นิทรรศน์นครรัฐไทยบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ : บทพินิจพลวัตประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทย

Main Article Content

อมร หวังอัครางกูร
เพ็ญนภา สวนทอง
ฤษณพงษ์ วิชัยดิษฐ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสังคมการเมืองไทยที่นำเสนอผ่านนิทรรศการนครรัฐไทยบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ โดยการศึกษาเชิงเอกสารร่วมกับการสังเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ แล้วนำเสนอเชิงการปริทัศน์เป็นรายประเด็นตามหัวข้อในการจัดแสดงนิทรรศการทั้ง 4 หัวข้อ ได้แก่ จากรัฐโบราณสู่บ้านเมืองไทย รัฐไทยในสุวรรณภูมิ จากสยามรัฐสู่ราชอาณาจักรไทย และราชาธิปัตย์รัฐสยาม ร่วมด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจและการเมือง การศึกษานี้ทำให้ประจักษ์ได้อย่างเด่นชัดถึงความเปลี่ยนแปลงของทัศนะในการนำเสนอประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทย จากเดิมที่มีลักษณะเป็นประวัติศาสตร์ด้านเดียวที่มุ่งขับเน้นอุดมการณ์ราชาชาตินิยมเพื่อสร้างความชอบธรรมในอำนาจการปกครอง และเพื่อสร้างสำนึกร่วมในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ สู่การนำเสนอแง่มุมทางประวัติศาสตร์แบบองค์รวมที่ตระหนักและให้ความสำคัญถึงความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของประเทศไทยที่มี
ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ตลอดจนความเป็นอิสระของนครรัฐโบราณก่อนที่จะหลอมรวมเข้ากันเป็นรัฐไทย ดังนั้น นัยสำคัญที่ผู้เขียนต้องการสะท้อนผ่านบทความนี้ จึงเป็นการเรียกร้องให้แวดวงการศึกษาวิชาการทางประวัติศาสตร์ในสังคมไทยได้มีการทบทวนหลักการ แนวคิด รวมทั้งเป้าหมายในการศึกษาทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ที่ควรเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล และเปิดใจกว้างมากขึ้นเพื่อเรียนรู้ผู้คน เรียนรู้เรื่องราว และเรียนรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่ลบเลือน ลดทอน และด้อยคุณค่าของใครในประวัติศาสตร์เพียงเพราะต้องการสร้างภาพความยิ่งใหญ่ให้แก่ตน ซึ่งหากจุดยืนเหล่านี้ได้มีการทบทวนอย่างจริงจังและจริงใจ ก็เชื่อได้ว่าผลสะท้อนของประวัติศาสตร์ที่เคยจุดไฟแห่งความเกลียดชังให้ลุกโชนคงได้มอดดับลง และแปรเปลี่ยนไปสู่สายใยแห่งภราดรภาพอันนำมาซึ่งการยอมรับและเคารพในความแตกต่างหลากหลายเพื่อการอยู่ร่วมกันของผู้คนในสังคมต่อไป

Article Details

How to Cite
หวังอัครางกูร อ., สวนทอง เ. ., & วิชัยดิษฐ ฤ. (2020). นิทรรศน์นครรัฐไทยบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ : บทพินิจพลวัตประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 12(1), 350–384. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/229878
บท
บทความวิชาการ

References

กรมยุทธศึกษาทหารบก. (2556). รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.

– 2394 ในนิตยสารยุทธโกษ ปีที่ 121 ฉบับที่ 3 (2556): เมษายน-

มิถุนายน. กรุงเทพฯ: กรมยุทธศึกษาทหารบก.

กรมศิลปากร. (2510). เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการ

เปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.103 และพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน.

พระนคร : กรมศิลปากร.

กรมศิลปากร. (2512). ตำนานวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงสถาปนา. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://knowledgecenter.museumsiam.

org/uploads/siam/book_copy/2015/10/DB000043_B2HgeKWq0FYO/

file/B2HgeKWq0FYO.pdf

กรมศิลปากร. (2562ก). ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย เรื่อง

“นครรัฐไทยบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.

finearts.go.th/promotion/2019-07-12-07-46-18/item/ขอเชิญชม

นิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย - เรื่อง - นครรัฐไทยบนแผ่นดิน

สุวรรณภูมิ.html.

กรมศิลปากร. (2562ข). นครรัฐไทยบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช). (2513). ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยของพระบาท

สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: หอสมุดแห่งชาติ.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2504). พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าฯ พระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ. พระนคร:

โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย

ดุลยภาค ปรีชารัชช. (2554). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : วิวัฒนาการและความ

เปลี่ยนแปลง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 11 (2)

(2554): กรกฎาคม-ธันวาคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดุลยภาค ปรีชารัชช. (2557). อำนาจราชันย์อุษาคเนย์ในโลกการเมืองแบบมณฑล.

