แนวโน้มและทิศทางการศึกษาภูมิศาสตร์กายภาพในอนาคต

Main Article Content

นาถนเรศ อาคาสุวรรณ

บทคัดย่อ

 บทความวิชาการเรื่องแนวโน้มและทิศทางการศึกษาภูมิศาสตร์กายภาพ
ในอนาคตมุ่งเน้นอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของศาสตร์ทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทและสถานการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน โดยผู้เขียนได้ใช้ประสบการณ์ในการสอนและการออกภาคสนามรวมถึงการศึกษาค้นคว้าข้อมูลให้ครบถ้วนมากที่สุดและนำมาถ่ายทอดในรูปแบบบทความวิชาการเพื่อให้เข้าใจง่าย และเพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ในการศึกษาด้านภูมิศาสตร์กายภาพโดยภูมิศาสตร์กายภาพเป็นศาสตร์ที่มีพื้นฐานมาจากการสร้างองค์ความรู้ที่ต้องอาศัยความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างกันของธรรมชาติ เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นเนื้อหาของภูมิศาสตร์กายภาพจึงนับว่าเป็นเนื้อหาที่เกิดจากการสังเคราะห์ความรู้ที่มาจากความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์บนโลกผู้ที่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ธรรมชาติบนโลกจะสามารถปรับตัวต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก อีกทั้งยังสามารถเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในภูมิศาสตร์กายภาพจะสามารถสร้างองค์ความรู้ให้กับตนเองด้านความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ดี และเกิดการพัฒนาเพื่อนำไปสู่ทักษะในการที่จะนำความรู้ทางภูมิศาสตร์กายภาพไปใช้ประโยชน์ในการตีความเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกเพื่อแก้ไขสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้เป็นไปได้ด้วยดี

Article Details

How to Cite
อาคาสุวรรณ . . น. . (2020). แนวโน้มและทิศทางการศึกษาภูมิศาสตร์กายภาพในอนาคต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 12(2), 198–218. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/216068
บท
บทความวิชาการ

References

กนก จันทร์ทอง. (2541). สิ่งแวดล้อมศึกษา: ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 3).

ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์

ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

Alam, S. (2011). Secondary Geography for Classes IX-X. Bangladesh:

National Curriculum and Textbook Board.

Brenner, N. (2019). mobilities, social and spatial. Los Angeles: University of

California.

Meteorological Department. (2014). Meteorological knowledge. [online].

Retrieved from http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=1 [2562,

April 15].

Murphy, D. (2019). The Future of Disaster Preparedness: How big events

create big job opportunities. Massachusetts: Northeastern University.

Pasqui, M. (2020). Climate change, future warming, and adaptation in

Europe. Animal Frontiers, 9(1), 6 - 11.

Pipkin, B.W., Trent, D.D., & Hazlett, R. (2005). Geology and the environment

(4th ed.). California: Thomson Learning.

Smithson, P., Addison, K., & Atkinson, K. (2008). Fundamentals of the

Physical Environment (4th ed.). New York: Routledge.

Thrift, N. (2014). The future of geography. Geoforum, 33(3), 291 - 298.

Wendy, G. (2019). The Geography of Geography. Massachusetts: Harvard

University.