บทประพันธ์เพลง “เงาสะท้อนแห่งตาปี” สำหรับวงเชมเบอร์อองซอมเบลอ

Main Article Content

อรอุษา หนองตรุด

บทคัดย่อ

บทประพันธ์เพลง “เงาสะท้อนแห่งตาปี” สำหรับวงเชมเบอร์อองซอมเบลอ ประพันธ์ขึ้นสำหรับปี่โนรา คลาริเน็ต และเครื่องกระทบ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ ผลงานทางดนตรีที่มีแนวคิดการผสมผสานวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกและดนตรีถิ่นใต้ ด้วยเทคนิคและวิธีการประพันธ์ดนตรีร่วมสมัยตะวันตก ทั้งยังเป็นการถ่ายทอดและประจักษ์ให้เห็นคุณค่าความงดงาม นำมาซึ่งความตระหนักสำนึกรักษ์ในความเป็นพื้นถิ่น
บทประพันธ์เพลงบทนี้ประกอบด้วย 3 กระบวน กระบวนที่ 1 “ชีวิต” สำหรับการบรรเลงเดี่ยวปี่โนราที่นำเสนอผ่านเทคนิคการบรรเลงที่เป็นอัตลักษณ์ของปี่โนรา กระบวนที่ 2 “จิตวิญญาณ” ประพันธ์ขึ้นสำหรับการบรรเลงเดี่ยวอีแฟล็ตคลาริเน็ต ในลีลาและสีสันเสียงเลียนดนตรีพื้นถิ่นใต้ และ กระบวนที่ 3 “การส่องสะท้อนของชีวิตและจิตวิญญาณ” สำหรับปี่โนรา บีแฟล็ตคลาริเน็ต และ เครื่องกระทบ การบรรเลงร่วมกันของเครื่องดนตรีจากสองวัฒนธรรมสื่อถึงการผสมผสานกันของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกที่มีความแตกต่าง นำเสนอในมุมมองและเทคนิควิธีการประพันธ์ดนตรีร่วมสมัย บทประพันธ์เพลง “เงาสะท้อนแห่งตาปี” สำหรับวงเชมเบอร์อองซอมเบลอ มีความยาวประมาณ 15 นาที แต่ละกระบวนมีความยาวประมาณ 3 - 5 นาที โดยมีสังคีตลักษณ์เฉพาะแตกต่างกันไปตามแต่ละกระบวน เป็นผลงานดนตรีเชิงทดลองที่เป็นการต่อยอดพัฒนาการประพันธ์ดนตรีร่วมสมัยที่ได้รับอิทธิพลจากทั้งวัฒนธรรมดนตรีพื้นถิ่นใต้และดนตรีตะวันตก สะท้อนคุณค่าทั้งในแง่ของสุนทรียศาสตร์และวิชาการทางดนตรี

Article Details

How to Cite
หนองตรุด อ. (2022). บทประพันธ์เพลง “เงาสะท้อนแห่งตาปี” สำหรับวงเชมเบอร์อองซอมเบลอ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 14(1), 29–58. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/250043
บท
บทความวิจัย

References

แขไข ธนสารโสภิณ และ วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2560). วิเคราะห์บทประพันธ์เพลง

ปรากฏการณ์ ของณรงค์ ปรางค์เจริญ. วารสารดนตรีรังสิต. 12(2), 17-29.

ชวน เพชรแก้ว และ สบาย ไสยรินทร์. (2544). สุราษฎร์ธานีของเรา. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการ

พิมพ์.

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2544). มานุษยดนตรีวิทยาดนตรีพื้นบ้านภาคใต้. นครปฐม:

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2553). อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์บทเพลงที่ประพันธ์โดย

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ณัชชา พันธุ์เจริญ และคณะ. (2559). ดนตรีลิขิต: รวมบทความดนตรีสร้างสรรค์เชิง

วิชาการ. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ทัพพสาร เพ็งสงค์ และ พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์. (2559). กลวิธีการเดี่ยวปี่คลาริเน็ตบีแฟล็ต

เพลงเชิดนอกของพันโทวิชิต โห้ไทย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย. 2(2), 122 - 127.

ยศ วณีสอน. (2559). จากปี่ในสู่ปี่นอก. วารสารเวอริเดียน ฉบับภาษาไทย สาขา

มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9(2), 1769 – 1786.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2559). แถวโน้ตสิบสองเสียงในดนตรีเอโทนัล. วารสารดนตรีรังสิต.

(2), 13 - 36.

สังคีต กำจัด. (2556). ปี่ไทยกับการตีความผ่านงานประพันธ์เพลงร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์

ดศ.ม. (สังคีตวิจัยและพัฒนา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Ariana Warren. (2014). 21st Century Beginning Clarinet Method. D.M.A. disd.

University of California San Diego.

Chinary Ung. (2003). Mohori for Mezzo-Soprano and Chamber Ensemble.

Dissertation, D.M.A. (Clarinet and Conducting). Cincinnati: Columbia

University.

Evan Norcross Flynn. (2014). Liberation of the Senses: An Exploration of

Sound –Color Synesthesia in the Music of Alexander Scriabin and

Olivier Messiaen. Dissertation, M.A. (Music). Lawrence: University of

Kansas.

Lee, Sungpil. (2019). East meets West: Reconciling Performance Tradition in

the Clarinet Works of Isang Yun. Dissertation, Ph.D. (Music).

Melbourne: University of Melbourne.