การจัดการเพื่อความสำเร็จของโครงการเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของโครงการเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย โดยจำแนกตามคุณลักษณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เพื่อศึกษาการจัดการองค์กรที่ส่งผลต่อระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย 4) เพื่อแนวทางการจัดการเพื่อความสำเร็จของโครงการเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างใช้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญโครงการเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย จำนวน 20 คน และผู้แทนระดับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 400 แห่ง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณเชิงพหุ
ผลการวิจัย พบว่า 1) โครงการเมืองอัจฉริยะยังไม่สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีความเหลื่อมล้ำด้านงบประมาณ การดำเนินการซ้ำซ้อน มีความคลุมเครือเรื่องสิทธิประโยชน์ การลงทุน และแหล่งทุน การจัดเก็บ และการบริหารข้อมูลขาดที่ปรึกษา และบุคลากรที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ผ่านการรับรองให้เป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย 2) การปฏิบัติการจัดการองค์กร และระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย มีระดับการปฏิบัติในระดับน้อย และคุณลักษณะขององค์กรปกครองท้องถิ่นแตกต่างกันมีระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การจัดการองค์กรที่ส่งผลต่อระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย ได้แก่ การให้คำปรึกษา การจัดการงบประมาณ การรายงาน การวางแผน การควบคุมสั่งการ และการจัดการด้านบุคลากร 4) แนวทางการจัดการเพื่อความสำเร็จของโครงการเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย ได้แก่ 1. ภาครัฐออกข้อกำหนดให้ทุกพื้นที่เป็นเมืองอัจฉริยะ 2. ภาครัฐจัดตั้งที่ปรึกษามาดูแลองค์กรปกครองท้องถิ่น 3. ภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำแผนแม่บทโครงการเมืองอัจฉริยะแบบระยะยาว และ 4. ภาครัฐแต่งตั้งคณะกรรมการ ปรับโครงสร้างการบริหารงานให้สอดคล้องกับโครงการเมืองอัจฉริยะในระดับสากล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Allam, Z. (2020). Urban Governance and Smart City Planning: Lessons from Singapore. Emerald Publishing Limited. United Kingdom. https://www.emerald.com/insight/publication/doi/10.1108/
Brahmakappa, A., Pumturian, S., Nuaamnat, R., & Soonthondachar, J. (2020). The development of knowledge and community components of Smart Community for community in Thai society. Research report. Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Nakhon Sawan. http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/670
Calzada, L. (2020. October 23). Smart City Citizenship. University of Oxford. United Kingdom. https://www.sciencedirect.com/book/9780128153000/smart-city-citizenship.
Charoennetkul, C. (2021). Potential Development of Urban Area and Infrastructure to Support Smart City Strategy in Songkhla Municipality. Faculty of Engineering research report Rajamangala University of Technology Srivijaya. Songkhla. https://riss.rmutsv.ac.th/upload/doc/202209/Dw7g
B4HsDqT3pMPX1hrN/Dw7gB4HsDqT3pMPX1hrN.pdf
Digital Economy Promotion Agency. (2021, August 18). Smart city promotion. https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan/smart-city-office.
Gulick, L., & Urwick, L. (2003). The Early Sociology of Management and Organzation. Paper on the Science of Administration. New York. https://www.taylorfrancis.com/books/edit/10.4324/978020
/papers-science-administration-luther-gulick-urwick
Kanagachidambaresan, G. R. (2020, July 15). Role of Edge Analytics in Sustainable Smart City Development: Challenges and Solutions. Publishing LLC. https://onlinelibrary.wiley.com/doi/book
/10.1002/9781119681328.
Kim, S. C., Hong, P., Lee, T., Lee, A., & Park, S. H. (2022). Determining Strategic Priorities for Smart City Development: Case Studies of South Korean and International Smart Cities. Sustainability Journals. 14(16). https://www.mdpi.com/2071-1050/14/16/10001
King Prajadhipok's Institute. (2020, September 23). Situation report Decentralization 2019: Survey on smart city development of local government organizations. King Prajadhipok's Institute. Bangkok: https://www.kpi.ac.th/knowledge/book/data/1063.January 2024. https://www.kpi.ac.th/knowledge/book/data/1063.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement. https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/001316447003000308
Mesupnikom, N., Nugprachaya, O., Bunyavejchewin, P., & Sukthungthon, N. (2019. July–December). A Preliminary Comparative Study of Smart Cities Development in Japan and Thailand. International Journal of East Asian Studies. Thammasat University. 23(1): 328-351. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/easttu/issue/view/16526
Office of the Council of State. (2021. September). Smart city. https://lawforasean.krisdika.go.th/File/files
/Smart%20City.pdf
Thailand Smart City Office. (2019). Announcement of the Smart City Development Steering Committee No. 1/2019 regarding evaluation criteria and qualifications, methods, and processes for consideration as a smart city. https://www.depa.or.th/storage/app/media/file/Smart%20City%
-2562-02-final.pdf.
Thailand Smart City Office. (2019). Order of the Smart City Development Steering Committee No. 1/2019 regarding the establishment of the Thailand Smart City Office. https://www.depa.or.th
/storage/app/media/file/1557460186.pdf.
Wongkachonkitti, N. (2016. September–December). The policy of smart province in Thailand. Valaya Alongkorn Research and Development Journal under Royal Patronage Humanities and Social Sciences. 11(3): 365-377. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/view/74013