รูปแบบการบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะในการป้องกันอุทกภัย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ปุณยวีร์ หนูประกอบ
วิยุทธ์ จํารัสพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการณ์ในการบริหารจัดการ
ความร่วมมือภาคสาธารณะในการป้องกันอุทกภัย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศึกษากระบวนการความร่วมมือและปัจจัยที่ทำให้ความร่วมมือภาคสาธารณะประสบความสำเร็จต่อการป้องกันอุทกภัย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อค้นหารูปแบบการบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอุทกภัย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน คือ ตัวแทนผู้นำทั้งจากองค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนและภาคประชาสังคม มีเครื่องมือที่ใช้ คือ ในการรับข้อมูลแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะในการป้องกันอุทกภัยในอำเภอสมุยในปัจจุบันมีการใช้กรอบการบริหารจัดการภายใต้ 3 ด้าน คือ โดยสรุปแต่ละภาคส่วนได้ ดังนี้ คือ (1) ภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สรุปองค์ประกอบที่สำคัญใน
การบริหารความร่วมมือที่เป็นจุดเด่น ส่วนภูมิภาค คือ มีงบประมาณ มีเครื่องมือมีพลังในการขับเคลื่อน และมีความรู้ วิธีการบริการจัดการ และจุดอ่อน คือ ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มีการรอข้อมูลจากการสั่งการกว่าจะขับเคลื่อนแต่ละครั้งต้องใช้เวลา และขาดการสื่อสารที่ชัดเจน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาลนครเกาะสมุย มีพลังในการขับเคลื่อน มีการจัดการ มีอุปกรณ์ งบประมาณช่วยเหลือ และการสร้างภาคีเครือข่าย และจุดอ่อน คือ รอคำสั่งจากส่วนภูมิภาค ขาดบุคลากรที่เข้ามาช่วยเหลือและขาดการสื่อสารที่ทั่วถึงประชาชน (2) ภาคประชาชน สรุปองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารความร่วมมือที่เป็นจุดเด่น คือ มีความร่วมมือเกิดพลังขับเคลื่อน และมีเครือข่ายในการขอความช่วยเหลือ และจุดอ่อน คือ ขาดอุปกรณ์ ไม่มีงบประมาณ ไม่มีการช่วยเหลือในการพึ่งพาตนเอง รอภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือเนื่องจากขาดความรู้ ไม่มีการจัดเก็บข้อมูล และไม่มีข้อมูลหรือความพร้อมในการสื่อสาร และ (3) ภาคประชาสังคม สรุปองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารความร่วมมือที่เป็นจุดเด่น คือ มีบุคลากร เครือข่ายที่แน้นแฟ้น มีเครื่องมือที่ทันสมัย จัดตั้งงบประมาณด้วยตนเอง มีระบบการจัดเก็บข้อมูลด้วยตนเอง มีความรู้สามารถสร้างพลังแรงจูงใจและข่าวสารที่น่าเชื่อถือ มีการบริหารการจัดการ มีความสม่ำเสมอ และมีงบประมาณของตนเอง และจุดอ่อน คือ ไม่มีกำลังคนที่เพียงพอในการทำงาน
2) กระบวนการความร่วมมือที่ทำให้ความร่วมมือภาคสาธารณะประสบความสำเร็จต่อการป้องกันอุทกภัย มีทั้งหมด 7 กระบวนการ คือ (1) การกระตุ้นส่งเสริมความร่วมมือ (2) การกำหนดกรอบความร่วมมือ (3) การระดมความร่วมมือ (4) การสนธิความร่วมมือ (5) การเจรจา (6) การตกลงยอมรับ และ (7) การดำเนินการร่วม และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ มีทั้งหมด 5 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (2) ปัจจัยด้านการดำเนินงาน (3) ปัจจัยด้านความร่วมมือ (4) ปัจจัยด้านการสนับสนุน และ (5) ปัจจัยด้านทรัพยากร 3) รูปแบบการบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอุทกภัยที่ได้สังเคราะห์และพัฒนาขึ้นในเบื้องต้นนั้น ประกอบด้วย กระบวนการความร่วมมือ 4 กระบวนการ ได้แก่ (1) การกระตุ้นส่งเสริมความร่วมมือ (2) การกำหนดกรอบความร่วมมือ (3) การระดมความร่วมมือ และ (4) การสนธิความร่วมมือ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ มีทั้งหมด 5 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยสภาพแวดล้อม (2) ปัจจัยการดำเนินงาน และ (3) ปัจจัยด้านความร่วมมือ และรูปแบบความร่วมมือภาคสาธารณะมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ (1) รูปแบบการบริหารจัดการบนฐานแห่งขอบเขตภาระหน้าที่ (Jurisdiction - Based Management Model) (2) รูปแบบบริหารจัดการความร่วมมือแนวดิ่ง (Top - Down Model) (3) รูปแบบบริหารจัดการความร่วมมือแบบผู้ให้และผู้รับ (Donor - Recipient Model) และ (4) รูปแบบบริหารจัดการความร่วมมือตามความพอใจ (Contented Model) (Robert Agranoff & Michael McGuire, (2003)) และได้มีการนำเข้าสู่กระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จึงได้รูปแบบของการบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และได้มีการเสนอความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญอีก 2 ปัจจัย คือ (1) กระบวนการความร่วมมือเพิ่มขึ้น 3 กระบวนการ และ (2) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือ

