การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองของเกษตรกรชาวไรและไร่มันสำปะหลังอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง และสร้างครอบครัวแกนนำการเปลี่ยนแปลงที่สามารถพึ่งตนเองได้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรอาสาสมัครจำนวน 300 คนเจาะจงเฉพาะผู้ที่เข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรเกษตรกรผู้เปลี่ยนชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการดำเนินชีวิตภายใต้แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้โปรแกรม LISREL ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลภาคสนามโดยสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเฉพาะกับเกษตรกรแกนนำ 20 ครอบครัวที่เข้าร่วมขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า
1. การเพิ่มศักยภาพในการทำการเกษตรตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้พัฒนาคู่มือให้ความรู้หลักสูตรเกษตรกรผู้เปลี่ยนแปลงชีวิตที่เน้นให้เข้าใจวงจรชีวิตในไร่อ้อยและมันสำปะหลัง การวิเคราะห์ต้นทุนการดำรงชีวิตและการทำเกษตร ลดการพึ่งพาอาหารจากภายนอกตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า โมเดลสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ ผลการทดสอบค่าไคสแควร์เท่ากับ 46.81 (P=0.924)
2. การเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีครอบครัวเกษตรกรแกนนำ 20 ครอบครัว ได้ผ่านการประเมินและออกแบบพื้นที่ในบริเวณบ้านสร้างแหล่งอาหาร และขยายผลจัดสรรพื้นที่ไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลัง สามารถลดรายจ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบปรุงอาหารอาหารเฉลี่ยอาทิตย์ละ 54 บาท และมีรายได้เพิ่มเฉลี่ยอาทิตย์ละ 150 บาท
3. การสร้างครอบครัวแกนนำการเปลี่ยนแปลง 20 ครอบครัวที่สามารถพึ่งตนเองในด้านความมั่นคงทางอาหารบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีครอบครัวแกนนำได้ผ่านการประเมินการเปลี่ยนแปลง เกิดการร่วมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ภูน้ำหยด เกิดนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตเกษตรกร 4 นวัตกรรม ประกอบด้วย 1) บัญชีครัวเรือนและสมุดต้นทุนประกอบอาชีพ 2) แผนผังพื้นที่อาหารของครอบครัว 3) เครือข่ายเกษตรกรในชุมชน 4) ศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์นายยศ และ 5) มีศูนย์ถ่ายทอดความรู้และแบ่งปันเมล็ดพันธุ์แก่เกษตรกร คือ ไร่พุทธานิเวศน์ภูน้ำหยด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Department of Community Development, Ministry of Interior. (2019). Factors Affecting the Success of Community Livelihood Development: A Study Report. Bangkok: Department of Community Development, Ministry of Interior.
Kemmis, & McTaggart, R. (1988). The Action research planner, 3rd ed. Geelong: Deakin University, Australia.
Nantanée Klomsiripichaiporn. (2006). Sustainable Development. Chanthaburi: Faculty of Humanities and Social Sciences, Rambhai Barni Rajabhat Institute.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). 2018 Annual Report of the Office of the National Economic and Social Development Council. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Council.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2002). Strategic Framework for Poverty Alleviation 2002-2006. Bangkok: Office of the Prime Minister.
Phra Maha Boonlert Chuaythani. (2003). Cultural Changes in Rice Farming among Farmers in Suphan Buri Province: A Case Study of Bang Ta Thon Subdistrict, Song Phi Nong District, Suphan Buri Province. Master's Thesis in Arts (Social Development), National Institute of Development Administration.
Phra Maha Prakasit Thitipasitthikon. (2019). Fundamental Concepts for Administration and Development. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.
Rathapong Bunyanuwat. (2011). The Application of the Sufficiency Economy Philosophy in the Daily Lives of People in Dusit District Communities, Bangkok. Suan Sunandha Rajabhat University: Bangkok.
Swang Rattanamongkolmas. (1991). Social Science Theory. Bangkok: Institute Development Scholars Association, National Institute of Development Administration.