ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงาน วิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร

Main Article Content

ดวงดาว มงคลสวัสดิ์
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา (2) ศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการ จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานวิชาการ และ(4) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 268 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าทีแบบเป็นอิสระ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
  ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) การบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพพบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่าโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานวิชาการมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (4) ตัวแปรภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ร่วมส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 70 
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ได้สารสนเทศเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์  ของผู้บริหารสถานศึกษา และเป็นข้อมูลในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
มงคลสวัสดิ์ ด., ศรีพุทธรินทร์ ส., & เขียวน้ำชุม จ. (2025). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงาน วิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 9(1), 438–460. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/275614
บท
บทความวิจัย

References

จินดา สรรประสิทธิ์ (2563). การพัฒนานวัตกรรมการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดทักษะภาวะผู้นำในอนาคต [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

จิรายุ ศรีสง่าชัย. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 [วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

ชณัฐ พรหมศรี. (2560). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่].

ฏิมากร บุ้นกี้. (2563). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี].

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. ตักสิลา.

ธนกร สร้อยสวรรค์ (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 48-60.

ธัชพงศ์ ชอุ่ม (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสำหรับสถานศึกษาเอกชนในบริบทสากล [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม].

ธนัฏฐา คุณสุข. (2565). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี].

ธริศร เทียบปาน. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].

บาเซล อับดุลวาฮับ (2564). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ [ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ].

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพค์รั้งที่ 10. สุวีริยาสาส์น.

ปิยธิดา ทาปลัด (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาบูรพา].

พรทิพย์ รอดพลอย. (2564). ภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม].

พิษณุ สมจิตร (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาราชภัฏร้อยเอ็ด].

พัชญ์พิชา จันทา (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].

เหมือนฝัน นันทิยกุล (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารโรงเรียน เอกชนสู่ความเป็นเลิศ ในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม].

มูฟีด วาโซะ. (2565). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด ปัตตานี. การบริหารการศึกษาและครุศาสตร์, 2(1), 38-48.

ลัลทริมา วาปีทะ (2563). ข้อเสนอเชิงนโยบายภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].

วริษา ฮวดศรี, กัญภร เอี่ยมพญา และ นิวัตต์ น้อยมณ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(1), 103-117.

วรีรัตน์ ฉิมน้อย (2562). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาตามแนวคิดคุณลักษณะพลเมืองคุณภาพในศตวรรษที่ 21 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สมชาย แก้วเจริญ (2562). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษา มศว.,16(31), 1-12.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 30(1), 183-193.

สุรศักดิ์ ลดาธนศักดิ์ (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในจังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2565.มุกดาหาร. https://www.sesaomuk.go.th/o12-65

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551. ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). บทวิเคราะห์การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์. (2563). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(3), 76.

Davies, B. J. and Davies, B. (2004). Strategic leadership. School leadership and Management, 24(1), 29 - 38.

Gill, R. (2006). Theory and practice of leadership. Sage.

Hitt, A. M. Ireland, D.R, and Hoskisson, E. R. (2005). Strategic Management. Thomson.

Hoy, W.K., & Miskel, C.G. (2001). Educational administration: Theory, research and practice (6th ed.). McGraw–Hall.

Lussier,Robert N. and Achua, Christopher F. (2010). Effective Leadership. 4th ed. