ตำนานศาลเจ้าพ่อองครักษ์: พลวัต การดำรงอยู่ และอิทธิพลต่อชุมชน

Main Article Content

วิเชษฐชาย กมลสัจจะ
ชญานนท์ ชมดี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิหลังตำนานศาลเจ้าพ่อองครักษ์ จังหวัดนครนายก 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตำนานศาลเจ้าพ่อองครักษ์ด้านเวลาและพื้นที่ 3) ศึกษาการดำรงอยู่ของตำนานและศาลเจ้าพ่อองครักษ์ในชุมชน และ
4) ศึกษาหน้าที่ของเรื่องเล่าตำนานศาลเจ้าพ่อองครักษ์ที่มีอิทธิพลต่อชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและสัมภาษณ์เชิงลึกของชาวบ้านที่ใช้พื้นที่ และนำเสนอด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์พบว่า เจ้าพ่อองครักษ์ คือ ราชองครักษ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เสียชีวิตขณะตามเสด็จไปมณฑลปราจีน ตำนานศาลเจ้าพ่อองครักษ์ปรากฏเรื่องเล่า 2 สำนวน ได้แก่ สำนวนที่ 1 กล่าวถึงการเสียชีวิตด้วยไข้ป่า และสำนวนที่ 2 กล่าวถึงการเสียชีวิตเพราะปกป้องพลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ 5 จากช้างป่า จึงเป็นที่มาของตำนานการสร้างศาลเจ้าพ่อองครักษ์ และมีการปรากฏจระเข้คู่ศาลเพื่อเสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้า ทั้งนี้พบว่าปัจจัยด้าน “เวลา” และ “ผู้ใช้พื้นที่” มีผลต่อการดำรงอยู่และพลวัตของตำนาน โดยศาลเดิมถูก “สวมทับ” ด้วยวัฒนธรรมจีน เช่น ศาลเปลี่ยนเป็นรูปแบบศาลจีน รวมถึงเปลี่ยนรูปเคารพเจ้าพ่อองครักษ์ เป็น “ปุนเถ่ากง” เนื่องด้วยผู้คนในชุมชนที่มีเชื้อสายจีนได้เข้ามามีบทบาทในการบูรณะศาลเจ้า และมีการดำรงอยู่ในรูป “เทศกาลประจำปี” “สถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัด” และ “องค์กรการกุศล” นอกจากนี้ตำนานศาลเจ้าพ่อองครักษ์ยังส่งอิทธิพลต่อชุมชน ทั้งในด้านการเสริมสร้างคุณธรรมและอุดมการณ์ การให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ชุมชนและเป็นกุศโลบาย และการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน โดยเฉพาะการสร้างอัตลักษณ์ “องครักษ์” ผ่านชื่อตำบล ชื่ออำเภอ เพลงประจำสถาบัน สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน ฯลฯ เพื่อให้ชุมชนเกิดความสามัคคีเข้มแข็งเป็นหนึ่งเดียวและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ทั้งนี้ทำให้ทราบถึงภูมิหลังของตำนานศาลเจ้าพ่อองครักษ์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลง การดำรงอยู่ และอิทธิพลที่มีต่อชุมชน

Article Details

How to Cite
กมลสัจจะ ว. ., & ชมดี ช. (2022). ตำนานศาลเจ้าพ่อองครักษ์: พลวัต การดำรงอยู่ และอิทธิพลต่อชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 14(2), 200–229. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/260938
บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2544). รูปเคารพเดิมและแบบใหม่ของเจ้าพ่อองครักษ์. ใน วัฒนธรรมเพื่อ

การพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครนายก.

กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2544). วัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และ

ภูมิปัญญา จังหวัดนครนายก. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

กฤษฎา แก้วเกลี้ยง. (2555, กุมภาพันธ์-พฤษภาคม). ความเป็นท้องถิ่นกับวัฒนธรรมจีนที่

เข้ามาในสังคมไทยกรณีศึกษารูปแบบประเพณีและคติความเชื่อที่ผสมผสาน

ระหว่างไทยกับจีน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 30(2), 29-57.

ก้อนอิฐ นคร. (18 กุมภาพันธ์ 2555). เพลงมาร์ชประจำโรงเรียนองครักษ์. https://

marchmattayomschoolthailand.blogspot.com/2012/02/

blogpost_2622html?fbclid=IwAR1MZMPvsh3t8VvdYywvCRRBOxp2S

ayGbdZjgQ7kUdmX3a1vYFm2LqWcs_U

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2518). คติชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2495). พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องเสด็จประพาสมณฑลปราจีน เมื่อ ร.ศ. 127

(พ.ศ. 2451). พระนคร: อุดม.

ชญานนท์ ชมดี (ผู้ถ่ายภาพ). ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ในปัจจุบันที่มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรม

จีน. ณ ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ ตำบลทรายมูล อำเภองครักษ์ จังหวัดนครนายก.

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565.

