รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ของเทศบาลเมืองเพชรบุรี อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองเพชรบุรี 2) ศึกษาปัจจัยการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองเพชรบุรี และ 3) ทดลองเสนอรูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ที่เหมาะสมของเทศบาลเมืองเพชรบุรี ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลเมืองเพชรบุรี จำนวน 181 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารของหน่วยงาน จำนวน 8 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยแบบพหูคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองเพชรบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (𝑥̅ = 4.11, S.D.= 0.50) 2) ปัจจัยการบริหารงานคุณภาพที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองเพชรบุรี ได้แก่ ด้านการวางแผน และด้านการตรวจสอบ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) การทดลอง
รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) ของเทศบาลเมืองเพชรบุรี อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ได้รูปแบบที่เหมาะสม คือ “TEDLPC Model” ประกอบด้วย ด้านการฝึกอบรม (T: Training) ด้านการศึกษา (E: Education), ด้านการพัฒนา (D: Development) ด้านการเรียนรู้ (L: Leaning) ด้านการวางแผน
(P: Plan) และด้านการตรวจสอบ (C: Check) ทำให้ค้นพบว่ารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองเพชรบุรีที่เหมาะสม ต้องมีการวางแผนในเรื่องงบประมาณ วิธีการ รวมถึงมีการสำรวจความต้องการของบุคลากรในการพัฒนาตนเอง และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการวัดผล ประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แล้วนำมาหาวิธีการแก้ไขปัญหาต่อไป รูปแบบที่ได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
ชลณัฏฐ์ จันทร์เขียว. (2566). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักการบริหารงาน
คุณภาพ (PDCA) ของเทศบาลเมืองเพชรบุรี อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัด
เพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐศาสนประศาสนศาสตร์). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพชรบุรี.
เทศบาลเมืองเพชรบุรี. (2565). ข้อมูลพื้นฐาน. http://www.phetchaburicity.go.th/
home/index.php
เทอดศักดิ์ บัวสอน, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, และ ภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). รูปแบบการ
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด.
วิทยานิพนธ์ รป.ม. (รัฐประศาสนศาสตร). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม.
โทซาวะ. (2544). คิดใหม่ ทำใหม่ ด้วยไคเซ็น (Quality Management).
กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วีระวัฒน์ พิณโท. (2558). การพัฒนาการจัดการเชิงกลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรบุคคลที่
ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 331-339.
สุนันทา เลาหนันทน์. (2559, มกราคม-มิถุนายน). รูปแบบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เชิงกลยุทธ์ในองค์กร. วารสารราชนครินทร์, 13(1), 287-291.
แสงเดือน เรือนคำ. (2564). ความต้องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของพนักงานองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. Journal of
Administrative and Management Innovation, 9(3), 27-42.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. (2562). งานบุคคล. http://
phetchaburilocal.go.th/public/
อภิรักษ์ เพิ่มชัย. (2563). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัด
เพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ยุทธศาสตร์การพัฒนา). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเพชรบุรี.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research
Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-