ดร. พัฒนาการบทบาทของภาษาอังกฤษ ในนโยบายการเรียนการสอนภาษาของไทย

Main Article Content

ภีมพสิษฐ์ เตชะราชันย์

บทคัดย่อ

บทความนี้จึงมุ่งศึกษาบทบาทที่เพิ่มขึ้นของภาษาอังกฤษที่สะท้อนอยู่ในนโยบายการเรียนการสอนภาษาของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยพิจารณาจากข้อกำหนดต่าง ๆ ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีการวางแนวทางหรือกำหนดไว้ในนโยบายการเรียนการสอนภาษา


สมัยรัชกาลที่ 3-4 ภาษาอังกฤษอยู่ในฐานะภาษาต่างประเทศที่ไม่ได้บังคับเรียนอย่างภาษาบาลีหรือภาษาขอม โดยผู้ที่เลือกเรียนจำกัดอยู่ในกลุ่มเจ้านายและขุนนางชั้นสูง ระยะที่สอง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ผลของการปฏิรูปการศึกษาทำให้เกิดโรงเรียนที่สอนเฉพาะภาษาอังกฤษขึ้น ภาษาอังกฤษได้รับการบรรจุในหลักสูตรให้เป็นวิชาภาษาต่างประเทศหนึ่งและถูกกำหนดให้มีการสอบในพระราชบัญญัติการสอบร่วมกับวิชาภาษาไทย ระยะที่สาม ภาษาอังกฤษถูกระบุให้เป็นวิชาภาษาต่างประเทศที่ 1 ที่แยกออกจาก “ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ” ในปี พ.ศ. 2539 และถูกกำหนดให้เป็นภาษาต่างประเทศที่ต้องเรียนในทุกช่วงชั้นในปี พ.ศ. 2544 และใน ระยะที่สี่ ภาษาอังกฤษได้ทวีบทบาทขึ้นสูงสุดเหนือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ โดยในการกำหนดวิสัยทัศน์อนาคตประเทศไทย พ.ศ. 2570 มีการเสนอแนวทางการใช้ภาษาอังกฤษเป็น “ภาษาที่สอง” ของประเทศไทย บทบาทของภาษาอังกฤษที่ทวีขึ้นอย่างต่อเนื่องในนโยบายการเรียนการสอนภาษาของไทยแต่ละสมัย สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษที่เพิ่มขึ้นจนไล่ตามภาษาไทยซึ่งมีบทบาทในฐานะภาษาประจำชาติ


 


 


 


 

Article Details

How to Cite
เตชะราชันย์ ภ. (2018). ดร. พัฒนาการบทบาทของภาษาอังกฤษ ในนโยบายการเรียนการสอนภาษาของไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 10(3), 121–139. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/149500
บท
บทความวิชาการ