แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า กรณีศึกษา : ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล
ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่าและศึกษาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างคนกับช้างป่าตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี โดยเป็นการวิเคราะห์ที่ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยมีแบบคำถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้นำชุมชนในพื้นที่มีปัญหาจากช้างป่าบุกรุกเข้ามาทำลายพืชผลทางการเกษตรจำนวน 5 หมู่บ้าน กลุ่มที่ 2 กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการที่ช้างป่าเข้ามาทำลายพืชผลการเกษตรในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 20 ครัวเรือน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มารวบรวมและสรุปผลโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในพื้นที่ ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของประชากรในชุมชนพวา ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ.2537 – พ.ศ.2562 ที่มีการเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 60 ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำกินส่งผลต่อป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของช้างลดลงทำให้ช้างป่าออกหากินนอกพื้นที่ป่า และการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนพวา ตามระบบเศรษฐกิจทุนนิยมซึ่งแพร่ขยายเข้ามาภายในชุมชนเกิดจากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของหน่วยงานภาครัฐส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตของชาวชนชุมพวาเปลี่ยนแปลงไปจากการอาศัยพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมไปสู่ความจำเป็นที่ต้องอาศัยปัจจัยการผลิตการดำเนินชีวิต จากภายนอกส่งผลให้ชาวชุมชนพวาต้องขวนขวายหาเงินอันเป็นปัจจัยหลักในการจับจ่ายเพื่อสินค้าอุปโภคบริโภคทำให้ต้องมีการเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าส่งผลต่อการเผชิญหน้ากันระหว่างคนกับช้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า สามารถแบ่งได้เป็น 3 แนวทางทางหลัก ดังนี้ 1) ระยะเร่งด่วนหรือแนวทางการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ตั้งชุดปฏิบัติการ เฝ้าระวัง ขับไล่ช้างป่า ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วลาดตระเวนพื้นที่และให้คำแนะนำประชาชนตลอดจนให้การช่วยเหลือแก้ไขสถานการณ์
2) ระยะกลาง เช่น จัดทำแนวคูกั้นช้างป่าในจุดที่ล่อแหลมเป็นอันตรายในเส้นทางที่มีประชาชนและนักเรียนใช้สัญจรเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้ช้างป่าออกมาทำร้ายและปลูกไผ่ป่าที่มีหนามให้มากขึ้นตลอดแนวคูกั้นช้าง จัดทำรั้วกระแสไฟฟ้าโดยประสานกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พิจารณาพื้นที่ที่เป็นสวนผลไม้ที่ช้างป่าลงมากินพืชผลเป็นประจำจัดชุดปฏิบัติการออกให้ความรู้ในการป้องกันช้างป่า 3) ระยะยาว ประกอบด้วย 4 แนวทาง ดังนี้ (1) การสร้างทัศนคติที่ดีเพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่า (2) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรกรรมรอบพื้นที่ที่มีช้างป่าอาศัยอยู่ (3) ควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบของทางราชการโดยหน่วยงานกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ต้องมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือเมื่อมีราษฎรได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากช้างป่าหรือกรณีพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายถูกทำลาย (4) ประสานกับหน่วยงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมหาทางเคลื่อนย้ายช้างป่าออกไปบ้างเมื่อมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเกินจำนวนแหล่งอาหาร ซึ่งมีไม่เพียงพอและเคลื่อนย้ายหาที่อยู่ให้ช้างป่าใหม่สำหรับช้างป่าที่ดุร้ายทำอันตรายให้ไปอยู่ในพื้นที่ที่จัดให้ใหม่สำหรับช้างป่าที่ดุร้ายโดยเฉพาะ

Article Details

How to Cite
บริวงษ์ตระกูล ส. ., & แก้วตาธนวัฒนา ภ. (2020). แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า กรณีศึกษา : ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 12(2), 113–127. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/242843
บท
บทความวิจัย

References

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช. (2561). แผนการจัดการช้างป่า พ.ศ.2561-

(20 ปี) ฉบับแก้ไข พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานบริการวิชาการ กรม

อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม.

จังหวัดจันทบุรี. (16 มกราคม 2558). ประกาศจังหวัดจันทบุรี เรื่องประกาศเขตการให้

ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ช้างป่าทำร้ายราษฎรบาดเจ็บและ

ทำลายทรัพย์สินและพืชผลทางการเกษตรเสียหาย) ในพื้นที่อำเภอแก่งทางแมว

จังหวัดจันทบุรี.

นพพร อังศุโชติ. (2551). การศึกษาแนวทางการบรรเทาปัญหาความขัดแย้งระหว่างคน

กับช้างป่า: กรณีศึกษาตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์

วศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

พันทิภา พัฒนแก้ว. (2550). เทคนิคการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง.

นนทบุรี : สมาคมอนุรักสัตว์ป่าและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช.

วิวัฒน์ สุภาพ. (2558). การแก้ไขปัญหาช้างป่าในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว. จันทบุรี :

สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า. (2550). ทำการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง

คนกับช้างบริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน. เพชรบุรี : สมาคมอนุรักสัตว์ป่า

และอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน.

.(2550 ก). เทคนิคการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง. กรุงเทพฯ :

แสงเมืองการพิมพ์.

ไสว วังหงษา. (2547). ประชากรและโครงสร้างทางประชากรของช้างป่าในพื้นที่เขตรักษา

พันธ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาใน จังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ระยอง และ

ชลบุรี. ฉะเชิงเทรา:สถานีวิจัยสัตว์ป่าฉะเชิงเทรา กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า

และพันธุ์พืช.

ไสว วังหงษา. (2551). การจัดการปัญหาระหว่างคนกับช้างป่าในผืนป่าภาคตะวันออก.

กรุงเทพฯ:สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า.

อดิสร เหมทานนท์. (2547). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอุปสงค์ที่มีต่อไม้ไผ่ของราษฎร ที่

อาศัยอยู่รอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์

วศ. ม.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.