มโนทัศน์ หลี่ ในสถาปัตยกรรมจีน “ซื่อเหอย่วน”
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งอภิปราย “ซื่อเหอย่วน” สถาปัตยกรรมจีนโบราณ เรือนล้อมลานสี่ประสาน ในฐานะสัญญะที่สะท้อนความสำคัญของ “หลี่” หรือ ระบบขนบจารีตตามแนวคิดปรัชญาขงจื่อ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการจัดระเบียบสังคมที่ลดหลั่นมีช่วงชั้นแตกต่างตามสถานภาพ ชนชั้น เพศ วัย ให้สามารถประสานเชื่อมโยงอยู่ภายในพื้นที่เดียวกันได้อย่างกลมเกลียวสมดุลผ่านการจัดผังเรือนพักอาศัยที่ชื่อว่าซื่อเหอย่วนมโนทัศน์ “หลี่” ในสถาปัตยกรรมซื่อเหอย่วน แสดงให้เห็นผ่านผังหมู่เรือนที่เรียงตัวอย่างมีแบบแผนตามลำดับขั้น สัมพันธ์กับสถานภาพ บทบาท หน้าที่ เพศ วัย ที่แตกต่างกันของผู้อยู่อาศัย การจัดพื้นที่ภายในของหมู่เรือนซื่อเหอย่วน ทั้งขนาด รูปแบบ ตำแหน่ง ทิศทาง บ่งชี้กำหนดและจัดระเบียบผู้อยู่อาศัยให้อยู่ในตำแหน่งที่สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ตามคู่ความสัมพันธ์ทางสังคมจีน ฐานานุศักดิ์ของเรือนอาคารที่มีลำดับชั้นสูงสุด คือ เรือนประธาน ใช้ประโยชน์เป็นที่บูชาบรรพบุรุษ และเป็นที่พักอาศัยสำหรับเจ้าของบ้านซึ่งเป็นเพศชาย บุตรชายจะอาศัยอยู่ในเรือนปีกข้างตะวันออกและตะวันตก ส่วนบุตรสาวอาศัยอยู่ในเรือนครอบท้ายซึ่งมีขนาดเล็กและเป็นพื้นที่ชั้นในที่สุด บริวารบ่าวไพร่พักอาศัยในเรือนกลับด้านซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นนอก มีสุขภาวะในการอยู่อาศัยต่ำที่สุด ลักษณะการจัดเรียงตัวของหมู่เรือนอาคารภายในซื่อเหอย่วนสะท้อนการจัดระเบียบสังคมที่มีการแบ่งช่วงชั้นผู้ชายมีอำนาจเหนือผู้หญิง ผู้อาวุโสมีอำนาจเหนือกว่าผู้ด้อยอาวุโส นายมีอำนาจเหนือบ่าวไพร่ สถานภาพความสำคัญของบุคคลในครอบครัวไม่เพียงสะท้อนให้เห็นในตำแหน่งแห่งที่ของผังหมู่เรือนซื่อเหอย่วน ทั้งยังแสดงให้เห็นในองค์ประกอบอื่น เช่น ลักษณะหลังคา ขนาดและความสูงของเรือนอาคารและห้อง การประดับตกแต่ง การปฏิบัติตามแบบแผนข้อกำหนดที่สอดคล้องกับสถานภาพของผู้คนที่แตกต่างนี้ ก่อให้เกิดความกลมเกลียวของสังคมและครอบครัวที่มีระบบชนชั้นภายใต้แนวคิดปิตาธิปไตยในระบบศักดินา อันเป็นรากฐานที่บ่มเพาะความมั่นคงให้กับสังคมและวัฒนธรรมจีนมาถึงปัจจุบัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กิจชัย จิตขจรวานิช. (2544). ข้อแนะนำในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อตอบสนองต่อ
สภาพภูมิอากาศในเขตร้อนชื้น. วารสารหน้าจั่ว สถาปัตยกรรม การออกแบบ
และสภาพแวดล้อม, 17, 169-176.
ต้นข้าว ปาณินท์. (2553). คนและความคิดทาง สถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: สมมติ.
มาลินี คัมภีรญาณนนท์. (2552). ขงจื่อกับผลงานศิลปะที่หลากหลายมุมมอง. วารสารดำรง
วิชาการ, 8(1), 35-50.
ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน. (2545). ทัศนคติต่อที่ว่าง อัตลักษณ์ที่ซ่อนเร้นในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
เอเชียร่วมสมัย. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 1(1), 129-153.
