ทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด คุณค่าทางและการประพันธ์ทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและองค์ความรู้ทางดุริยางคศิลป์ไทยมาใช้ในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดที่ปรากฏในทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยวของพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) ประกอบด้วย 5 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดเรื่องเพลงเดี่ยวขั้นสูง ความเชื่อเรื่องการสาปแช่ง การสืบทอด พิธีกรรมการถ่ายทอด และการบรรเลง มีคุณค่า 4 ประการ คือ คุณค่าต่อผู้รับการถ่ายทอด ผู้ถ่ายทอด สำนักพระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตเสวี)และสังคม การประพันธ์ทางเดี่ยวซอสามสายเพลงทยอยเดี่ยว พบว่าซอสามสายมีความเหมาะสมในการบรรเลง มีการวางโครงสร้างทางเดี่ยวในลักษณะเพลงเถา การใช้จังหวะฉิ่งและจังหวะหน้าทับสองไม้ การใช้กลุ่มทำนองโยน การขึ้นเพลงและการลงจบ นอกจากนี้ยังมีการใช้กลวิธีพิเศษ 11 กลวิธี คือกลวิธีพิเศษในการใช้นิ้ว ได้แก่ 1) นิ้วประ 2) นิ้วพรม 3) นิ้วแอ้ 4) นิ้วนาคสะดุ้ง 5) นิ้วก้อง 6) นิ้วชุน 7) นิ้วควง 8) นิ้วครั่น 9) นิ้วชั่ง 10) นิ้วสะบัด 11) นิ้วรูด และกลวิธีพิเศษในการใช้คันชัก ได้แก่ 1) คันชักจับกระตั้วแทงกระตั้ว 2) คันชักงูเลื้อย3) การชะงักซอ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
ยวัฒน์ พึ่งทองคำ. (2549). การศึกษาเพลงทยอยเดี่ยวสำหรับระนาดเอกทางครูจางวางทั่ว
พาทยโกศล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย.
คณะศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพดล คลำทั่ง. (2551). วิเคราะห์เดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงทยอยเดี่ยว ทางครูสอน วงฆ้อง.
วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทยคณะ
ศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. (2549). การประพันธ์เพลงทยอยเดี่ยว สำหรับจะเข้. รายงานผล
การวิจัยทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา โสคติยานุรักษ์, และคณะ. (2549). ศาสตราจารย์อุดม อรุณรัตน์. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2556). การสืบทอดทางวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://
nattawats.blogspot.com/ 2013/04/cultural-inheritance.html [2563,
ตลุาคม 23].
ถวัลย์ ดัชนี. (2552). เสพศิลป์อย่างเข้าใจ แบบไหนเรียกว่างาม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้
จาก https://www.artopia.space/read-magazine/2020/1/9/--1 [2563,
ธันวาคม 13].
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2559). เสียงเสนาะซอสามสาย. กรุงเทพฯ: อัพบีทครีเอชั่นส์.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาภูมีเสวิน. (2519). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
ภรภัทธ์ กุลศรี. (2550). วิเคราะห์การขับร้องเพลงทยอยเดี่ยว: กรณีศึกษาครูสุรางค์ ดุริย
พันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย
คณะศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูริภัสสร์ มังกร. (2550). วิเคราะห์เดี่ยวระนาดทุ้มเพลงทยอยเดี่ยว: กรณีศึกษาทาง
อาจารย์สืบศักดิ์ ดุริยประณีต. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สรายุทธ์ โชติรัตน์. (2552). วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงทยอยเดี่ยวของสำนักหลวงประดิษฐ
ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อดิศร เวชกร. (2549). วิเคราะห์เพลงเดี่ยวจะเข้เพลงทยอยเดี่ยว: ทางครูศิวศิษฏ์
นิลสุวรรณ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย
คณะศิลปกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุคลานุกรม
ณัชชา พันธุ์เจริญ (ผู้ให้สัมภาษณ์) สถิตย์สถาพร สังกรณีย์ (ผู้สัมภาษณ์). ณ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563.
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์ (ผู้ให้สัมภาษณ์) สถิตย์สถาพร สังกรณีย์ (ผู้สัมภาษณ์). ณ หมู่บ้าน
มัณฑนา ปิ่นเกล้า-พระราม 5 ถนนนครอินทร์ ตำบลบางขุนกอง อำเภอบางกรวย
จังหวัดนนทบุรี. เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2563.
ศิริพันธุ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (ผู้ให้สัมภาษณ์) สถิตย์สถาพร สังกรณีย์ (ผู้สัมภาษณ์).
ณ ร้านอาหารซอสามสาย 12/1 ซอยสุขุมวิท 61 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพมหานคร. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2563.