ความเป็นมาของการเมืองการปกครองไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของการเมืองการปกครองไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน และผลกระทบจากการเมืองการปกครองไทยร่วมสมัย ภายใต้แนวคิดทางศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู พระพุทธศาสนา ความเชื่อพื้นเมืองดั้งเดิมและวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นแนวทางในการศึกษา โดยอาศัยหลักฐานปฐมภูมิและทุติยภูมิจากงานของนักประวัติศาสตร์และนักปรัชญาประวัติศาสตร์ แล้วนำเสนอผลการศึกษาเชิงพรรณนาวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่า ความเป็นมาของการเมืองการปกครองไทยในอดีต ในทางทฤษฎีนั้น พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดทางเมืองการปกครอง เริ่มจากการปกครองแบบพ่อปกครองลูกตามคติความเชื่อพื้นเมืองไทยดั้งเดิม และแบบธรรมราชาทรงยึดคติทางพระพุทธศาสนาในเรื่องมหาสมมติราชหรือ ธรรมราชาตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและคติเทวราชาในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูในลักษณะผสมผสาน พระมหากษัตริย์ทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายกบังคับบัญชาฝ่ายพลเรือนทั่วไป อัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหพระกลาโหมบังคับบัญชาฝ่ายทหารทั่วไป และมีกรมจตุสดมภ์ คือ นครบาล (เวียง) ธรรมาธิกรณ์ (วัง) โกษาธิบดี (คลัง) เกษตราธิการ (นา) บังคับบัญชาในราชธานี ส่วนการปกครองหัวเมืองนั้นได้แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นในหัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3) บทบาทของกรมท่ามีความสำคัญในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น จึงมีความสำคัญเท่ากับฝ่ายพลเรือนซึ่งบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและสมุหกลาโหมบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ในพ.ศ. 2435 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งราชการส่วนกลางออกเป็น12 กระทรวงการปกครองส่วนภูมิภาคเรียกว่าการปกครองแบบเทศาภิบาล และการปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกว่าสุขาภิบาล การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินเกิดขึ้นในทุก ๆ ด้านตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาส่งผลให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าสู่ความทันสมัยเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยมีคณะราษฎรเข้ายึดอำนาจการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475อย่างไรก็ดี การบริหารประเทศของรัฐบาลหลัง พ.ศ. 2475 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับฝ่ายรัฐบาล จนหัวหน้าฝ่ายทหารเข้ายึดอำนาจใน พ.ศ. 2476เป็นครั้งแรกความขัดแย้งทางการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดการรัฐประหารถึง 22 ครั้ง และครั้งล่าสุดคือ รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเกิดจากกลุ่มทุนและนักการเมืองที่มีฐานอำนาจและการเงินมหาศาล จนส่งผลกระทบให้เกิดวิกฤตทางสังคมไทยในปัจจุบัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรมศิลปากร. (2510). เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการ
เปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 และพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน.
พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพหม่อมสนิท กฤษดา กร ณ เมรวัดธาตุทอง 6 มีนาคม
โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒน์. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอีกที. ใน มติชนรายวัน 26
สิงหาคม 2562. น. 16.
ชัยอนันต์ สมุทวณิชและขัตติยา กรรณสูต (บรรณาธิการ). (2518). เอกสารการเมืองการ
ปกครองไทย พ.ศ. 2417 - 2477. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่ง
ประเทศไทย.
เตช บุนนาค. (2548). การปกครองระบบเทศาภิบาลของประเทศสยาม พ.ศ. 2435 –
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2562). มองการเมืองไทยผ่านกรัมชี่. ใน มติชนรายวัน 16
มิถุนายน 2557, น.15.
ประเสริฐ ณ นคร. (2547). การอธิบายศิลาจารึกสมัยสุโขทัย. โครงการกิตติเมธีสาขาวิชา
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
.(2549). ประวัติศาสตร์เบ็ตเตล็ด รวมบทนิพนธ์ “เสาหลักทางวิชาการ ของ
ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ : มติชน.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2548). สังคมไทยในสังคมโลกก่อน พ.ศ. 2475 ใน ไทยกับสังคมโลก.
สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักพิมพ์ต้นฉบับ. (2550). พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ฯ.
กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้ง จำกัด.
ไพฑูรย์ มีกุศล. (2515). การปฏิรูปการปกครองมณฑลอีสานสมัยที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ทรงเป็นข้าหลวงใหญ่ พ.ศ. 2436 – 2453.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สาขาประวัติศาสตร์) วิทยาลัยวิชาการ
ศึกษาประสานมิตร 30 สิงหาคม 2515.
ไพฑูรย์ มีกุศล. (2528). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยต้น. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาสารคาม.
ไพฑูรย์ มีกุศล. (2542). “จตุรพักตร์พิมาน, เมือง” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน
เล่ม 3. จัดพิมพ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5
ธันวาคม 2542.
ไพฑูรย์ มีกุศล. (2545). แนวคิดแนวทางในการศึกษาสังคมและประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ :
จตุพรดีไซน์”
พลตรี หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี. (2556). การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยเชิง
วิเคราะห์ : สถาบันพระมหากษัตริย์ในบริบทสังคมไทย. ปาฐกถาชุด “สิรินธร”
ครั้งที่ 28 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. (2504). สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์. พระนคร :
โรงพิมพ์เทพไพศาล.
หอสมุดแห่งชาติ. (2513). ราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา. พระนคร ; แพร่พิทยา.
หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว. ปฐม คเณจร). (2506). “พงศาวดารมณฑลหัวเมืองอีสาน”
ใน ประชุมพงศาวดาร ภาค 4 เล่ม 3, องค์การค้าของคุรุสภา.
วีณา มโนพิโมกษ์. (2520). ความขัดแย้งภายในคณะราษฎร. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร
มหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมาลี บำรุงสุข. (2545). “การเผชิญกับจักรวรรดินิยมและการปรับปรุงบ้านเมือง”
ใน ประวัติศาสตร์ไทย หน่วยที่ 7. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.