เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการสะสมทุนทางการเมืองของตระกูลเทือกสุบรรณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง “เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการสะสมทุนทางการเมืองของตระกูลเทือกสุบรรณ” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสะสมทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสัญลักษณ์ ที่เป็นเงื่อนไขจำเป็นในการสะสมทุนทางการเมืองของตระกูลเทือกสุบรรณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึก
กับตระกูลเทือกสุบรรณ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แนวประวัติศาสตร์ เป็นการตีความข้อมูลจากการสัมภาษณ์
ผลการศึกษาพบว่า การสะสมทุนทางการเมืองของตระกูลเทือกสุบรรณ
ผ่านการสะสมทุน 4 รูปแบบ ที่เป็นเงื่อนไขของการสะสมทุนทางการเมือง ดังนี้ 1. การสะสมทุนทางเศรษฐกิจอยู่ในรูปแบบของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และธุรกิจส่วนตัว 2. การสะสมทุนทางสังคมอยู่ในรูปแบบของการอุทิศตนเพื่อสังคม การทำโครงการ และการจัดตั้งสหกรณ์ 3.การสะสมทุนทางวัฒนธรรมอยู่ในรูปแบบของการศึกษา สถาบัน
การศึกษาและกีฬา 4.การสะสมทุนทางสัญลักษณ์อยู่ในรูปแบบของการเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นข้าราชการที่ดี เป็นข้าราชการกำนันที่มีวุฒิการศึกษาจากต่างประเทศ เป็นตัวแทนของการต่อต้านความไม่ยุติธรรม และเป็นผู้สร้างสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
ฉัตรทิพย์ นากสุภา.(2557) ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง. พิมพ์ครั้งที่10:สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2558). ปฏิบัติการวิจัยทางสังคม. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพ
พรรณี.
ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข. (2550). เศรษฐกิจของทัพย์สินเชิงสัญลักษณ์ : โครงการจัดพิมพ์
คบไฟ
สุเทพ เทือกสุบรรณ. (2557). Who? สุเทพ เทือกสุบรรณ พิมพ์ครั้งที่2 กรุงเทพฯ: นานมี
บุ๊คส์พับลิเคชั่นส์
สุภางค์ จันทวานิช. (2555). ทฤษฎีสังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2556). มโนทัศน์ชนชั้นและทุนของ ปิแอร์ บูร์ดิเออ. วารสาร
เศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 2(1), 29-44.
ธวัชชัย กฤติยาภิชาติกุล. (2541). การสร้างทายาททางการเมืองของตระกูลการเมืองไทย.
วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สติธร ธนานิธิโชติ. (2558). ความได้เปรียบในสนามเลือกตั้งของทายาทตระกูลนักการ
เมือง. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 45(2),
-74.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
คุณภาพ: การจัดการข้อมูล การตีความและการหาความหมาย. นครปฐม:
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
อัญชะลี ไพรีรัก และคณะ. (2558). The Power of Change-กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ
:โรงพิมพ์ตะวันออก
ศรีสุบรรณฟาร์ม ประวัติบริษัท วันที่ค้นข้อมูล 10 มิถุนายน 2562,เข้าถึงได้จาก www.
srisubanfarm.com
Kimberly Casey. (2008 ) Defining Political Capital: A Reconsideration of
Bourdieu’s Interconvertibility Theory : Paper Presented at the
Illinois State University Conference for student of Political Science
บุคลานุกรม
สุเทพ เทือกสุบรรณ (ผู้ให้สัมภาษณ์) มาดล จรูญรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านเลขที่ 1/1 หมู่
ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 11 มกราคม 2562
แทน เทือกสุบรรณ (ผู้ให้สัมภาษณ์) มาดล จรูญรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านเลขที่ 1/1 หมู่
ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 20 กุมภาพันธ์ 2562
ธานี เทือกสุบรรณ (ผู้ให้สัมภาษณ์) มาดล จรูญรัตน์ (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านเลขที่ 5 หมู่ 4
ตำบลคลองสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 24 เมษายน 2562