Article Details

How to Cite
หนูประกอบ ป., & จํารัสพันธุ์ ว. . (2019). รูปแบบการบริหารจัดการความร่วมมือภาคสาธารณะในการป้องกันอุทกภัย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 11(2), 189–220. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/196315
บท
บทความวิจัย

References

Benjamin, C. E., Brechin, S.R., & Thoms, C. A. (2011). Special issue on networking nature: Newtwork forms of organization in environment governance. Journal of Natural Resources policy research, 3(3),211-340

Coppola, D.P. (2007). Introduction to International Disaster Management. Burlington: Butterworth Heinemann.

Cook, A. H. (2009). Toward an emergency response report card: Evacuating the response to the 35W bridge collapse. Journal of Homeland Security and Emergency Management, 6(1), p.154- 177.

Department of Disaster Prevention and Mitigation Ministry of Interior. (2002). Strategic Planning Department of Disaster Prevention and Mitigation Ministry of Interior. Workshop on 18-20 November 2002, At Disaster Prevention and Mitigation Training Institute Bang Phun, Pathum Thani Province. (In Thai)

Janssen, M., Lee J., Bharosa N., & Gresswell A. (2010). Advances in multi - agercy disaster management: Key elements indisaster research. Information systems frontiers. 12(1)

Jha, A. K., Bloch, R., &Lamond, J., (2012). Cities and flooding: A guide to intergraded urban flood risk management for the 21st century. Washington, DC: The World Bank Publication.

Harshada, P., Michael, P., & Wilson, R. J. (2011). Factor of collaborative working: A framework for a collaboration model. Applied Ergonomics, 43(2012), p.1-26.

International Institute for Sustainable Development, (2011). A daily report of the third session of the global platform for disaster risk reduction, 141(1). Retrieved from http://www.IISD. CA/YMD/GPDRR/2011/

Kamolvej, Tavida. (2006). The Integration of Intergovernmental coordination and Information Management in Response to Immediate Crises: Thailand Emergency Management. Doctoral Dissertation, University of Pittsburgh.

Kiesler, S., & Cummings, J. N. (2002). What do we know about proximity and distance in work groups? A legacy of research. In Hinds, P., Kiesler, S. (Eds.), Distributed Work (pp.57- 80). Cambridge, Eng: MIT Press.

Kriengsak Chareonwongsak. (2001). Network Management: Important strategies for success in educational reform. Bnagkok: Success Media. (In Thai)

McGuire, M. and Schneck, D. 2010. What if Hurricane Katrina Hit in 2020? The Need for Strategic Management of Disasters. Public Administration Review. p.201-207

Montri Sirijanchuan. (1997). Leadership in community development. Community Development Program. Department of Sociology, Faculty of Humanities and Social Sciences. Rajabhat Institute Chiang Mai. (In Thai)

Parker, S. K., & Wall, T. D. (1996). Job design and modern manufacturing. In Warr, P. (Ed.), psychology at work (pp.333-358). London: Penguin Books.

Petak, W. J. & Atkisson, A. A. (1982). Natural hazard risk assessment and public policy. New York: Springer-Verlag.

Ring, Peter Smith and Van de Ven, Andrew H. (1994). Cite in Thomson, Ann Marie. 2006. “Collaboration Processes : Inside the Black Box.” Public Administration Review. (December 2006) Special Issue: 20-32.

Robert Agranoff & Michael McGuire. (2003). Collaborative Public Management. Washington, D.C. Georgetown University Press.

Water Crisis Prevention Center. (2012). Documents for the determination of repeated flooding areas in the south. Department of Water Resources Ministry of Natural Resources and Environment. Bangkok. (In Thai)

Yates D. & Paquett S. (2011). Emergercy knowledge management and social media teachnologies: A case study of the 2010 Haitian earthqualee.