การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของ มนุษย์ในพระพุทธศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย

Main Article Content

วรรณลพ มีมาก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) ศึกษาทัศนะด้านความงามในปรัชญาคำสอนของพระพุทธศาสนาและมุมมองด้านความงามของหญิงวัยรุ่นตอนปลาย และ 2) ศึกษารูป สัญลักษณ์และการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ตามเทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรม แบบ 2 มิติ เก็บข้อมูลจากการศึกษาหนังสือ บทความ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาและทัศนะมุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย เพื่อนำไปสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรม
ผลการวิจัยพบว่า ทัศนะด้านความงามในปรัชญาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นให้ความสำคัญกับ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นแก่นของหลักคำสอนที่ให้มนุษย์บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ส่วนรูปลักษณ์ความงามนั้นประกอบด้วยความงามในมิติทางโลก ซึ่งมีลักษณะเป็นจิตวิสัยและความงามในมิติทางธรรมที่มีลักษณะเป็นวัตถุวิสัย ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างหญิงวัยรุ่นตอนปลาย อายุตั้งแต่ 18-22 ปี พบว่า จะมีวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมสังคมที่กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ความคิดด้านความงามได้ถูกครอบงำจากค่านิยมที่ถูกสร้างขึ้นจากการโฆษณาชวนเชื่อทางสื่อต่าง ๆ
จนเกิดเป็นมายาคติจากความงาม ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวความคิดดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา ที่ว่าความงาม รูปลักษณ์ สังขาร ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ อันได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาที่เกี่ยวกับความไม่เที่ยงของทุกสรรพสิ่งทั้งหลาย โดยผู้วิจัยได้นำสัญลักษณ์ดอกบัวเหี่ยวแสดงถึงความจริงของธรรมชาติที่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ผ้าบางแสดงถึงความคลุมเครือไม่สามารถปิดบัง ซ่อนเร้น สิ่งที่ถูกปรุงแต่งด้านในได้ และ หญิงสาวแสดงถึงวัยรุ่นตอนปลายที่ต้องการความงามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตามแนวคิดดังกล่าวมาสู่เทคนิคกระบวนการสร้างสรรค์เป็นผลงานจิตรกรรมแบบ 2 มิติ ในชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย ผลงานชื่อ “มายาคติความงาม” หมายเลข 1 ถึง หมายเลข 5 โดยใช้เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบขนาด 90 x 100 เซนติเมตร จำนวน 5 ชิ้น มาวิเคราะห์ความหมาย ความงามและความรู้สึก เพื่อให้ตระหนักเห็นถึงหลักความงามที่แท้จริงและส่งผลต่อยอดการพัฒนาการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมที่สะท้อนมุมมองการเปลี่ยนแปลงไปของสังคมในโลกปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
มีมาก ว. (2022). การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของ มนุษย์ในพระพุทธศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย . วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 14(2), 1–27. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/255139
บท
บทความวิจัย

References

ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). วาดเส้นสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2559). องค์ประกอบของศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: อมรินทร์

พริ้นติ้ง.

นพพร ประชากุล. (2558). มายาคติ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและ

การพัฒนาโครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ:

อักษรสัมพันธ์.

พระมหารังสันต์ กิตฺติปญฺโญ (ใจหาญ). (2553). การศึกษาวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ใน

พุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (ปรัชญาบัณฑิตวิทยาลัย). กรุงเทพฯ:

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรณลพ มีมาก. (2564). การร่างภาพ. ใน รายงานวิจัยการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด

มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่น

ตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ชื่อผลงานมายาคติความงาม หมายเลข 1. ใน รายงานวิจัยการ

สร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธ

ศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ชื่อผลงานมายาคติความงามหมายเลข 2. ใน รายงานวิจัยการ

สร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธ

ศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ชื่อผลงานมายาคติความงามหมายเลข 3. ใน รายงานวิจัยการ

สร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธ

ศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ชื่อผลงานมายาคติความงามหมายเลข 4. ใน รายงานวิจัยการ

สร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธ

ศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ชื่อผลงานมายาคติความงามหมายเลข 5. ใน รายงานวิจัยการ

สร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธ

ศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ดอกบัวเหี่ยว. ใน รายงานวิจัยการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด

มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่น

ตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). แบบภาพร่าง. ใน รายงานวิจัยการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด

มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่น

ตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ผ้าบาง. ใน รายงานวิจัยการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด

มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่น

ตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ผู้หญิงวัยสาว. ใน รายงานวิจัยการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด

มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่น

ตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ภาพระบายสีขั้นตอนที่ 1. ใน รายงานวิจัยการ

สร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธ

ศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ภาพระบายสีขั้นตอนที่ 2. ใน รายงานวิจัยการ

สร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธ

ศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). ภาพระบายสีขั้นตอนที่ 3. ใน รายงานวิจัยการ

สร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธ

ศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). องค์ประกอบปัจจัยภายนอก. ใน รายงานวิจัยการ

สร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธ

ศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี.

วรรณลพ มีมาก. (2564). องค์ประกอบปัจจัยภายใน. ใน รายงานวิจัยการ

สร้างสรรค์งานจิตรกรรม ชุด มายาคติจากความงามของมนุษย์ในพระพุทธ

ศาสนา: มุมมองจากหญิงวัยรุ่นตอนปลาย สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุราษฎร์ธานี.

อิทธิพล ตั้งโฉลก. (2550). แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพฯ:

อมรินทร์พริ้นติ้ง.

เอกมันต์ แก้วทองสอน. (2554). สุนทรียศาสตร์ในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์

ศศ.ม. (ปรัชญาและศาสนา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.