การสวมรองเท้าจากมุมมองคติชนวิทยา

Main Article Content

เจือง ถิ หั่ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาคำตอบว่าเพราะเหตุใดโสคราตีส
ที่เป็นนักปราชญ์ชาวกรีกในสมัยโบราณจึงไม่สวมรองเท้าตลอดชีวิต และ 2) ค้นหา
คำตอบว่าเพราะเหตุใดพระมหากษัตริย์ในหลายประเทศจึงเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเปล่าไม่ได้ ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุที่โสคราตีสไม่สวมรองเท้าตลอดชีวิตเกิดจากความเชื่อแต่โบราณว่า เทพเจ้ามีรัศมีเจิดจ้าและเป็นของร้อน มนุษย์จะถูกเผาไหม้เป็นจุณถ้าหากมองเห็นพระองค์ เทพเจ้าจึงต้องปลอมตัวเป็นอื่นทุกครั้งที่เสด็จลงสู่มนุษยโลก
การทรงฉลองพระบาทที่ช่วยป้องกันไม่ให้พระบาทสัมผัสกับพื้นดินโดยตรงจึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของทวยเทพ และเป็นเครื่องแบ่งแยกระหว่างเบื้องสูงกับสามัญชนด้วย ส่วนสาเหตุที่พระมหากษัตริย์ในหลายประเทศเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเปล่าไม่ได้ เกิดจากความเชื่อในลัทธิไศเลนทร์ว่า พระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเป็นเทพเจ้าไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา อันนำไปสู่ขนบธรรมเนียมประเพณีของทางราชสำนักไทย พม่า เขมร และเวียดนาม ได้แก่ การรักษาความบริสุทธิ์ในพระราชวังและราชธานี การห้ามไม่ให้สามัญชนมองหรือแตะต้องพระองค์ การป้องกันไม่ให้สรีระทุกส่วนของพระมหากษัตริย์สัมผัสหรือตกลงพื้นดิน รวมถึงระเบียบแบบแผนที่พระมหากษัตริย์ต้องทรงฉลองพระบาทเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้

Article Details

How to Cite
ถิ หั่ง เ. . (2023). การสวมรองเท้าจากมุมมองคติชนวิทยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 15(2), 1–30. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/265489
บท
บทความวิจัย

References

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2553). เอกสารการเรียนการสอนรายวิชา 776603 หัวข้อพิเศษทาง

คติชนวิทยา (Selected Topics in Folklore) ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา

-2554. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กิ่งแก้ว อัตถากร. (2558). บางเรื่องจากข้อคิดงานเขียนประกอบการสอนวิชาคติชนวิทยา.

พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2538). คึกฤทธิ์พูด. กรุงเทพฯ: เจ.ฟิล์ม.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2544). สามก๊กฉบับนายทุน ตอน เบ้งเฮ็กผู้ถูกกลืนทั้งเป็น (พิมพ์

ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า 2000.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2548). ฝรั่งศักดินา. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2553). สามนคร. นนทบุรี: ดอกหญ้า 2000.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2556ก). ถกเขมร. นนทบุรี: ดอกหญ้า 2000.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2556ข). สามก๊กฉบับนายทุน ตอน โจโฉ นายกฯ ตลอดกาล

(พิมพ์ครั้งที่ 13). นนทบุรี: ดอกหญ้า 2000.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2557). เรื่องของลัทธิและนิกาย. นนทบุรี: ดอกหญ้า 2000.

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2561). พม่าเสียเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 19). นนทบุรี: ดอกหญ้า 2000.

เจือง ถิ หั่ง. (2561). สุราปกรณัม. เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์.

เจือง ถิ หั่ง. (2562). กำเนิดพรหมจารี: กรณีศึกษาเปรียบเทียบนิทานเวียดนาม

เรื่อง “เสาะเสื่อ” กับนิทานไทยเรื่อง “ท้าวเต่า”. เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์.

โจเซฟ แคมพ์เบลล์, และ บิลล์ มอยเยอร์ส. (2551). พลานุภาพแห่งเทพปกรณัม [The

Power of Myth] (พิมพ์ครั้งที่ 2) (บารนี บุญทรง, ผู้แปล). นนทบุรี: อมรินทร์

พริ๊นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จ. (2521). รวมเรื่องพระร่วง พระราชนิพนธ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฎราช

วิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เพลโต. (2550). วันสุดท้ายของโสคราตีส [The last days of Socrates] (กิ่งแก้ว อัตถากร,

ผู้แปล). นนทบุรี: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เพลโต. (2555). ซิมโพเซียม [Symposium] (กิ่งแก้ว อัตถากร, ผู้แปล). นนทบุรี: อมรินทร์

พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2547). ภารตนิยาย. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

เสฐียรโกเศศ. (2512). พันหนึ่งทิวา. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป. (2551). หิโตปเทศ. กรุงเทพฯ: ศยาม.