การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดภาพ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบ รายวิชาศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลาซาลกรุงเทพ

Main Article Content

ธนพนธ์ ครองสระน้อย
สุกัญญา บุญศรี
สมชาติ บุญศรี

บทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดภาพด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบเป็นกระบวนการศึกษาที่เน้นการส่งเสริมทักษะคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหา ส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดภาพหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบ ในรายวิชาศิลปะ ของนักเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70
2) เปรียบเทียบทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดภาพของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบ และกลุ่มที่ได้การจัดการเรียนรู้แบบปกติการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน โดยแบ่งเป็นห้องที่สอนแบบแนวคิดเชิงออกแบบ กับห้องที่สอนปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบในรายวิชาศิลปะ และ 2) แบบประเมินทักษะวาดภาพความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย t-test (one sample และ Independent) ผลการวิจัยเผยให้เห็นว่า
1. ผลการเปรียบเทียบทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดภาพหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลการเปรียบเทียบทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดภาพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาผลของการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดภาพด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบ พบว่านักเรียนมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดภาพสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบมีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดภาพ ส่งเสริมให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี

Article Details

How to Cite
ครองสระน้อย ธ., บุญศรี ส., & บุญศรี ส. (2025). การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการวาดภาพ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงออกแบบ รายวิชาศิลปะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลาซาลกรุงเทพ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 9(1), 477–492. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/277549
บท
บทความวิจัย

References

Bunjong, V., and Khayankij, S. (2014). Effects of organizing art experiences by integrating design thinking approach on kinderarteners’ creatity. An Online Journal of Education, 9(1), 728–741.

Guilford. (1990). Modern Criticism and Theory. Longman.

Inthakamhaeng, A. (2009). Correct thinking. Behavioral Science Research Institute. Srinakharinwirot University.

Penrattanahiran, R. (2022). The development of guidance activities based on the design thinking approach to enhance learning and innovation skills (4Cs) of primary school students. NRRU Community Research Journal, 16(2), 94-107.

Phulkhetkit, S. (2020). Development of learning activities using design thinking. To enhance skills in creativity and innovation For Mathayom 6 students [Independent study, Master of Education degree. Department of Curriculum and Teaching, Naresuan University].

Rojsangrat, P., Pichayapaiboon, P., and Suwannatthachote, P. (2020). Development of an Instructional Model Using Design Thinking Approach to Create Thai Identity Products for Undergraduate Students. Journal of Education Studies, 48(3), 258-273.

Stanford d.school. (2024, November 22). Design Thinking Bootcamp Bootleg. HuffPost. https://static1.squarespace.com/static/57c6b79629687fde090a0fdd/t/58890239db29d6cc6c3338f7/1485374014340/METHODCARDS-v3-slim.pdf

Tabtom, J., and Po Ngern, W. (2022). The development of learner development activities on Thai song Dam patterns using design thinking place–based education in Ban Nong Ri community, Bo phloi district, Kanchananaburi province to promote the innovator for high school students. Journal of Education Silapakorn University, 20(1), 218-240.