การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวรรณคดี เรื่อง ขุนช้าง ขุนแผนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน
ในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ศึกษาสาเหตุของการเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5,030 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 371 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนคิดเป็นร้อยละ 24.51
2) สาเหตุที่ทำให้เกิดมโนทัศน์คลาดเคลื่อนเรียงจากมากไปน้อยตามลำดับ ดังนี้ 1) การสรุปความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง ร้อยละ 36.69 2) การรับสารจากสื่อ ร้อยละ 27.68 3) การสอนของครู ร้อยละ 24.59 และ 4) เกิดจากการจินตนาการ ร้อยละ 11.04 ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน มี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน และ 3) สื่อที่นำเนื้อหาวรรณคดีมานำเสนอเพื่อความบันเทิง สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนร้โดยใช้กระบวนการคิด
สร้างสรรค์ของ Plsek ร่วมกับทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามองค์ประกอบของ Sternberg
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเล่าเรื่องเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา
ระดับปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ:
บัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:
ซัคเซสมีเดีย.
ชลธิชา ศิริอมรพันธ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทยเชิงผลิต
ภาพ เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบและสำนึกทางสังคม. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด.
(หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิต.
ณัฏฐ์ ภูริพัฒน์ศิริ. (2561). เด็กดี-เด็กเก่ง คุณลักษณะของครอบครัวและโรงเรียน.
พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 12(1), 56-79.
นันทวัฒน์ ศรีคงแก้ว. (2564). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง
ขุนแผนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ภาคนิพนธ์ ค.บ. (ภาษาไทย).
สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2557). พจนานุกรมภาษาในอาเซียน. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
พรทิพย์ ศิริสมบูรณ์เวช. (2547). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีไทย
ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการตอบ
สนองต่อวรรณคดีการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการคิดไตร่ตรองของนิสิตระดับ
ปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรธิดา สุขกรม. (2557). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทาง
คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การศึกษา
คณิตศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณรอง รัตนไชย. (2555). สภาพ ปัญหา และการนำเสนอแนวทางการพัฒนาการ
จัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรม ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การสอนภาษาไทย).
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัช ศิริวัฒนะนาวิน. (2544). การศึกษาการตั้งชื่อของคนไทย. วิทยานิพนธ์ อ.ม. (ภาษา
ไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริเดช สุชีวะ. (2538). การวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและ
เอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนิท ตั้งทวี. (2558). วรรณคดีพื้นฐาน. มหาสารคาม: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
สุวิมล เขี้ยวแก้ว. (2540). การสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. ปัตตานี: ภาควิชาการ
ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.
Arslan, H. O., Cigdemoglu, C., & Moseley, C. (2012). A Three-Tier Diagnostic
Test to Assess Pre - Service Teachers' Misconceptions about Global
Warming, Greenhouse Effect, Ozone Layer Depletion, and Acid Rain.
International Journal of Science Education, 34(11), 1667-1686.
https: doi.org 10.1080/09500693. 2012. 680618
Chi, M. T. H. & R. D. Roscoe. (2002). The Process and Challenges of
Conceptual Change. In M. Limon and L. Mason (Eds), Reconsidering
Conceptual Change: Issues in Theory And Practice. Dordrecht, The
Netherlands: Kluwer Academic Publishers.
Fisher, K. M. A. (1985). Misconception in Biology : Amino Acid and Translation.
Journal of Research in Science Teaching, 22 (January), 53-62.
Suping, S. M. (2003). Conceptual Change among Students in Science.
Retrieved (September). http.7Avww. ericdigests.org/2004/change.
htmI.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York:
Harper & Row.
บุคลานุกรม
ณัฐชา ทองเดิม (ผู้ให้สัมภาษณ์) นันทวัฒน์ ศรีคงแก้ว (ผู้สัมภาษณ์). ณ โรงเรียนสุราษฎร์
พิทยา 2 ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 22 มกราคม
พิไลวรรณ เพชรไฝ (ผู้ให้สัมภาษณ์) นันทวัฒน์ ศรีคงแก้ว (ผู้สัมภาษณ์). ณ โรงเรียน
สุราษฎร์ธานี 2 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 22
มกราคม 2565.
ภาณุมาศ ชุมแสง (ผู้ให้สัมภาษณ์) นันทวัฒน์ ศรีคงแก้ว (ผู้สัมภาษณ์). ณ โรงเรียน
สุราษฎร์ธานี ถนนดอนนก ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวัน
ที่ 9 มกราคม 2565.