สยุมพร ฉันทสิทธิพร. (2561). หลักความสัมพันธ์ห้าประการและหลักบรรทัดฐานสามมุม
มองของหลักจริยธรรมกับการรักษาเสถียรภาพของสังคมจีน. วารสาร มจร.
สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 247-261.
สุวรรณา สถาอานันท์. (2562). หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา. กรุงเทพฯ: โอเพ่น โซไซตี้.
อติชาติ คำพวง, และ อรอนงค์ อินสะอาด. (2562). ปรัชญาของขงจื่อกับการจัดระเบียบทาง
สังคม: การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์หลุนอี่ว์. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม,
(2), 126-164.
อภิญญา ศิริวรรณ (ผู้ถ่ายภาพ). โรงแรมเป่ยจิงจิ่วอีสือกวงซื่อเหอย่วน. ณ หมายเลข 6
ตรอกหู่ท่งเม่าเอ่อร์ ถนนเจียวเต้าโข่ว ชุมชนโบราณหนานหลัวกู่เซี่ยง ปักกิ่ง
สาธารณรัฐประชาชนจีน. เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2562.
เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์. (2553). ระบบเครือญาติในลัทธิขงจื่อกับปัญหาคอรัปชั่น: การ
ตีความผ่านคัมภีร์หลุนอี่ว์. วารสารสังคมศาสตร์, 41(1), 158-196.
Cai Fengnian 蔡丰年.(2008).北京旧城胡同与四合院类型学研究. 北方工
业大学硕士学位论文.
Duan Bingren 段炳仁. (2016). 北京四合院志(上).北京:北京出版社.
Gao Wei 高巍. (2017). 四合院. 北京:学苑出版社.
Gu Jun 顾军 & Wang Licheng. 王立成.(2002).试论北京四合院的建筑特色.
北京联合大学学报,-(01), 57-62.
Jia Jun 贾珺. (2018). 北京四合院. 北京:清华大学出版社.
Lai Kehong 来可泓. (2000).国语直解. 郑语.上海: 复旦大学出版社.
Liu Dunzhen 刘敦桢. (2003).中国古代建筑史. 北京:中国建筑工业出版社.
-57.
Ma Bingjian 马炳坚. (2018). 北京四合院建筑. 天津:天津大学出版社.
Meng Fanren 孟凡人. (2006). 元大都的城建规划与元大都和明北京城的中
轴线问题. 故宫学刊,-(01), 96-121.
Ni Yuehong 尼跃红. (2009). 北京胡同四合院类型学研究. 北京:中国建筑工
业出版社.
Qin Hongling 秦红岭. (2001). 中国传统建筑文化的伦理内涵. 华夏文化,
-(03), 13-15.
Qin Hongling 秦红岭. (2003). 简论儒家伦理对传统建筑文化的影响. 华夏文
化, -(04), 26-28.
Sun Weiwei 孙巍巍.(2019). 传统家居文化刍议——以明清北京四合院为例.
边疆经济与文化, -(10), 108-109.
Shen Yantai 沈延太 & Wang Changqing 王长青. (2008). 京城胡同留真. 北
京:外文出版社.
Tonggalaga 桐嘎拉嘎. (2009). 北京四合院民居生态性研究初探硕士学位论
文,北京林业大学).
Wang Qiming 王其明 & Zhang Zhenguang 张振光. (2013). 北京四合院. 北京:
中国建筑工业出版社.
Wei Jianwu 魏建武. (2021). 孔子的仁礼思想. 北京:首都经济贸易大学出版
社.
Yan Binggang 颜炳罡. (2001). 论孔子的仁礼合一说. 山东大学学报(哲学社会
科学版),(02), 52-59.
Yan Xinyi 阎欣怡 & Wang Yuhang 王宇航. (2018). 传承与创新——北京四合院
空间改造设计研究. 艺术与设计(理论),2 (03), 68-70.
Yang Bojun 杨伯峻.(2009). 论语译注. 北京: 中华书局.
Zhang Jingjing 张晶晶. (2013). 四合院的改造与传承(硕士学位论文,北方
工业大学).
Zhang Jing 张靖.(2020). 什么可以代表北京城?. 星球研究所. https://
mp.weixin.qq.com/s/TW3TJyLXJiOLBBwO0yB1Ng
Zhao Guangchao 赵广超. (2016).紫禁城100. 北京:故宫出版社.
Zhao Guangchao 赵广超. (2018) .不只中国木建筑. 北京:中华书局.
Zhao Zhenxiang 赵祯祥, Ding Mijin 丁密金 & Zhou Yue 周越. (2009). 由
四合院规制看儒家礼制人伦思想. 山西建筑, 35 (07), 17-18.