การบริหารทรัพยากรบุคคลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid–19)

Main Article Content

ปวีณา พานิชชัยกุล
อุมาภรณ์ สุขารมณ์
ดุสิตา สันซัง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและวิธีการในการบริหารทรัพยากรบุคคล ให้ตอบสนองต่อค่านิยมของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid–19) ซึ่งประกอบด้วย 1) Sharing คือ การแบ่งปัน ร่วมมือร่วมใจระหว่างบุคลากร รวมทั้งให้ความร่วมมือกับองค์กร 2) Caring คือ การเอาใจใส่ ดูแลให้คําปรึกษาที่ดีแก่นิสิตและระหว่างบุคลากรด้วยกัน การให้ความสําคัญต่อการมีความรับผิดชอบต่อสังคม และ 3) Integrating คือ การบูรณาการทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้เกิดการพัฒนาหรือทําให้ดีขึ้น เช่น การบูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัยและบริการวิชาการ การบูรณาการข้ามศาสตร์ โดยใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากแนวปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข ประกาศของมหาวิทยาลัย ประกาศของคณะวิทยาศาสตร์และสัมภาษณ์บุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ พบว่า
คณะวิทยาศาสตร์ได้แนวคิดและวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid – 19) จำนวน 6 ด้าน โดยทุกด้านได้ดำเนินการแบบออนไลน์ ดังนี้ 1) ด้านการสรรหาทรัพยากรบุคคล กรณีที่จำเป็นต้องสอบปฏิบัติจะทำโดยการเว้นระยะห่าง 2) ด้านการอบรมและพัฒนาบุคลากร ได้ทำการค้นหาหลักสูตรฝึกอบรมโดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของตำแหน่งและจัดส่งหลักสูตรฝึกอบรมให้กับบุคลากรทางอีเมล 3) การบริหารจัดการด้านอัตราจ้างงานพบว่า การประสานงานมีความล่าช้าแต่ยังคงบรรลุเป้าหมายและทันตามกำหนดเวลา 4) การบริหารจัดการด้านประสิทธิภาพของการทำงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานพบว่า บุคลากรมีความตระหนักในพัฒนาตนเองมากขึ้น มีการจัดทำแนวปฏิบัติและคู่มือปฏิบัติงาน 5) การแก้ปัญหาและลดความขัดแย้ง มีแนวปฏิบัติการเบิกจ่ายค่าตรวจเชื้อ โดยคณะจะทำการประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น ๆ โดยตรง และ 6) ความเอาใจใส่บุคลากรหลังเกษียณอายุราชการหรือมีความจำเป็นต้องลาออกจากงานราชการพบว่า ประสิทธิภาพได้ผลดีเท่ากับการมาพบปะเนื่องจากบุคลากรสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ได้

Article Details

How to Cite
พานิชชัยกุล ป., สุขารมณ์ อ. ., & สันซัง . ด. . (2023). การบริหารทรัพยากรบุคคลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid–19). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 15(1), 174–192. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/259311
บท
บทความวิชาการ

References

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2565). ปรัชญา ปณิธาน ค่านิยม

คุณลักษณะ สมรรถนะหลัก วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ นโยบายและ

ทิศทางการพัฒนาคณะฯ. http://science.swu.ac.th/Default.aspx?tabid=

&language=th-TH

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2565). Official Account Sci Care Center.

https://lineforbusiness.com/th/service/line-oa-features

งานพัฒนากายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

(2565). แผนตอบโต้เหตุฉุกเฉิน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บดินทร์ ชาตะเวที. (2563). พฤติกรรม กับ ชีวิตวิถีใหม่: New Normal. http://www.

ttmed.psu.ac.th/blog.php?p=258

ปองสิน วิเศษศิริ, และ อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์. (2563, สิงหาคม). นิวนอร์มัลในโรงเรียน

นายร้อย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระ

จุลจอมเกล้า, 7, 126-141.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2565). http://unity.swu.ac.th/about-us/

Barnes S.J. (2020). Information management research and practice in the

post-COVID-19 world. International Journal of Information Management,

(55), 1-4. https://doi: 10.1016/j.ijinfomgt.2020.102175