แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุผ่านกิจกรรมการลดความเหลื่อมล้ำในเขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ภัสร์ชนกพรรณ อนุชาติไชย
อนันต์ ธรรมชาลัย
ยินดี แก้วช่วย
ณัฐวุฒิ หอมมาก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการมีส่วนร่วมในพัฒนาสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และ 2) วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุผ่านกิจกรรมการลดความเหลื่อมล้ำในเขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยเก็บข้อมูลกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น คณะผู้บริหารศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ประธานมูลนิธิข้างเตียงเคียงกัน คณะกรรมการประจำศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และสมาชิกศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ รวม 5 กลุ่ม 454 คน ด้วยเครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตการมีส่วนร่วม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยข้อมูลเชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันมีการขับเคลื่อนนโยบายและแผนในการดูแลผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการในด้าน การให้บริการด้านสาธารณสุข การสร้างหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า การส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรค ส่งเสริมการแพทย์แผนไทย การพัฒนาสังคมคุณภาพชีวิต การมีอาสาสมัครสาธารณสุข การจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ การสร้างศูนย์การแพทย์บึงยี่โถ เฟส 2 ขยายการรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน โรคไต
2. แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุผ่านกิจกรรมการลดความเหลื่อมล้ำประกอบด้วย การเข้าร่วมกิจกรรม การจัดกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการ การสนับสนุนการเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ และ การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สาธารณะสุขจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สามารถนำผลการวิจัยไปประกอบการกำหนดนโนยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้ต่อไป

Article Details

How to Cite
อนุชาติไชย ภ., ธรรมชาลัย อ., แก้วช่วย ย., & หอมมาก ณ. (2024). แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมผู้สูงอายุผ่านกิจกรรมการลดความเหลื่อมล้ำในเขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(3), 1404–1420. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.84
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2547). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. เจเอส.

ฐานิกา ไขสูงเนิน. (2566). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566, จาก https://anyflip.com/apkaz/xcqk/

ทวีศักดิ์ หล้าภูเขียว. (2547). การได้รับการดูแลจากครอบครัวของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองหิน กิ่งอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย].

เทศบาลเมืองบึงยี่โถ. (2543). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาเทศบาลเมืองบึงยี่โถประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566, จาก https://buengyitho.go.th/public/list/ data/detail/id/2230/menu/1196/page/1/catid/7

เทศบาลเมืองบึงยี่โถ. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่นแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570). สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.buengyitho.go.th/public/list/data/

สุภาภรณ์ เตโชวาณิชย์. (2550). แนวคิดของการให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม แก่ผู้สูงอายุ ณ ศูนย์สุขภาพชุมชน ในเขตจังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561, จาก http://advisor.anamai.moph.go.th/274/27404.html

Cohen, J. M. and Norman, T. U. (1980). Participation’s Place in Rural Develop: Seekingclarity Through Specificity. World Development.

Muangkaew, P., Leaudnakrob, N. and Leaudnakrob, N. (2021). Model of Driving Care for Bedridden Older Patients in the Suburban Area: A Case Study in Phitsanulok Province. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 13(2), 30-44.

Pongsaengpan, P. and Rodjarkpai, Y. (2014). Community Participation on Elderly Health Promotion in Eastern Thailand. The Public Health Journal of Burapha University, 9(2), 13-20.

Pumprawai, A. and Siengsanau, J. (2017). Using Community Participation to Improve Health Promoting Behaviors among Older Adults. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 160-175.