ประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฉีดยา ใต้ชั้นผิวหนังของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาล ใน 10 สถาบันการศึกษาพยาบาลเครือข่าย

Main Article Content

ชัชวาล วงค์สารี
ศศวรรณ อัตถวรคุณ
วัลยา ตูพานิช
องค์อร ประจันเขตต์
กันตพร ยอดใชย
จิณพิชญ์ชา สาธิยมาส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา R&D (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนังของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาลจาก 10 สถาบันการศึกษาพยาบาลเครือข่าย ตามกรอบแนวคิดของ “ADDIE Model” แบ่งการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ (Analysis) ประเมินความต้องการแก้ปัญหาการเรียนการสอน 2) การออกแบบ (Design) นวัตกรรมต้นแบบหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนังจากหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การพัฒนา (Development) หน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนัง 4) การนำไปใช้ (Implementation) โดยนักศึกษาและอาจารย์พยาบาล 5) การประเมินผล (Evaluation) การใช้นวัตกรรมหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนัง ในสถาบันการศึกษาพยาบาลเครือข่าย 10 สถาบัน ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 2) วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
3) คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ 4) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา 5) คณะพยาบาลศาสตร์แม่โจ้
6) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 7) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตปัตตานี
8) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 9) คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 10) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา คณะพยาบาลศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาและอาจารย์พยาบาลจาก 10 สถาบัน ได้แก่ นักศึกษา จำนวน 292 คน และอาจารย์พยาบาล จำนวน 102 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินประสิทธิภาพของหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนัง
2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ หน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนัง โดยเครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) ได้ค่าเท่ากับ .74 และการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (reliability) เท่ากับ .72 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดย SPSS version 26


ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพและความพึงพอใจด้านการใช้งานและการออกแบบของนวัตกรรมสื่อการสอนหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนังของนักศึกษาและอาจารย์พยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 (SD=0.44) และ 4.50 (SD=0.75) ตามลำดับ โดยพบว่าประสิทธิภาพและความพึงพอใจสูงสุดของนักศึกษาเป็นเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน และความไม่ยุ่งยากซับซ้อนมีความสะดวกต่อการใช้งาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 (SD=0.53) และ 4.67 (SD=0.59) ตามลำดับ เช่นเดียวกับอาจารย์พยาบาลที่มีผลประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจสูงสุดในเรื่องมีความปลอดภัยในการใช้งาน และไม่ยุ่งยากซับซ้อนมีความสะดวกต่อการใช้งาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 (SD=0.50) และ 4.63 (SD=0.60) ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เกิดนวัตกรรมสื่อการสอนที่สอดคล้องกับการใช้งานของนักศึกษาและอาจารย์พยาบาล ให้ความรู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้ และสามารถฝึกฝนทักษะได้เสมือนจริง เป็นการส่งเสริมความเป็นมาตรฐานทางวิชาชีพและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในอนาคต

Article Details

How to Cite
วงค์สารี ช. ., อัตถวรคุณ ศ., ตูพานิช ว., ประจันเขตต์ อ., ยอดใชย ก., & สาธิยมาส จ. (2024). ประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฉีดยา ใต้ชั้นผิวหนังของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาล ใน 10 สถาบันการศึกษาพยาบาลเครือข่าย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(4), 2236–2251. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/276835
บท
บทความวิจัย

References

Boromarajonani College of Nursing, SongKhla. (2023). Statistics of undergraduate students, academic year 2023 [Unpublished document]. Boromarajonani College of Nursing, SongKhla.

Boromarajonani College of Nursing, Yala. (2023). Statistics of undergraduate students, academic year 2023 [Unpublished document]. College of Nursing, Boromarajonani College of Nursing, Yala.

Faculty of Nursing, Maejo University. (2023). Statistics of undergraduate students, academic year 2023 [Unpublished document]. Faculty of Nursing, Maejo University.

Faculty of Nursing, North Bangkok University. (2023). Statistics of undergraduate students, academic year 2023 [Unpublished document]. Faculty of Nursing, North Bangkok University.

