การพัฒนาตำรับอาหารถิ่นร่วมสมัยของชุมชนบ้านใต้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ณภัทร นาคสวัสดิ์
มัณฑน์นันท์ ขุนฤทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านใต้แบบมีส่วนร่วม 2) พัฒนาคู่มือตำรับอาหารถิ่นร่วมสมัยจากวัตถุดิบในชุมชนบ้านใต้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจตำรับอาหารถิ่นร่วมสมัยจากวัตถุดิบในชุมชนบ้านใต้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ
การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ที่มีความรู้และบทบาทในการพัฒนาการท่องเที่ยวและชุมชนบ้านใต้เลือกกลุ่มเป้าหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ด้วยวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผล
การวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตลักษณ์ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านใต้แบบมีส่วนร่วม มี 3 ด้าน คือ (1) ด้านอัตลักษณ์ด้านการมีอาหารเพียงพอ (Food Availability) (2) ด้านอัตลักษณ์การเข้าถึงอาหาร (Food Access) และ (3) ด้านอัตลักษณ์การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization) 2) สามารถรวบรวมและพัฒนาตำรับอาหารถิ่นร่วมสมัยจากวัตถุดิบในชุมชนบ้านใต้ แบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ (1) ตำรับอาหารในชุมชนบ้านใต้ประเภทของทานเล่น (2) ตำรับอาหารในชุมชนบ้านใต้ประเภทอาหารคาว (3) ตำรับอาหารในชุมชนบ้านใต้ประเภทของหวาน (4) ตำรับอาหารในชุมชนบ้านใต้ประเภทเครื่องดื่ม (5) ตำรับอาหารในชุมชนบ้านใต้ประเภทอื่น ๆ และ (6) อาหาร 20 เมนูที่ควรรับประทานเมื่อมาชุมชนบ้านใต้ และ 3) ระดับความพึงพอใจตำรับอาหารถิ่นร่วมสมัยจากวัตถุดิบในชุมชนบ้านใต้ พบว่าด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.95 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.21 การพัฒนาตำรับอาหารถิ่นร่วมสมัยของชุมชนบ้านใต้ สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนต่อไป

Article Details

How to Cite
นาคสวัสดิ์ ณ. ., & ขุนฤทธิ์ ม. . (2023). การพัฒนาตำรับอาหารถิ่นร่วมสมัยของชุมชนบ้านใต้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 15(1), 1–32. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/260247
บท
บทความวิจัย

References

ญาณภา บุญประกอบ, จักรวาล วงศ์มณี, ศิริพร เขตเจน, และ โยธิน แสวงดี. (2560).

อาหารพื้นถิ่นกับกลไกในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษา

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 1 (ฉบับพิเศษ),

ณภัทร นาคสวัสดิ์, และ มัณฑน์นันท์ ขุนฤทธิ์. (2565). ตำรับอาหารบ้านใต้เกาะสมุย.

สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ทรงสิริ วิชิรานนท์, พจนีย์ บุญนา, และ จงทิพย์ อธิมตติสรรค์. (2557). วิถิีชีวิตและความ

มั่นคงของอาหารท้องถิ่นใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

พระนคร.

นวรัตน์ บุญภิละ. (2559). ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นผู้ไทในอีสาน. อุดรธานี: สำนักวิชาศึกษา

ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

อภิณัทธ์ บุญนาค. (2557). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการบริโภคอาหารท้อง

ถิ่นภาคใต้ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Scarpato, R. (2002). Gastronomy as a tourist product: The perspective of

gastronomy studies. Tourism and gastronomy. London: Routledge.