งานวิจัยวรรณกรรมสามก๊กที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล วิชาการไทย ระหว่าง พ.ศ. 2509-2561
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเอกสาร โดยใช้วิธีการสังเคราะห์งานวิจัยแบบคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพการณ์และแนวโน้มการศึกษาที่ใช้วรรณกรรมสามก๊กเป็นตัวบทวิจัยในฐานข้อมูล ThaiJO กับ TDC ในด้านข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ จำนวนเอกสารกับจำนวนสาขาวิชา และด้านข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ สาระสำคัญของ
ผลการศึกษา และ 2) ศึกษาอิทธิพลของวรรณกรรมสามก๊กต่อการสร้างองค์ความรู้ของคนไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) ในด้านข้อมูลเชิงปริมาณ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2509–2561 มีการศึกษาวรรณกรรมสามก๊ก ทั้งหมด 55 ฉบับ จาก 9 สาขาวิชา และจำนวนเอกสารกับจำนวนสาขาวิชาที่ใช้วรรณกรรมสามก๊กเป็นตัวบทวิจัยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังทศวรรษที่ 2520 ที่ประเทศไทยได้เจริญความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในด้านข้อมูลเชิงคุณภาพการศึกษาส่วนใหญ่เป็นของสาขาวิชารัฐศาสตร์และการทหาร วรรณคดี และภาษาศาสตร์ ตามลำดับ 2) ส่วนใหญ่แล้ว วรรณกรรมสามก๊กอยู่ในฐานะของแหล่งองค์ความรู้ด้านภาษา วรรณคดี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน ซึ่งเป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน รองลงมาคือด้านการพัฒนาภาวะผู้นำทางการเมือง การทหาร องค์กร และคุณลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งเป็นความรู้เชิงประยุกต์ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าองค์ความรู้ทั้งสองด้านส่วนใหญ่แล้วเป็นไปเพื่อทำความเข้าใจความเป็นไทยหรือประยุกต์การใช้งานให้เหมาะสมกับคนไทย มากกว่าจะเป็นองค์ความรู้เพื่อเรียนรู้ประเทศจีน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบห้องสมุดในประเทศไทย. (2562). ฐานข้อมูล ThaiLIS Digital
Collection. https://tdc.thailis.or.th/tdc/index.php
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (253?). ตำนานหนังสือสามก๊ก.
กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
ทัศน์ธนิต ทองแดง. (2564). ความหลากหลายของจำนวนสาขาวิชารายทศวรรษ. ใน
รายงานวิจัยวรรณกรรมสามก๊กที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลวิชาการไทย ระหว่าง
พ.ศ. 2509-2561. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ทัศน์ธนิต ทองแดง. (2564). จำนวนเอกสารรายทศวรรษ. ใน รายงานวิจัยวรรณกรรมสาม
ก๊กที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลวิชาการไทย ระหว่าง พ.ศ. 2509-2561. ปัตตานี:
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ทัศน์ธนิต ทองแดง. (2564). แผนภูมิแสดงร้อยละองค์ความรู้จากวรรณกรรมสามก๊ก. ใน
รายงานวิจัยวรรณกรรมสามก๊กที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลวิชาการไทย ระหว่าง
พ.ศ. 2509-2561. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ทัศน์ธนิต ทองแดง. (2564). QR Code แสดงข้อมูลแสดงจำนวน ชื่อเรื่อง ประเภทเอกสาร
ของการศึกษาวรรณกรรมสามก๊ก. ใน รายงานวิจัยวรรณกรรมสามก๊กที่เผยแพร่
ในฐานข้อมูลวิชาการไทย ระหว่าง พ.ศ. 2509-2561. ปัตตานี: มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญศักดิ์ แสงระวี. (2563). หลอก้วนจง ผู้ให้กำเนิดสามก๊ก. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
ยศไกร ส.ตันสกุล. (2557). จากวรรณกรรมคลาสสิกสู่หนังสือขายดี: การผลิตสามก๊กให้
เป็นสินค้าหลังปี 2540. วารสารจีนศึกษา, 7(1), 15-43. https://so01.tci-
thaijo.org/index.php/CSJ/article/view/55000
ระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย. (2562). Thai Journals.
สุนันท์ พวงพุ่ม. (2528). การศึกษาสารของผู้ประพันธ์สามก๊กฉบับต่าง ๆ ในภาษาไทย
[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ThaiLIS. https://
tdc.thailis.or.th/tdc/index.php
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2535). การอภิวิเคราะห์และการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการ
เรียนการสอนภาษาอังกฤษในระหว่างปี พ.ศ. 2515-2530. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย: เชิงปริมาณ เน้นวิธีวิเคราะห์เมตต้า.
กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.
Amornwanitsak, S. (2007). The dissemination and influences of Chinese
classical novels in Thailand [doctoral dissertation, Zhejiang University].
CNKI. https://cnki.net/
Luxun. (2019). Zhongguo xiaoshuo shilue. Shanghai: Shanghai Guji.
Song, Z.J. (2020, December 5). Chutan Zhongguo dui Taiyi “Sanguo” yanjiu de xianzhuang.
Today’s Massmedia, 2020(12), 77-80. https://kns.cnki.net/kcms/
detail/detail.aspx?dbcode=CJFD&dbname=CJFDLAST2021&filename=
BKZY202012022&uniplatform=NZKPT&v=rnyFC6QbymL9SblLAocjmsg
w3MSYah7DUODYG6JbzIK6TNPyO-aIZRTQt_Q4-6fT
Wang, L.N., & Du, W.M. (2006, December 30). “Sanguo Yanyi” de waiwen
yiwen. The Research on Ming and Qing Dynasties Novels, 2006(04),
-85. https://kns.cnki.net/kcms/detail/detail.aspx?dbcode=CJFD&db
name=CJFD2006&filename=MQXS200604006&uniplatform=NZKPT&v=I
rpV9JkrLrKVKkHQvlhFjco8Ff0VrI1DFfhsoEF20pwXayG3CVZWb5zrc
gUqMSD9
Zhongguo Zhishi Jichu Sheshi Gongcheng. (2019). CNKI. https://cnki.
net/