แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ภาษาสะกอมของคน 3 กลุ่มอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นสะกอมของคน 3 กลุ่มอายุในพื้นที่ตำบลสะกอม และเปรียบเทียบการใช้คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นสะกอมระหว่างผู้บอกภาษาต่างวัยและต่างเพศในพื้นที่ดังกล่าว โดยเสนอผลการค้นคว้าในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์และสถิติเชิงพรรณนา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นสะกอมภาคสนาม ใช้หน่วยอรรถจำนวน 140 หน่วยอรรถ กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอายุ คือ กลุ่มอายุ 15-25 ปี กลุ่มอายุ 35-45 ปี และกลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป มีจุดเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 13 จุด ใช้ผู้บอกภาษากลุ่มอายุละ 2 คน ต่อ 1 จุดเก็บข้อมูล รวมผู้บอกภาษาทั้งสิ้นจำนวน 78 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บอกภาษากลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป ใช้คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นสะกอมมากที่สุด และผู้บอกภาษากลุ่มอายุ 15-25 ปี ใช้คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นสะกอมน้อยที่สุด 2) ผู้บอกภาษาเพศหญิงมีการใช้คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นสะกอมสูงกว่าผู้บอกภาษาเพศชาย 3) ผู้บอกภาษากลุ่มอายุ 15-25 ปี ใช้คำศัพท์เปลี่ยนแปลงไปมากที่สุด โดยใช้คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นสะกอมน้อยที่สุดในหมวดคำเกี่ยวกับสติปัญญา อารมณ์ความรู้สึกและคุณค่า และใช้คำศัพท์ภาษาไทยมาตรฐานมากที่สุดในหมวดคำเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคล ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้บอกภาษากลุ่มอายุ 15-25 ปี มีการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์มากที่สุด ซึ่งมีแนวโน้มว่าการใช้คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นสะกอมจะถูกแทนที่ด้วยคำศัพท์ภาษาไทยมาตรฐานมากขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
เฉลิม มากนวล. (2526). ภาษาสะกอม. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เชิดชัย อุดมพันธ์. (2543). ความสัมพันธ์ทางเชื้อสายของภาษาสะกอมกับภาษาตากใบ
และภาษาสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย.
ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ฌัลลิกา มหาพูนทอง. (2559). การแปรของศัพท์และเสียงในภาษาไทยถิ่นภูเก็ตตาม
อายุ: การแสดงนัยของการสัมผัสภาษาถิ่น. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎี
บัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทิญา พันธ์โชติ. (2558). การจัดกลุ่มความหมายของคำศัพท์ในพาดหัวข่าว
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์.
(1), 1-18.
ประทีป บุหลัน. (2554). การอนุรักษ์ภาษาไทย: ภาษาถิ่นใต้. รายงานการศึกษาอิสระ
ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น.
ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันทักษิณคดีศึกษา. (2530). พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช 2525. (พิมพ์ครั้ง
ที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2556). การแปรการใช้ศัพท์ของคนสามระดับอายุในภาษาไทดำ
อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร. 33(1), 149-173.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ภาษาศาสตร์สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุคลานุกรม
มามุ โต๊ะหยม (ผู้ให้สัมภาษณ์). ภารตี เบ็นหรีม (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านบนลาน หมู่ที่ 9
ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2562.