรื่อง พัฒนาการของศาสนาพราหมณ์

ในนครศรีธรรมราช. การสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 4

วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชและกรมศิลปากร.

ภูมิ จิระเดชวงศ์. (25 กรกฎาคม 2566). รายการระเบียงใต้ [วิดิทัศน์]. NBT South.

https://www.youtube.com/watch?v=Sc2yi82-yKQ

วิเชียร ณ นคร. (2513). พระราชพิธีตรุษเมืองนคร. คลังข้อมูลดิจิทัลมหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครศรีธรรมราช. http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bit

stream/123456789/347/1/พระราชพิธีตรุษเมืองนคร.pdf

วิเชียร ณ นคร, สมพุทธ ธุระเจน, ชวน เพชรแก้ว, ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์, และ ปรีชา นุ่นสุข.

(2523). นครศรีธรรมราชของเรา. กรุงเทพฯ: บางกอกสาส์น.

สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์. (2556). ปุนเถ้ากง: เทพ “เจ้าที่” จีนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ:

สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2553). ศาสนา. ใน แนวคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์

ครั้งที่ 9). (น. 79-92) เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะ

สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุมา สินธุเศรษฐ (2566ก). ชื่อภาษาจีนของศาลเจ้าพระเสื้อเมืองระบุว่า “ศาลเจ้าเปิ่น

โถวกง” (本頭公廟). ณ ศาลเจ้าพระเสื้อเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ถ่ายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน

อุมา สินธุเศรษฐ (2566ข). ชื่อภาษาจีนของศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทองระบุว่า “ศาลเจ้าเปิ่น

โถวกง” (本頭公廟). ณ ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ถ่ายเมื่อวันที่ 24 กันยายน

อุมา สินธุเศรษฐ (2566ฃ). รูปเคารพพระเสื้อเมืองนครศรีธรรมราช. ณ ศาลเจ้าพระเสื้อ

เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ถ่ายเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน

อุมา สินธุเศรษฐ (2566ค). รูปเคารพพ่อท่านกลาย พ่อท่านม่วงทอง พ่อท่านเตี่ย/พ่อท่าน

ข่อยเตี่ย. ณ ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ถ่ายเมื่อวันที่ 24

กันยายน

อุมา สินธุเศรษฐ (2566ฅ). รูปเคารพพ่อท่านม่วงทอง. ณ ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง

จังหวัดนครศรีธรรมราช. ถ่ายเมื่อวันที่ 24 กันยายน

อุมา สินธุเศรษฐ (2566ฆ). รูปเคารพพ่อท่านเตี่ย (พ่อท่านข่อยเตี่ย). ณ ศาลเจ้าพ่อท่าน

ม่วงทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ถ่ายเมื่อวันที่ 24 กันยายน

อุมา สินธุเศรษฐ (2566ง). เทวดาน้อยอัญเชิญธงประจำทิศทั้ง 4 ทิศเพื่อนำเจ้าภาพเข้าสู่

พิธีบวงสรวง. ณ ศาลเจ้าพระเสื้อเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ถ่ายเมื่อวันที่ 30

กรกฎาคม

Bannong Lamugai(泰)班侬·拉姆盖. (2016). 泰国华侨华人本头公信仰研

究. 北京外国语大学博士学位论文.

Li Wangbing 李汪炳. (2017). 五營神將與五方五色令旗的研究民間信仰報

告,宗教學研究所佛光大學.

Lin Changhua 林长华. (2015). 台湾和闽南的崇龟风俗. 年03月民俗

非遗研讨会论文集.

Ruan Fucai阮福才 & Ruan Shungui阮顺贵. (2018). 越南南方“本头公崇拜”的

考察与研究. 华侨华人文献学刊, 6(1), 196-206.

Wang, Z. (2022). The dynamic process of syncretism : Datuk Gong worship in

Malaysia. HTS Teologiese Studies/Theological Studies, 78(4), http://

doi.org/10.4102 /hts.v78i4.7269

Xu Che徐彻 & Chen Taiyun陈泰云. (2022). 佛界百佛. 上海:上海三联书.

บุคลานุกรม

เคียม (นามสมมุติ) อดีตกรรมการศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง (ผู้ให้สัมภาษณ์) อุมา สินธุเศรษฐ

(ผู้สัมภาษณ์). ณ ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช.

เมื่อวันที่ 20 พฤษจิกายน 2566.

เชาว์ (นามสมมุติ) กรรมการศาลเจ้าพระเสื้อเมือง (ผู้ให้สัมภาษณ์) อุมา สินธุเศรษฐ

(ผู้สัมภาษณ์). ณ ศาลเจ้าพระเสื้อเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช.

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566.

โต (นามสมมุติ) อดีตกรรมการศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง (ผู้ให้สัมภาษณ์) อุมา สินธุเศรษฐ

(ผู้สัมภาษณ์). ณ ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช.

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2566.

เปีย (นามสมมุติ) ชาวสิชลผู้ศรัทธาในศาลเจ้าพระเสื้อเมือง (ผู้ให้สัมภาษณ์) อุมา สินธุ

เศรษฐ (ผู้สัมภาษณ์). ณ ศาลเจ้าพ่อท่านม่วงทอง อำเภอสิชล จังหวัด

นครศรีธรรมราช. เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2566.

เม้ง (นามสมมุติ) ผู้ดูแลศาลเจ้าพระเสื้อเมือง (ผู้ให้สัมภาษณ์) อุมา สินธุเศรษฐ

(ผู้สัมภาษณ์). ณ ศาลเจ้าพระเสื้อเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช.

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567.