Faculty of Nursing, Thammasat University. (2023). Statistics of undergraduate students, academic year 2023 [Unpublished document]. Faculty of Nursing, Thammasat University.

Faculty of Nursing, Nakhon Pathom Rajabhat University. (2023). Statistics of undergraduate students, academic year 2023 [Unpublished document]. Faculty of Nursing, Nakhon Pathom Rajabhat University.

Faculty of Nursing, Prince of Songkla University, Pattani Campus. (2023). Statistics of undergraduate students, academic year 2023 [Unpublished document]. Faculty of Nursing, Prince of Songkla University, Pattani Campus.

Faculty of Nursing, Prince of Songkla University. (2023). Statistics of undergraduate students, academic year 2023 [Unpublished document]. The Faculty of Nursing, Prince of Songkla University.

Kruse, K. (2008). Instructional Design. http://www.cognitivedesignsolutions.com/Instruction/LearningTheory.htm/

Kuakarun Faculty of Nursing. (2023). Statistics of undergraduate students, academic year 2023 [Unpublished document]. Kuakarun Faculty of Nursing, Navamindradhiraj University.

Kumpunen, S., Suominen, T., Mikkonen, K. & Meretoja, R. (2020). The development and implementation of high-fidelity simulation scenarios: Nurses' experiences. Nurse Education Today, 87, 104342.

Laha W, Ninprapan A. The saitisfaction of user in the lsometric lge strength dynamoeter in sitting Position for field test. KKU Research Journal (Graduate Study), 18(2),32-43.

Langkarpint P. (2020). The use of high-fidelity patient simulation in teaching and learning for nursing students. Journal of Nurses Association of Thailand Northern Office, 22, 8-16.

Machara, C., Pheangphen, B., Mokkharat, P. & Phayadee, S. (2019). Development of the Innovation’s Model for Injection into Muscles of the Thigh and Blood Collection at the Heel of Neonates: Impact on Satisfaction among Nursing Students. Paper presented at The 4th National Conference, May 31, 2019, Ubon Ratchathani, Thailand. https://nursemis2.ratchathani.ac.th/file_re/0jTvVcSWed43154.pdf

Maneewong, S., Naktes, C., Puengsema, R. & Rungrojwattana, W., (2023). Instructional Model Using Simulation-Based Learning on Knowledge Self-Confidence and Practical Skills of Nursing Students Concerning Basic Surgical Procedures. Journal of Health and Health Management, 9(1), 209-223.

Nantsupawat, A., Sawasdisingha, P., Auephanwiriyakul, S., Yimyam, S.& (2022). The Development of an Intravenous Injection Arm Model. Nursing Journal CMU, 49(3), 311-323.

Prajankett, O., Prasittivejchakul, A. (2017). Development of The Prototype Model for Practicing Abdominal Examination. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(3), 44-50.

Rompiphat, S. (2022). Developing a model for intradermal injection and its effect upon performance skill and satisfaction levels of third-year nursing students. Thai Science and Technology Journal, 29(4), 688-700.

Siriwallop, R., Phalasri, A., Lalun, A., Khwathai, L. & Budsareechai, S. (2022). The Efficiency of the Latex Mannequin Helps Practice Uterine Contraction Assessment Skills in Nursing Students. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Surin, 12(2), 65-80.

Thawechai, P. & Inmuong, U. (2021). Development of Nursing Skill Training Models Using High-Fidelity Simulation to Enhance Competency of Nursing Students in Thailand. Nursing Journal, 48(2), 122-135.

The Royal Thai Army Nursing College. (2023). Statistics of undergraduate students, academic year 2023 [Unpublished document]. The Royal Thai Army Nursing College.

Wiratchai, N., & Oderuth, A. (2021). The Development of a Nursing Skills Training Model Using Simulation for Critical Care Nursing Students in Thailand. Nurse Media Journal of Nursing, 11(1), 27-38.

Yimyam, S. (2016). Developing Stimulation Model for Training Clinical Skill of Health Science Students. Nursing Journal, 43(2), 142-151.