การศึกษารูปแบบการบริหารและแนวทางในการพัฒนาพื้นที่เกาะสมุย
Main Article Content
บทคัดย่อ
เกาะสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาลในแต่ละปี อย่างไรก็ตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง กลับได้ส่งผลกระทบทั้งต่อการจัดบริการสาธารณะ สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่น จึงจำต้องมีการศึกษาสภาพปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากประชาชนในพื้นที่เป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาทั้งหลายดังกล่าวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ วิถีชีวิตของชุมชน ตลอดจนความต้องการของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเกาะสมุยเป็นไปอย่างมีดุลยภาพและความยั่งยืนจากการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาที่สำคัญของพื้นที่เกาะสมุยจำแนกเป็น (1) สภาพปัญหาด้านรูปแบบการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย ปัญหาโครงสร้างและหน้าที่และอำนาจของเทศบาลนครเกาะสมุย ปัญหาด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ปัญหาด้านการประสานงานและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ และ (2) สภาพปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสาธารณูปโภค ได้แก่ทรัพยากรธรรมชาติถูกรุกล้ำทำลาย ปัญหาขยะ ระบบการบริหารจัดการเมืองที่มีการวางแผนมิติทางสังคมน้อย ความเป็นคนสมุยถูกทำลาย ความหนาแน่นของประชากร สภาวะเมืองท่องเที่ยวที่ไม่ยั่งยืน ปัญหาด้านไฟฟ้า การขาดแคลนน้ำ การคมนาคม ตลอดจนระบบบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาพื้นที่เกาะสมุยสามารถดำเนินการได้ในหลายด้าน
โดยการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยการยกสถานะให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่เรียกว่า “นครสมุย” พร้อมทั้งการแบ่งเขตพื้นที่ในการบริหารนครสมุย การปรับปรุงหน้าที่และอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะ การปรับปรุงเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ และการกำหนดมาตรการในการกำกับดูแล ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสามารถทำควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสาธารณูปโภคภายใต้แนวคิดการยกระดับให้นครสมุยเป็น “เมืองกินดีอยู่ดี” “เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” “เมืองท่องเที่ยวครบวิถี” และ “เมืองปลอดภัยน่าอยู่”
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
Committee on Local Administration, National Assembly. (2016). The Reform of the Form of Local Administration of Tourist Cities. Bangkok: Secretariat of the Senate. (In Thai)
Sub - committee on Public Participation and Transfer of Power to Special Local Authorities, Committee on Local Administration, National
Assembly. (2016). Summary Report on Problems of Koh Samui. Bangkok: Secretariat of the Senate. (In Thai)
Praipol Koomsub and others. (2008). Project on Developing Database of the Office of the National Economic and Social Development Council. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council. (In Thai)
Thongchai Wongchaisuwan and others. (2005). The Development of the Structure of Regional Administration. Bangkok: Office of the Public Sector Development Commission. (In Thai)
Somkit Lertpaithoon and others. (2003). A Study in Problems with Improving the Form of Administration and Development of Koh Samui. Bangkok: Department of Local Adminstration. (In Thai)
Interview
Ramnert Jaikhang (Interviewee) Pimchat Rossuthum and Punika Apirakkaisorn (Interviewer). Kohsamuimunicipality kohsamui district, Suratthani province. On 11th January 2018.