การออกแบบภาพแปรขบวนสำหรับวงโยธวาทิต

Main Article Content

นัฎฐการต์ ชนะสงคราม
สุพจน์ ยุคลธรวงศ์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกแบบภาพแปรขบวนสำหรับวงโยธวาทิตที่มีข้อมูลสำคัญในการทำงาน ซึ่งส่งผลให้การออกแบบภาพแปรขบวนสำหรับวงโยธวาทิตมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ โดยแบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1) กระบวนการทำงาน ได้แก่ การเตรียมการ, การวิเคราะห์, การลงมือทำงาน 2) อุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบ ได้แก่ คอมพิวเตอร์, โปรแกรมช่วยในการออกแบบภาพแปรขบวน Pyware 3D, กระดาษ ดินสอ ยางลบ 3) หลักแนวคิดทฤษฎีและองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้แก่  ทักษะความรู้ด้านดนตรี, ทักษะความรู้ด้านองค์ประกอบศิลป์และการออกแบบ, ทักษะความรู้พื้นฐานด้านการเดินที่ใช้ในการแปรขบวน, ทักษะด้านเทคนิคที่ใช้ในการเขียนภาพแปรขบวน, ทักษะความรู้พื้นฐานด้านการใช้พื้นที่สนามและการจัดวางตำแหน่งนักดนตรีในสนาม เป็นต้น จากข้อมูลข้างต้น 3 ประเด็น แสดงถึงข้อมูลสำคัญที่ผู้ทำงานการออกแบบภาพแปรขบวนสำหรับวงโยธวาทิตควรต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการและหลักแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ดังกล่าว จึงจะสามารถใช้องค์ความรู้เหล่านี้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมามีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในการทำงาน

Article Details

How to Cite
ชนะสงคราม น., & ยุคลธรวงศ์ ส. (2020). การออกแบบภาพแปรขบวนสำหรับวงโยธวาทิต . วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 12(2), 235–254. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/247461
บท
บทความวิชาการ

References

Asian Marching Band Confederation. (2019, April 3, 2019). AMBC JUDGING SYSTEM. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://ambc.asia/marching-show-band/
Cunningham, J. M. (2014). Drill Military. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.britannica.com/topic/drill-military
Encyclopedia, N. W. (2008). Marching Band. New World Encyclopedia. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.newworldencyclopedia.org/entry/Marching_band
The Canadian Forces Manual of Drill and Ceremonial. (2014). Manual of Drill and Ceremonial | Chapter 1 Introduction. Retrieved from. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttps://www.canada.ca/en/services/defence/caf/military-identity-system/drill-manual/chapter-1.html#1-4
กุลนิดา เหลือบจำเริญ. (2553). องค์ประกอบศิลป์. ปทุมธานี: สกายบุ๊กส์.
ประเสริฐ พิชยะสุนทร. (2557). ศิลปะและการออกแบบเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2 ed.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด 79 ถนน
งามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/1mKyU6tkVWlL5b6vfwHNEzqkcqVXf_H-m/view
สมชาย พรหมสุวรรณ. (2548). หลักการทัศนศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมภพ จงจิตต์โพธา. (2554). องค์ประกอบศิลป์ (Vol. พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
สุดใจ ทศพร. (2546). ดนตรีศึกษา. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ธนบุรี.