การประกอบสร้างอัตลักษณ์ประเพณีทอดผ้าป่าออกพรรษา ชุมชนบ้านดอน อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ณัฐกานต์ งามประดิษฐ
อุทิศ สังขรัตน์

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเพณีทอดผ้าป่าออกพรรษาชุมชนบ้านดอน อำเภอเมืองฯฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีทอดผ้าป่าออกพรรษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี วิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกหมวดหมู่ ตรวจสอบถอดรหัสและตีความ สังเคราะห์สรุปผลการศึกษาผลการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ของประเพณีทอดผ้าป่าออกพรรษาในชุมชนบ้านดอน เกิดจากการประกอบสร้างความหมายผ่านประเพณีออกพรรษาโดยใช้สัญลักษณ์ภาพแทนผ่านรูปแบบการจัดซุ้มพุ่มผ้าป่าด้วยการนำต้นกล้วย หรือกิ่งไม้มาประดับตกแต่งด้วย
เครื่องอัฐบริขารต่าง ๆ ไว้หน้าบ้านก่อนวันออกพรรษา โดยอ้างอิงเรื่องราวมาจากประวัติพุทธชาดกผ่านกิจกรรมการทอดผ้าป่าออกพรรษา ซึ่งเป็นการทอดผ้าป่าที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากที่อื่น ๆ ส่งผลให้เกิดคุณค่าทางด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ และคุณค่าทางด้านจิตใจ เกิดพลังทางสังคมจากการร่วมมือของคนในชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอันเนื่องมาจากประเพณีทอดผ้าป่าออกพรรษาที่มีอัตลักษณ์เฉพาะของชุมชนบ้านดอน

Article Details

How to Cite
งามประดิษฐ ณ., & สังขรัตน์ อ. . (2021). การประกอบสร้างอัตลักษณ์ประเพณีทอดผ้าป่าออกพรรษา ชุมชนบ้านดอน อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 13(2), 16–33. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/247148
บท
บทความวิจัย

References

ฉลาดชาย รมิตตานนท์. (2545). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไท. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ภาพิมล สีไหม, และเสรี พิจิตรศิริ. (2554). การส่งเสริมประเพณีชักพระของเทศบาล

ตำบลวัดประดู่. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 4(4), 59.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2550). ทฤษฏีทางสังคมวิทยาเนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์

เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ ภูมิศิริไพบูลย์. (2541). ศึกษาการทำเรือพระในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกไทยคดีศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฏร์ธานี. (2557). ประเพณีชักพระจังหวัด

สุราษฎร์ธานี. [ออนไลน์]. เข้าได้ถึงจาก http://www.suratthani-culture.

htm. [2562, ตุลาคม 5].

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ (Identity) การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด.

กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

บุคลานุกรม

ณัฎฐณิชา ประจง (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณัฐกานต์ งามประดิษฐ (ผู้สัมภาษณ์). ณ หน้าโรงเรียน

สุราษฎร์ธานี ถนนดอนนก ตำบลตลาด อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2562.

นิภา จันทร์แก้ว (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณัฐกานต์ งามประดิษฐ (ผู้สัมภาษณ์). ณ บริเวณสะพาน นริศ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2562.

ปฏิชญะ ศรีสมบัติ (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณัฐกานต์ งามประดิษฐ (ผู้สัมภาษณ์). ณ บริเวณตลาดล่าง

อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562.

ปริญดา มาเอียด (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณัฐกานต์ งามประดิษฐ (ผู้สัมภาษณ์). ณ หน้าโรงเรียน

สุราษฎร์ธานี ถนนดอนนก ตำบลตลาด อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2562.

พระอาจารย์ปิยะ สุขเกษม (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณัฐกานต์ งามประดิษฐ (ผู้สัมภาษณ์).

ณ วัดโพธิปักษ์ ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่11

ตุลาคม 2562.

เพ็ญศรี กิตตินัดดากุล (ผู้ให้สัมภาษณ์) ณัฐกานต์ งามประดิษฐ (ผู้สัมภาษณ์). ณ บริเวณ

ตลาดล่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่10 ตุลาคม 2562.