กลวิธีทางวรรณศิลป์ในกวีนิพนธ์การเมือง: กรณีศึกษาจากคอลัมน์กวีกระวาดในมติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์ ช่วง พ.ศ. 2559-2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์ในกวีนิพนธ์การเมืองจากคอลัมน์กวีกระวาดในมติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์ช่วง พ.ศ. 2559–2564 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลวรรณกรรมประเภทกวีนิพนธ์ที่ปรากฏในคอลัมน์กวีกระวาดในมติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์ โดยเลือกศึกษาเฉพาะกวีนิพนธ์ที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองหรือสะท้อนเหตุการณ์ทางการเมืองช่วง พ.ศ. 2559–2564 จำนวน 36 เรื่อง ใช้กรอบแนวคิดทางกลวิธีทางวรรณศิลป์มาเป็นกรอบการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่กวีเลือกนำมาใช้สร้างสรรค์งานกวีนิพนธ์การเมืองมี 6 กลวิธี ดังนี้ 1) การสรรคำ ได้แก่ การสรรคำกริยาแสดงประสบการณ์ และการสรรคำกริยาแสดงอาการ 2) การอ้างถึง ได้แก่ การอ้างถึงสำนวน การอ้างถึงวรรณกรรม และ อ้างถึงบุคคลและวาทะของบุคคล 3) การใช้อุปมา 4) การใช้อุปลักษณ์ 5) การใช้นามนัย และ 6) การใช้สัญลักษณ์ กลวิธีทางวรรณศิลป์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือของกวีในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก สะเทือนใจและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองเชิงตัดสินคุณค่าและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในเชิงลบที่ใช้อำนาจจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทำให้เห็นว่ากลวิธีทางวรรณศิลป์เป็นรากฐานสำคัญในการสรรค์สร้างตัวบทกวีนิพนธ์ใหม่ตามบริบททางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
ธงชัย แซ่เจี่ย. (2555). แนวคิดประชาธิปไตยในกวีนิพนธ์การเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า พ.ศ. 2545-2553. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาไทย) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นววรรณ พันธุเมธา. (2525). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
มติชนสุดสัปดาห์. (1 ธันวาคม 2564). กวีกระวาด [คอลัมน์]. เว็บไซต์ https://www.matichonweekly.com/magazine-column/poem
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ - ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). สุนทรียภาพแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: ณ เพชร.
วริศรา อนันตโท. (2547). กวีนิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ภาษาไทย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทย์ ศิวะศริยานนท์. (2544). วรรณคดีและวรรณคดีวิจารณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธรรมชาติ.
วิสา คัญทัพ. (2551). กวีศรีประชา. กรุงเทพฯ: เพลงกวี.
สายวรุณ สุนทโรทก. (2560). วรรณคดีวิจักษณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2549). เจิมจันทน์กังสดาล: ภาษาวรรณศิลป์ในวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.