[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://blogazine.pub/blogs/dulyapak/

post/5064.

เติมศรี ลดาวัลย์. (2517). พิธีราชาภิเษกในประเทศไทย. คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2526). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2559). โฉมหน้าราชาชาตินิยม. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน.

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2551). ดุสิตธานี : การทดลองจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เมื่อ พ.ศ. 2461. นนทบุรี : วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบัน

พระปกเกล้า.

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว, จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์. (2557). รัฐสยามกับล้านนา พ.ศ. 2417-

วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์). 11(6) มกราคม - มิถุนายน 2557. กรุงเทพมหานคร :

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุรยา ศราภัยวานิช. (2556). เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศสำหรับพระมหากษัตริย์ที่

ปรากฏในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์. ภาควิชาโบราณคดี

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรามินทร์ เครือทอง. (2562ก). จินตนาการประชาธิปไตย "ที่แท้จริง" ของกษัตริย์สยาม :

รัชกาลที่ 5. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/

history/article_37764.

ปรามินทร์ เครือทอง. (2562ข). จินตนาการประชาธิปไตย "ที่แท้จริง" ของกษัตริย์สยาม :

รัชกาลที่ 6. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/

history/article_37768.

ปรามินทร์ เครือทอง. (2562ค). จินตนาการประชาธิปไตย "ที่แท้จริง" ของกษัตริย์สยาม :

รัชกาลที่ 7. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/

history/article_37771.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2557). หลักธรรมในการปกครองของพระพุทธศาสนา. วารสาร

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 31(3)

(กันยายน-ธันวาคม 2557). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2562). สุโขทัยเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

เรืองยศ จันทรคีรี. (2560). Mandala วัฒนธรรมทางอำนาจ ระบอบการปกครองรัฐไทย

ในประวัติศาสตร์. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.lokwannee.com/

web2013/?p=267243.

วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2562). นักปฏิรูปยุคแรกของสยามสมัยใหม่ใน ร.ศ. 103 และ

ข้อเสนอเพื่อปฏิรูปแผ่นดิน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.

silpa-mag.com/history/article_11362

วรชาติ มีชูบท. (2553). เกร็ดพงศาวดารรัชกาลที่ 6. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์.

วุฒิชัย มูลศิลป์ อนงคณา มานิตพิสิฐกุล และศิริพร ดาบเพชร. (2546). พระมหากษัตริย์แห่ง

กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: อัลฟ่ามิลเลเนียม.

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2562ก). พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระราช

วิเทโศบายเปิดประเทศ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.

com/quotes-in-history/article_11815.

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2562ข). พระราชวิเทโศบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า

อยู่หัว: การรักษาเอกราชจากจักรวรรดินิยมตะวันตก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก

https://www.silpa-mag.com/quotes-in-history/article_10078

สายป่าน ปุริวรรณชนะ. (2559). อาณาจักรสุโขทัย”: การประกอบสร้างประวัติศาสตร์

จากตำนานและความเชื่อของคนไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์

(1) (2559) มกราคม-มิถุนายน กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำราญ ขันสำโรง และ ศศินันท์ สรรพกิจจำนง. (2561). ล้านนา, คติความเชื่อ และ

กระบวนการสร้างความรู้แบบสหวิทยาการ ของนักวิชาการตะวันตก. วารสาร

พุทธศาสตร์ศึกษา 9 (1) มกราคม - มิถุนายน 2561. เชียงใหม่:

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

สืบพงศ์ ธรรมชาติ. (2557). อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และ

ศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร). สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์.

(1) (2556): ตุลาคม 2556 – มีนาคม 2557. นครศรีธรรมราช:

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

หยุด แสงอุทัย. (2499). อำนาจและความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย.

กรุงเทพฯ: กรมประชาสัมพันธ์.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2548). ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน : ทิศทางใหม่ของการศึกษา

ประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Benedict Anderson. (1983). Imagined Communities: Reflections on the Origin

and Spread of Nationalism. London: Verso.

McCloud G. D. (1995). Southeast Asia: Tradition and Modernity in

the Contemporary World. Boulder, Colorado: Westview Press.

Walters. O.W. (n.d.). The Mandala - Artefact 1 What is a Mandala?

[Online]. Retrieved form https://indianisationinsea.weebly.com/

mandala.html.

Wheatley. (1961). The Golden Khersonese: Studies in the Historical

Geography of the Malay Peninsula before A.D. 1500. Kuala

Lumpur: Oxford University Press.