การประเมินศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกต้นจาก โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา ตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกต้นจาก 2) ประเมินศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกต้นจากโดยเปรียบเทียบพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกต้นจากกับการใช้ประโยชน์ที่ดินปี พ.ศ. 2562 โดยมีขั้นตอนการศึกษา 3 ขั้นตอนคือ 1) เก็บตัวอย่าง 60 จุด ด้วยวิธีโควต้ามาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อคัดเลือกปัจจัยที่เหมาะสมและสร้างสมการถดถอยโลจิสติก 2) แทนค่าข้อมูลในสมการเพื่อวิเคราะห์พื้นที่เหมาะสมในการปลูกต้นจาก 3) เปรียบเทียบพื้นที่เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2562 เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ในการปลูกต้นจาก ผลการวิเคราะห์ปัจจัยพบว่ามี 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปลูกต้นจาก คือภูมิสัณฐานความลึกของดิน การระบายน้ำของดิน ปฏิกิริยาของดิน (pH) และระยะห่างจากแหล่งน้ำและนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกต้นจากระดับมาก มีเนื้อที่ 12.96 ตารางกิโลเมตร จากนั้นนำผลไปวิเคราะห์ร่วมกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ. 2562 แปลตีความหมายด้วยสายตา พบว่าพื้นที่ที่มีศักยภาพมากที่สุดเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเบ็ดเตล็ดและอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ
ไม่เกิน 200 เมตร มีเนื้อที่ประมาณ 0.58 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอยู่ในชุมชนบ้านแหลมและชุมชนบ้านกลางบริเวณตอนกลางของพื้นที่ศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2560). กศน.กันตัง จ.ตรังหนุนชุมชนนำขยะมาทำผลิตภัณฑ์สร้างรายได้.
กรุงเทพธุรกิจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.
com/news/detail/762718 [2564, มีนาคม 9].
กลอยใจ คงเจี้ยง, และสุนันท์ ถีรวุฒิ. (2562). สำรวจและวิเคราะห์ระบบการผลิต
พืชภายใต้ระบบเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดตรัง. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก https://www.doa.go.th/oard8/wp-content/uploads/
/2019/08/บทความวิชาการ12.pdf [2564, กุมภาพันธ์ 5].
กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). กลุ่มชุดดิน 62 กลุ่ม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.
ldd.go.th/thaisoils_ museum/ 62_soilgroup/main_62soilgroup.htm
, กรกฎาคม 24].
กองสำรวจและจำแนกดิน. (2543). คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของดินสำหรับพืช
เศรษฐกิจของประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน.
จุฑาพร เกสร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในอำเภอลำทับ
จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี
และการจัดการสิ่งแวดล้อม. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เทคโนโลยีชาวบ้าน (2563, พฤศจิกายน 13). มทร.ศรีวิชัย ลงพื้นที่ยกระดับนวัตกรรม
ชุมชนต้นแบบจาก เศษต้นจาก ชุมชนวังวน จังหวัดตรัง. เทคโนโลยีชาวบ้าน.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-
news-today/article_164087 [2563, มีนาคม 9].
แทนทัศน์ เพียกขุนทด. (2562) รายงานาการวิจัยการประยุกต์ใช้เทคนิคการรับรู้จากระยะ
ไกลเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่ป่าจาก: กรณี
ศึกษาป่าจากในเขตจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
นคร สาระคุณ, สมยศ สินธุระหัส, และสุทัศน์ ด่านสกุลผล. (2541). วิเคราะห์พื้นที่ปลูก
ปาล์มน้ำมันในภาคใต้ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.
นพรัตน์ บำรุงรักษ์. (2544). ต้นจาก...พืชเศรษฐกิจของป่าชายเลน. สำนักงานคณะ
กรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: เฟื้องฟ้าพริ่นติ้ง.
นพรัตน์ บำรุงรักษ์, และช่อทิพย์ ปุรินทวรกุล. (2543). รายงานการวิจัย วิธีการปลูก การ
เจริญเติบโตและการเร่งน้ำหวานเพื่อการผลิตน้ำตาลของต้นจากในพื้นที่นากุ้งทิ้งร้างของลุ่มน้ำปากพนัง. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นพรัตน์ บำรุงรักษ์, สุภาพร บัวชุม, และช่อทิพย์ ปุรินทวรกุล. (2551). การปลูกต้นจาก
ในพื้นที่นาข้าวที่ได้รับผลกระทบจากความเค็ม. Journal of Tropical Plants
Research. 1(1), 93-102.
นพรัตน์ บำรุงรักษ์, ธีรดา ยงสถิตศักดิ์, และฮัสวานี เล็มกะเต็ม. (2557). การประเมิน
พื้นที่มีศักยภาพในการปลูกต้นจากในบางจังหวัดภาคใต้ของไทย. วารสาร
มหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(2), 26-34.
บุญส่ง ไกรวงศ์. (2555). ศึกษาการใช้ประโยชน์จากต้นจาก ตำบลบางศาลา อำเภอ
ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สารนครศรีธรรมราช. 42(5), 86-98.
ภูวเรศ มณฑลเพชร (2555). การประยุกต์เทคนิคการรับรู้ระยะไกลในการประเมินมูลค่า
ผลผลิตของต้นจาก (Nypa fruticans Wurmb.) ในพื้นที่ป่าชายเลน จังหวัด
สมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหาร
ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุภาพร บัวชุม. (2549). การปลูกและการเจริญเติบโตของต้นจาก (Nypa fruticans
Wurmb) ในนาข้าวที่ได้รับผลกระทบจากความเค็ม พื้นที่ตำบลขนาบนาก
อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหา บัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์.
องค์การบริหารส่วนตำบลวังวน. (2562). สภาพและข้อมูลพื้นฐาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก https://www.wangwon.go.th/general1.php [2564, มีนาคม 11].
FAO. (1976). A framework for land evaluation. [Online]. Retrieved from
http://www.fao.org/3/x5310eX5310e00.htm [2563, July 24].