พุมเรียง : บริบทชุมชน ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบจากคำถาม 3 ประเด็น คือ 1) สาระของบริบทชุมชนพุมเรียงในภาวะการณ์การเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร 2) ฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรม อันเป็นจุดแข็งของชุมชนคืออะไร มีอยู่และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และ 3) ทั้ง 2 ประเด็นข้างต้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและความสงบสุขของชุมชนอย่างไร งานนี้ดำเนินการวิจัยในพื้นที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้ระเบียบวิจัยวิธีเชิงคุณภาพที่เน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการสำรวจพื้นที่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนา การจัดเวทีชุมชน การสนทนากลุ่ม เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดวิเคราะห์ชุมชน และทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ส่วนการสังเคราะห์ข้อมูลได้ผสมผสานข้อมูลจากการวิจัยแบบมีส่วนร่วมอย่างกลมกลืน เพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบเนื้อหาที่กำหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบทชุมชนพุมเรียงในด้านสภาพกายภาพนั้น พุมเรียงเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็น 1 ใน 3 ตำบลที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกสุด ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน ด้านประชากร ปัจจุบัน ประชากรในตำบลพุมเรียงมีจำนวนทั้งหมด 7,783 คน ด้านประวัติศาสตร์ พุมเรียงเคยเป็นเมืองท่าที่สำคัญในอดีตและเป็นศูนย์กลางของการปกครองในฐานะเป็นอำเภอหนึ่งที่มีความสำคัญ ด้านสังคมวัฒนธรรมของชาวพุมเรียงโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิมและชาวไทยเชื้อสายจีนให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสอีกทั้งมีความใกล้ชิดกับวัดและมัสยิดอย่างยิ่ง ด้านเศรษฐกิจ/อาชีพแต่เดิมประกอบอาชีพหลัก คือ ทำนา และการประมง ต่อมาเมื่อระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเข้ามา จึงมีการทำนากุ้ง และทำสวนปาล์มน้ำมันกันอย่างกว้างขวาง ด้านการเมืองการปกครอง/โครงสร้างอำนาจ พุมเรียงได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 วัฒนธรรมการปกครองเชิงอำนาจอันเกี่ยวข้องกับระบบอุปถัมภ์หรือระบบพรรคพวก ด้านการพึ่งพาตนเองของชุมชน ชุมชนพุมเรียงดำรงชีวิตด้วยวิถีการผลิตทางเกษตรและการประมงที่พึ่งพาตนเองทั้งแรงงานและผลผลิต ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจุบันการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของตำบลพุมเรียงเกี่ยวกับการประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การศึกษาและการสาธารณสุขได้พัฒนาให้ดีขึ้นตามลำดับ ด้านสภาพชุมชน จากการที่ลักษณะพื้นที่ของตำบลพุมเรียง เป็นที่ราบที่ราบลุ่ม และมีที่ดอน สภาพดังกล่าวทำให้การตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนสัมพันธ์อยู่กับสภาพพื้นที่คือกระจายตัวอยู่ใน 5 หมู่บ้าน ด้านสภาพปัญหาของชุมชนตำบลพุมเรียง ปัจจุบันปัญหาหลัก ๆ ที่พบ ได้แก่ ปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นที่สาธารณะ ปัญหาด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และปัญหาด้านยาเสพติด
ด้านฐานเศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติประกอบด้วยทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ และพืชสัตว์เศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีความอุดสมบูรณ์แต่ปัจจุบันลดน้อยลง ทรัพยากรบุคคลแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นกำลังการผลิต กลุ่มผู้คนวัยพึ่งพิงและกลุ่มวัยศึกษาเล่าเรียน สำหรับภูมิปัญญาและศาสตร์ชาวบ้าน หากจำแนกตามการใช้ประโยชน์ ได้แก่ ภูมิปัญญาเพื่อการยังชีพ เพื่อการพิทักษ์ชีวิตและและทรัพย์สิน เพื่อสร้างฐานะและอำนาจ เพื่อการจัดการสาธารณประโยชน์ และเพื่อการสร้างสรรค์พิเศษ ภูมิปัญญาดังกล่าวในปัจจุบันของพุมเรียงดำรงอยู่ใน 3 ลักษณะ คือ พ้นสมัย สมสมัย และควรต่อยอด