รูปแบบการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของประชาชนที่มาใช้บริการห้องสมุดประชาชน แนวทางการพัฒนาการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดประชาชน และสร้างรูปแบบการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสำรวจ จากผู้บริหารและบรรณารักษ์ จำนวน 12 คน และผู้ใช้บริการ จำนวน 540 คน พื้นที่วิจัย คือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านตาขุน อำเภอไชยา อำเภอชัยบุรี อำเภอเกาะสมุย และห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เกณฑ์มาตรฐานของห้องสมุดประชาชน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาที่มาใช้บริการปัจจุบัน คือ ด้านการสื่อสารกับผู้ใช้บริการและด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ หรือแรงจูงใจที่เข้าใช้บริการ ด้านความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการ คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อสิ่งพิมพ์ 2) แนวทางการพัฒนาการให้บริการตามภารกิจอันดับแรก คือ การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยและเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการศึกษาในระบบและนอกระบบ มีปัจจัย ส่งเสริมการดำเนินงานคือ ด้านนโยบาย ด้านบทบาทของห้องสมุดประชาชน คำนึงถึงภาระหน้าที่โดยตรงของห้องสมุดประชาชน คือ การส่งเสริมการรู้หนังสือ การรู้สารสนเทศ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ต้องกระทำก่อนอย่างจริงจังตามมาตรฐาน ในด้านทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการมีบริการทุกประเภทตามมาตรฐาน และ 3) รูปแบบการให้บริการในรูปแบบการให้บริการหลักและรองตามมาตรฐาน ที่ใช้เป็นแนวทางการพิจารณาปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการตามภารกิจและบทบาทจริง ๆ ต่อการทำงานของห้องสมุดประชาชน ที่ต้องกระทำก่อนต่อผู้ใช้บริการ ชุมชน ผู้บริหารและบรรณารักษ์หรือผู้ให้บริการเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กลุ่มงานพัฒนาห้องสมุดประชาชน กองนันทนาการ. (2551). รายงานประจำปี 2550.
กรุงเทพฯ: สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว.
ชุติมา สัจจานันท์. (2549). รายงานการวิจัยการพัฒนามาตรฐานห้องสมุดประชาชนที่
เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
ทิศากร ศิริพันธุ์เมือง. (2560, กรกฎาคม - ธันวาคม). รูปแบบการจัดบริการสารสนเทศเชิงรุก
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของห้องสมุดประชาชนจังหวัดสกลนคร.
วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 10(2), 55 - 67.
ธณิศา สุขขารมย์. (2552, กรกฎาคม - ธันวาคม). พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ใช้ห้องสมุด
ประชาชนในอำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสารสนเทศ, 10(2), 37 -
น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2548). การใช้ห้องสมุดยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เอสอาร์
พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
ภรัณยา ปรางทอง. (2555, กรกฎาคม - ธันวาคม). ความคิดเห็นของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ งาน
และผู้ใช้ บริการห้องสมุดประชาชนกรุงเทพมหานครต่อการพัฒนาห้อง สมุดเพื่อ
การเรียนรู้. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 5(2), 29 - 43.
มาลี ไชยเสนา. (2549). การพัฒนาบทบาทห้องสมุดประชาชนในสังคมความรู้.
วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (พัฒนศาสตร์). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น.
มาลี ล้ำสกุล. (2558). สารสนเทศการจัดการสารสนเทศและสารสนเทศศาสตร์ ใน
เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2).
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้. (2552). ห้องสมุดประชาชนใน
ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ. (2556). งานจัดตั้งและดำเนินงานห้องสมุด.
กรุงเทพฯ: สมาคมฯ.
สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ. (2552). ห้องสมุด การศึกษา วิชาชีพบรรณารักษ
ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในยุคการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). รายงานการวิจัยการพัฒนามาตรฐานห้อง
สมุดประชาชนที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
อาภากร ธาตุโลหะ. (2547). ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า. ชลบุรี: พี.เค.พริ้นต์.
Gilton, D. (2008). Information literacy as a department store: Applications
for public teen librarians. Young adult library services. http://vnwcb.
hwwilsonweb.com/hww/login.html.
Pomerantz, J., & Luo, L. (2006). Motivations and Uses: Evaluation Virtual
Reference Service form the User’s Perspective. Library & Information
Science Research, 28(3), 350 - 373. https://doi.org/10.1016/
j.lisr.2006.06.001