เครือข่ายความหมาย ‘นอก’ ในภาษาไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์เพื่อหาเครือข่ายความหมาย ของคำว่า นอก ตามแนวคิดทางอรรถศาสตร์ปริชาน ผลการศึกษาพบว่าในทางวากยสัมพันธ์ คำว่า นอก สามารถปรากฏเป็นคำมูล ซึ่งจัดเป็น คำนาม และคำบุพบท นอกจากนี้ยังสามารถปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคำจำเฉพาะที่จัดเป็นคำเชื่อมประโยค และ คำกริยา ในทางอรรถศาสตร์ คำว่า นอก สามารถแสดงความหมายได้ 4 ความหมาย ซึ่งแบ่งออกเป็นความหมายต้นแบบและความหมายขยาย ความหมายต้นแบบ คือ 1) ความหมายแสดงส่วนของวัตถุที่ไม่ได้อยู่ภายใน และความหมายขยาย 2) ความหมายแสดงพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ภายใน 3) ความหมายต่างประเทศ 4) ความหมายการไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งขยายไปสู่ความหมายขยายอีก 3 ความหมาย ได้แก่ 4.1) ความหมายของการสร้างสรรค์ 4.2) ความหมายของการไม่ได้เป็นสมาชิก 4.3) ความหมายของการไม่ซื่อสัตย์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
จรัสดาว อินทรทัศน์. (2539). กระบวนการที่คำกริยากลายเป็นคำบุพบทในภาษาไทย.
วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นววรรณ พันธุเมธา. (2549). ไวยากรณ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
นันทนา วงษ์ไทย. (2562). อรรถศาสตร์ปริชานเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:
บริษัท เวิร์ค ออล พริ๊นท์
Brugman, C. M. and Lakoff, G. P. (1988). Cognitive Topology and Lexical
Networks. Lexical Ambiguity Resolution. Palo Alto: Morgan
Kaufman.
Brugman, C. M. (1988). The Story of Over: Polysemy, Semantics and the
Structure of the Lexicon. New York: Garland.
Coventry, K.R., Michael, R.C. and Garrod, S.C. (1994). Spatial Prepositions,
Object-Specific Function, and Task Requirements. Journal of
Semantics, 11, 289-239.
Evans V., and Green M.J. (2006). Cognitive Linguistics: An Introduction.
Edinburgh: Edinburgh University.
Garrod, S.C. and Sanford A.J. . (1982). The Mental Representation of Discourse
in a Focused Memory System: Implications for the Interpretation of
Anaphoric Noun Phrases. Journal of Semantics, 1(1), 21-41.
Lakoff, G.P. and Johnson M.. (1980). Metaphors We Live By. Chicago:
University of Chicago.