ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนในพื้นที่อ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ภมรรัตน์ สุธรรม

บทคัดย่อ

 การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนในพื้นที่อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชุมชนและสถานการณ์ของทรัพยากรในพื้นที่อ่าวบ้านดอน ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน และศึกษาแนวทางการฟื้นฟูสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรในพื้นที่อ่าวบ้านดอนให้เกิดความยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน สมาชิกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่อำเภอท่าฉาง ดอนสักและพุนพิน เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัย บทความทางวิชาการ การสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่มและการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผลการศึกษา พบว่า วิถีชุมชนรอบอ่าวบ้านดอนในอดีตเป็นวิถีเกษตรกรรม และส่วนใหญ่เป็นวิถีประมงพื้นบ้าน การทำประมงชายฝั่งในอดีตใช้เครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นเองและไม่ทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ เน้นการบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก สถานการณ์ทรัพยากรเริ่มเปลี่ยนแปลงในช่วงปี พ.ศ. 2516 - 2525 จากวิถีประมงเพื่อยังชีพมาเป็นวิถีประมงเชิงพาณิชย์ กลไกรัฐส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาทำนากุ้งกุลาดำแบบพัฒนา ปี พ.ศ. 2534 - 2545 รัฐบาลได้เปิดพื้นที่สัมปทานคอกหอยในทะเลและช่วงรอยต่อ ปี พ.ศ. 2545 - 2550 รัฐบาลได้มีนโยบายแปลงสินทรัพย์ทางทะเลให้เป็นโฉนดชุมชน (Sea Food Bank) ทำให้ระบบนิเวศป่าชายเลนและชายฝั่งทะเลเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงถึงขั้นวิกฤติ ส่งผลกระทบต่อวิถีชุมชนประมงพื้นบ้านที่ขาดแคลนทรัพยากรสัตว์น้ำในการยังชีพ ชุมชนรอบอ่าวบ้านดอนใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน ภูมิปัญญาในการจับสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ภูมิปัญญาใน
การจัดการทรัพยากรร่วมของท้องถิ่นแบบบูรณาการ จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลร่วมกับเครือข่ายภาคีพัฒนาทุกภาคส่วน ร่วมกำหนดกฎกติกาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อภัยทาน เขตพื้นที่อนุรักษ์ ภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้ยั่งยืน เช่น การจัดทำบ้านปลา การจัดทำช้อนปีก การจัดทำแนวเขตกันลมลูกไม้อ่อน การเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน หรือ “ทะเลเดินได้” เป็นต้น สำหรับแนวทางในการฟื้นฟู สืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญา เน้นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร การขยายกลุ่มอนุรักษ์ฯ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในอ่าวบ้านดอน การขยายเครือข่ายอาสาพิทักษ์ทะเล แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
สุธรรม ภ. (2021). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนในพื้นที่อ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 13(2), 34–62. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/226783
บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2551). โครงการวิจัยฐานความรู้และภูมิปัญญา

ท้องถิ่นในการจัดการป่าชายเลน. กรุงเทพมหานคร: แสงสว่างเวิลด์เพรส.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม: สถาบันวิจัย

ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทวีศักดิ์ สุขรัตน์. (2551). โครงการการสังเคราะห์ภาพรวมอ่าวบ้านดอน. กรุงเทพฯ:

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

เพ็ญนภา สวนทอง. (2562). นิเวศวิทยาการเมืองของการจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเล

อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา

มหาวิทยาลัยบูรพา. 7(2), 106.

สมบูรณ์ ธรรมลังกา. (2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

นเรศวร. 15(2), 58.

อนัญญา เจริญพรนิพัทธ. (2553). การประเมินศักยภาพเชิงลึกของอ่าวบ้านดอน จังหวัด

สุราษฎร์ธานี โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

บุคลานุกรม

ภิรมย์รวย รักเดช (ผู้ให้สัมภาษณ์) ภมรรัตน์ สุธรรม (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านห้วยทรัพย์

หมู่ที่ 4 ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 22

พฤษภาคม 2561.

สมชาย รักเดช (ผู้ให้สัมภาษณ์) ภมรรัตน์ สุธรรม (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านห้วยทรัพย์ หมู่ที่ 4

ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม

สง่า ทองศรี (ผู้ให้สัมภาษณ์) ภมรรัตน์ สุธรรม (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านครามล่าง หมู่ที่ 2

ตำบลชลคราม อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 24 กันยายน

วันเพ็ญ เกิดสุวรรณ (ผู้ให้สัมภาษณ์) ภมรรัตน์ สุธรรม (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านครามล่าง

หมู่ที่ 2 ตำบลชลคราม อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 24

พฤษภาคม 2561.

มนูญ คุ้มรักษ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์) ภมรรัตน์ สุธรรม (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านท่าพิกุล หมู่ที่ 5

ตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561.

อารี สมภักดี (ผู้ให้สัมภาษณ์) ภมรรัตน์ สุธรรม (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านท่าพิกุล หมู่ที่ 5

ตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2561.