วาทกรรมทางการเมืองและปฏิบัติการทางวาทกรรมของพรรคการเมืองผ่านสนามการเลือกตั้งร่วมสมัย ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ธนิสร ตาทิสุนทร
อัศว์ศิริ ลาปีอี
ไชยวัฒน์ เผือกคง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการก่อรูปของชุดอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังประชารัฐในบริบทร่วมสมัยพื้นที่เขต 1 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เสนอรูปแบบของวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมผ่านพรรคการเมืองในบริบทร่วมสมัยพื้นที่เขต 1 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบเจาะจง จำนวน 8 คน นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) การก่อรูปของชุดอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังประชารัฐพบว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีอุดมการณ์แบบเสรีนิยมคลาสสิคโน้มเอียงไปทางอนุรักษ์นิยม ส่วนพรรคพลังประชารัฐมีอุดมการณ์เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมกับการคงไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งรัฐ และ 2) เสนอรูปแบบของวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมผ่านพรรคการเมืองพบว่า การปรากฏตัวของพรรคการเมืองภายใต้เงื่อนไขของการสนับสนุนปรากฏการณ์ผ่านตัวแสดงทางการเมืองผ่าน 3 รูปแบบ 3 ได้แก่ (1) การขยายกลไกเชิงอุดมการณ์ของรัฐ (2) การต่อต้านการขยายกลไกเชิงอุดมการณ์ของรัฐ และ (3) การขยายกลไกเชิงอุดมการณ์ของรัฐโดยเครือข่ายทางเลือก จากเงื่อนไข
ดังกล่าวสะท้อนการต่อสู้ทางการเมืองที่ผลิตซ้ำวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมของชุดอุดมการณ์แบบดั้งเดิมที่พรรคมีสำคัญกว่าตัวบุคคล หากพิจารณาถึงแนวโน้มในอนาคตการสร้างพื้นที่ของตัวแสดงทางการเมืองผ่านพรรคขั้วตรงข้าม คาดว่านำไปสู่การสถาปนาความชอบธรรมของพรรคการเมืองใหม่ในพื้นที่ นับเป็นปรากฏการณ์การช่วงชิงความนิยมรูปแบบใหม่ที่ขยายอุดมการณ์ร่วมสมัยได้ชัดเจน

Article Details

How to Cite
ตาทิสุนทร ธ. ., ลาปีอี อ., & เผือกคง ไ. . (2023). วาทกรรมทางการเมืองและปฏิบัติการทางวาทกรรมของพรรคการเมืองผ่านสนามการเลือกตั้งร่วมสมัย ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 15(1), 105–135. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/263176
บท
บทความวิจัย

References

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2561). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ (พิมพ์ครั้งที่ 5).

กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ์. (2555). แนวทางการปฏิรูประบบการเลือกตั้งและพรรคการเมือง.

กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

ประดิษฐ์ ยมานันท์. (2559). การปฏิรูปพรรคการเมือง = Reforms in Political Parties.

กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันพัฒนาความเป็นพลเมือง.

พรรคประชาธิปัตย์. (2545). พรรคประชาธิปัตย์. https://www.democrat.or.th/

about/document/

พิทยา มาศมินทร์ไชยนรา. (2548, เมษายน-กันยายน). วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย:

ข้อสังเกตและพิจารณา. วารสารปาริชาต, 18(1), 91-94.

ภาวิณี คงฤทธิ์. (2563). ‘คนดี’ ในสายตาพี่บ่าว ถอดรหัสวัฒนธรรมการเมืองภาคใต้.

https://decode.plus/20200904/

วัชรพล พุทธรักษา. (2549). รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสร้างสภาวะการครอง

อำนาจนำ. วิทยานิพนธ์ ร.ม. (การปกครอง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา ไชยสาร. (2544). ระบบการเลือกตั้งกับการเมืองไทยยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชญ์จำเริญ มณีแสง. (2559). วาทกรรมทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์. วิทยานิพนธ์

ปร.ด. (การจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สติธร ธนานิธิโชติ, และ ไชยันต์ ไชยพร. (2563). ความเป็นสถาบันของพรรคการเมืองกับ

การพัฒนาประชาธิปไตย: ศึกษากรณีพรรคการเมืองไทยภายใต้พระราชบัญญัติ

ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันพระ

ปกเกล้า.

สัณหพจน์ สุขศรีเมือง. (2563, ตุลาคม-ธันวาคม). ยุทธศาสตร์พลังประชารัฐกับชัยชนะใน

ภาคใต้. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(4), 131-145.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2562). รายชื่อผู้สมัครรับเลือก

ตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนสูงสุด รายจังหวัด. https://www.ect.

go.th/ewt/ewt/ect_th/download/article/article_20190328165029 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2557). รายงานเรื่องคณะรักษาความ

สงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาลชั่วคราว (พฤษภาคม – ตุลาคม 2557).

https://www.nhrc.or.th/News/Information-News

หลุยส์ อัลธูแชร์. (2529). อุดมการณ์และกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ. กรุงเทพฯ:

สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชา พละกุล. (2564). โลกทัศน์ของพลเมืองกับอุดมการณ์ทางการเมืองการปกครอง

กระแสหลักในศตวรรษที่ 21. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ

ครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่”

ณ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 9(7), 660-

http://lpn.mcu.ac.th/mculpn/wp-content/uploads/2021/03/A-

A5-659-673

อัศว์ศิริ ลาปีอี. (2563). การสำรวจอัตลักษณ์ทางการเมืองเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองใน

ระบอบประชาธิปไตยของประชาชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี:

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Fairclough N. (2010). Critical Disourse Andlysis: The Criticol Study of

language. London: Routledge.

Kurian, G. (2011). The encyclopedia of political science.

Washington: CQ Press.

Morley M. (1998). How to Manage Your Global Reputation : Aguide to the

Dynamics of International Public Relations. Hampshire and London:

Macmillan Press Ltd.

บุคคลานุกรม

จิรวรรณ สารสิทธิ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์) ธนิสร ตาทิสุนทร (ผู้สัมภาษณ์). ณ เทศบาลท่าฉาง

อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2565.

ชูศักดิ์ เอกเพชร (ผู้ให้สัมภาษณ์) ธนิสร ตาทิสุนทร (ผู้สัมภาษณ์). ณ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม

ภานุ ศรีบุศยกาญจน์ (ผู้ให้สัมภาษณ์) ธนิสร ตาทิสุนทร (ผู้สัมภาษณ์). ณ ที่ทำการ

พรรคพรรคประชาธิปัตย์จังหวัดสุราษฏร์ธานี เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัด

สุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565.