ชญานนท์ ชมดี (ผู้ถ่ายภาพ). สถานที่ตั้งศาลเจ้าพ่อองค์รักษ์ี่เคยเกิดังวนน้ำ. ณ ศาลเจ้าพ่อ

องครักษ์ ตำบลทรายมูล อำเภองครักษ์ จังหวัดนครนายก. เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565.

โรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์. (2560). เพลงมาร์ชโรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์. https://

www.youtube.com/watch?v=IfeFqZswlmQ&t=54s

โรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์. (9 มกราคม 2562). อัตลักษณ์โรงเรียนสาธิต มศว องครักษ์

[โพสต์]. เฟซบุ๊ก. ttps://www.facebook.com/satitods.sa/photos/

โรงเรียนองครักษ์. (19 ธันวาคม 2559). สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนองครักษ์ [รูปภาพ].

เฟซบุ๊ก. https://www.facebook.com/ongkharakschool/photos

/a.523315294517781/643060059209970/

วิเชษฐชาย กมลสัจจะ (ผู้ถ่ายภาพ). กะโหลักช้างภูายในี้ศึาลัเจ้้าพื่่อองครักษ์. เมื่อวัน

ที่ 5 เมษายน 2565.

วิเชษฐชาย กมลสัจจะ (ผู้ถ่ายภาพ). การแปรเปลี่ยนรูปเคารพไปตามคติความเชื่อจีน.

ณ ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ ตำบลทรายมูล อำเภองครักษ์ จังหวัดนครนายก. เมื่อวัน

ที่ 5 เมษายน 2565.

ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ จังหวัดนครนายก. (6 สิงหาคม 2562). รูปเคารพเจ้าพ่อองครักษ์ใน

ปัจจุบัน [รูปภาพ]. เฟซบุ๊ก. https://www.facebook.com/102899371066135/

photos/a.102960581060014/102960597726679/

ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ จังหวัดนครนายก. (11 ตุลาคม 2562). ขบวนอัญเชิญเจ้าพ่อองครักษ์

[รูปภาพ]. เฟซบุ๊ก. https://www.facebook.com/ศาลเจ้าพ่อองครักษ์-จังหวัด

นครนายก-102899371066135/photos/139923400697065

ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ จังหวัดนครนายก. (10 ตุลาคม 2562). ผู้คนในบริเวณชุมชนมาสักระ

บูชาเจ้าพ่อองครักษ์ในงานเทศกาลประจำปี [รูปภาพ]. เฟซบุ๊ก. https://www.

facebook.com/ศาลเจ้าพ่อองครักษ์-จังหวัดนครนายก-102899371066135/

photos/139708367385235

ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ จังหวัดนครนายก. (5 พฤศจิกายน 2563). การแสดงงิ้วงานเทศกาล

ประจำปีศาลเจ้าพ่อองครักษ์ [รูปภาพ]. เฟซบุ๊ก. https://www.facebook.

com/ศาลเจ้าพ่อองครักษ์-จังหวัดนครนายก-102899371066135/pho

tos/139923400697065

สายป่าน ปุริวรรณชนะ. (2548). ลักษณะเด่นของตำนานประจำถิ่นริมแม่น้ำ และชายฝั่ง

ทะเลภาคกลางของไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก. (19 กรกฎาคม 2556). ประวัติเจ้าพ่อองครักษ์.

https://www.mculture.go.th/nakhonnayok/ewt_news.php?nid=32

&filename=index&fbclid=IwAR0uhuFovu85IxgCyA9hVJV6vrcOSLJnS

xTLkexa4GAnIHcnZw72HK1WkKw

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2554). ตำนานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

องค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์. (15 มีนาคม 2562). ประวัติความเป็นมาของตำบลองครักษ์.

https://sao-ongkarak.go.th/public/list/data/index/menu/1142

บุคลานุกรม

ชาวบ้านชุมชนองครักษ์ 1. (ผู้ให้สัมภาษณ์) วิเชษฐชาย กมลสัจจะ และชญานนท์ ชมดี

(ผู้สัมภาษณ์). ณ หมู่ 3 บ้านคลองศาลเจ้า ตำบลทรายมูล อำเภอองครักษ์

จังหวัดนครนายก. เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565.

ชาวบ้านชุมชนองครักษ์ 2. (ผู้ให้สัมภาษณ์) วิเชษฐชาย กมลสัจจะ และชญานนท์ ชมดี

(ผู้สัมภาษณ์). ณ หมู่ 3 บ้านคลองศาลเจ้า ตำบลทรายมูล อำเภอองครักษ์

จังหวัดนครนายก. เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565.

ชาวบ้านชุมชนองครักษ์ 3. (ผู้ให้สัมภาษณ์) วิเชษฐชาย กมลสัจจะ และชญานนท์ ชมดี

(ผู้สัมภาษณ์). ณ หมู่ 3 บ้านคลองศาลเจ้า ตำบลทรายมูล อำเภอองครักษ์

จังหวัดนครนายก. เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565.