ส่วนศาสตร์และเทคโนโลยีจากภายนอกในปัจจุบันพบว่า ด้านอุตสาหกรรม ตำบลพุมเรียงได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานกับแรงคนทำให้ผลผลิตมีปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะการทอผ้า การทำประมง และการแปรรูปอาหาร ด้านสุขภาวะของผู้คนและชุมชนของชาวพุมเรียงในปัจจุบันต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ ด้านที่มีผลต่อสุขภาพชีวิตและทรัพย์สินเช่น ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และปัจจัยเสี่ยงด้านการสัญจร ส่วนปัจจัยและข้อจำกัดเกี่ยวกับการขยายฐานทางเศรษฐกิจของตำบลพุมเรียงครอบคลุมใน 3 ประเด็น คือ 1) ปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับการคมนาคม การสาธารณูปโภคและการสาธารณสุข 2) อำนาจและฐานอำนาจ และ 3) แหล่งอบายมุขและสิ่งเสพติดซึ่งปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการขยายฐานทางเศรษฐกิจ
ด้านทุนทางวัฒนธรรมอันรวมถึงวัฒนธรรมการเรียนรู้ วัฒนธรรมการทำงานวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภค จิตสำนึกต่อท้องถิ่นและจิตสาธารณะของผู้คน จริยธรรมและธรรมาภิบาล รวมถึงวิถีพลังวัฒนธรรมเชิงรูปลักษณ์และจิตลักษณ์ของคนในตำบลพุมเรียงปัจจุบันพบว่า ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแทบทั้งสิ้นซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศสมัยใหม่ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้เข้ามาทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมในการดำรงชีวิต รวมทั้งจิตสำนึก จิตสาธารณะ จริยธรรมและธรรมาภิบาลของผู้คน ผู้คนในชุมชนพุมเรียงสมัยนี้ตกอยู่ใต้อำนาจของกระแสโลกาภิวัตน์ ไม่มีความภาคภูมิใจต่อความเป็นชุมชน ต่อฐานเศรษฐกิจและทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนว่าเป็นทุนที่มีคุณค่า ขาดจิตสำนึกร่วมในการรวมกลุ่มเพื่อต่อต้านสิ่งที่ไม่ดีต่อชุมชนและขาดจิตสำนึกร่วมในความมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูรักษาสิ่งที่ดีงามที่ยังหลงเหลืออยู่ในชุมชนให้คงอยู่ดังเดิม
คำสำคัญ : พุมเรียง, บริบทชุมชน, ฐานเศรษฐกิจ, ทุนทางวัฒนธรรม
Article Details
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
cultural capital of aphur Praseang Suratthani Province. Report of
perfect research Suratthani Rajbat University.
Kornchulee Sungkaew and Kamrai. (2552-2553). Economic Base and
cultural capital of aphur Donsak Suratthani Province. Journal of
Humanities and Social Scieces Suratthani Rajbat University, 2nd year,
70-75.
Janjira Kuaduang. (2548). Conservation of Phumreang Old Urban
Community, Suratthani Province. Degree of Master of Urban and
Regional Planning Program in Community Planning Department of
Urban and Regional Planning Faculty of Architecture Chulalongkorn
University.
Chon Phetkeaw and Groups. (2556). Economic Base and social
capital of aphur Chaiya Suratthani Province. Bangkok : Pappim
Limited Partnership.
Foundation of Thai Cultural’s Encyclopedia. (2542). Encyclopedia of Thai
Culture in South volume 11. Bangkok : Siam Press Management
Limited Company.
Sakorn Rakbamrung and Groups. (2553). Economic Base and
cultural capital of community in aphur Praseang
Suratthani Province. Report of perfect research Suratthani
Rajbat University.
Somchat Phiutongngam and Groups. (2560). Phumriang : Community’s
context Economic Base and cultural capital of community.
Report of perfect research Suratthani Rajbat University.
Suthivong Pongpiboon. (2542). “Folk Wisdom in South” in South Culture’s
Encyclopedia Volum 12 Foundation of South Cultural Encyclopedia
Thai Commercial Bank.
. (2552). Economic Base and Cultural Capital. Copy Document.
Akawit NA Talang. (2544). South’s Folk Wisdom. (2nd edition). Bangkok :
Amarin Printing and Publishing Limited Company (Public).