การศึกษาผลสัมฤทธิ์การฝึกแซกโซโฟนแจ๊สรูปแบบการอิมโพรไวส์ของนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การอิมโพรไวส์ของนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) ศึกษาความพึงพอใจ
ผลสัมฤทธิ์การฝึกแซกโซโฟนรูปแบบการอิมโพรไวส์ของนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้รูปแบบบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 คน เครื่องมือใน
การวิจัยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การฝึกแซกโซโฟนรูปแบบการอิมโพรไวส์ และแบบสอบถามความพึงพอใจผลสัมฤทธิ์การฝึกแซกโซโฟน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ
T-test dependent ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยด้วยดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.75 และนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย 1) ผลสัมฤทธิ์ระดับความรู้ในการปฏิบัติแซกโซโฟนรูปแบบการอิมโพรไวส์ของนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี 9 ทักษะ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 2.71, S.D.= 0.84) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนอยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 3.59, S.D.= 0.90) ทดสอบผลสัมฤทธิ์การฝึกแซกโซโฟนรูปแบบการอิมโพรไวส์ของนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ 0.05 ซึ่งมากกว่าผลการทดสอบก่อนเรียน และ 2) ความพึงพอใจผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติแซกโซโฟนรูปแบบการอิมโพรไวส์ของนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานีพบว่า ก่อนเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 3.03, S.D.= 0.64) และระดับความพึงพอใจหลังเรียนอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.22, S.D.= 0.59) การอิมโพรไวส์ที่ให้ผลสัมฤทธิ์อย่างมีมาตรฐานได้นั้นจำเป็นจะต้องอาศัยความเข้าใจและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความชำนาญตลอดจนสามารถนำไปพัฒนาการอิมโพรไวส์สำหรับบทเพลงที่มีสังคีตลักษณ์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งรูปแบบการดำเนินคอร์ดของบทเพลงแจ๊สได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กมลธรรม เกื้อบุตร. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). พลวัตของดนตรีแจ๊สในวัฒนธรรมไทย.
วารสารดนตรีและการแสดง กองบรรณาธิการวารสารดนตรีและการแสดง คณะ
ดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 95-110.
จินดามาตร์ มีอาษา, และ ณรุทธิ์ สุทธจิตต์. (2560, ตุลาคม-ธันวาคม). แนวทางการจัดการ
เรียนการสอนวิชาทักษะปฏิบัติแซ็กโซโฟนคลาสสิก ในหลักสูตรดนตรีระดับ
ปริญญาตรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา กองบรรณาธิการศูนย์
นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 12(4), 157-168.
ธีรัช เลาห์วีระพานิช. (2562). ทฤษฎีดนตรีแจ๊สและการอิมโพรไวส์. ปทุมธานี:
มหาวิทยาลัยรังสิต.
พิจักษณ์ ถาวรานุรักษ์, และ ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2564, พฤษภาคม-สิงหาคม). การ
ศึกษาผลสัมฤทธิ์การเป่าแซ็กโซโฟนเบื้องต้นด้วยชุดแบบฝึกหัดแซ็กโซโฟนเบื้อง
ต้น ของนักเรียนวงโยธวาทิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย. วารสารวิทยาลัย
สงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(2), 22-30.
วรินธร สีเสียดงาม. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม). แนวทางการจัดการเรียนการสอนการ
ปฏิบัติแซ็กโซโฟนในระดับอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปกรรม
บูรพา สำนักงานคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 22(2), 71-89.
Levine, M. (1995). The Jazz Theory Book. Petaluma: Sher Music.