การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนบ้านแหลมนาวเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมพื้นที่บ้านแหลมนาว ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่บ้านแหลมนาว เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาเอกสารการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม โดยมีผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มจำนวน 18 คน และใช้วิธี SWOT Analysis ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า บ้านแหลมนาวมีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายและอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง มีปัญหาที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยและระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ มีโอกาสได้รับการพัฒนาพื้นที่เนื่องจากอยู่ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืนและสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนได้ อย่างไรก็ตาม
ยังขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวทางการพัฒนา คือ กำหนดพื้นที่ทำมาหากินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านให้ชัดเจน พัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสร้างรายได้เสริมให้แก่
ชาวบ้านและยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ให้มีความยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
พิสมัย จารุจิตติพันธ์. (2557). ศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ในเกาะสมุย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
(มกราคม – ธันวาคม), 131 –150.
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร. (2558). การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศกลุ่มนอร์ดิก. วารสาร
รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 4(2), 17-37.
ระพีพรรณ ภู่ผกาพันธ์พงษ์ตัณฑรัตน์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับวัฒนธรรมไทย.
วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. 3(5), 1-13.
รพีพัฒน์ สุทธิวงศ์. (2560). การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดการใช้พลังงานในพื้นที่
เกษตรกรรมที่ไม่มีไฟฟ้า. NDC Security Review. 1(7), 6-15.
วชิรวัชร งามละม่อม. (2559). ประเทศไทยกับแนวทางการพัฒนาในประชาคมอาเซียน.
การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 54 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิทวัส ขุนหนู. (2554). แนวทางการพัฒนาและรูปแบบการบริหารที่เหมาะสมต่อการ
บริหารและพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติตะรุเตา.
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา องค์การมหาชน. (2559). การพัฒนา
อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
องค์การมหาชน.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การกำหนดแนวเขต ที่ดินของรัฐ.กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). เศรษฐกิจ
สร้างสรรค์. กรุงเทพ ฯ: บริษัท บี.ซี.เพรส (บุญชิน) จำกัด.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการศึกษาความ
เหมาะสมในรายละเอียดของรูปแบบการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชุมพร - ระนอง
และพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี – นครศรีธรรมราชการพัฒนาพื้นที่ระเบียง
เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor : SEC).
กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อนงค์นุช สุทธิพงศ์. (2547). ศักยภาพทางสังคมในการจัดการท่องเที่ยวตามความคิดเห็น
ของประชาชนหมู่เกาะพยาม อำเภอเมือง จังหวัดระนอง.วิทยานิพนธ์มหา
บัณฑิต ศิลปศาสตร์ (สังคมวิทยาประยุกต์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เอก เจริญศิลป์. (2562). โครงการ “รับแล” ชุมชนต้นแบบพึ่งพาตนเองในอุดมคติ กรณี
ศึกษาชุมชนบ้านแหลมนาว อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง. งานประชุม
วิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562. วันที่ 26 เมษายน 2562.
องค์การบริหารส่วนตำบลนาคา. (2561). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ.2561 - 2564)
องค์การบริหารส่วนตำบลนาคา. ระนอง: องค์การบริหารส่วนตำบลนาคา.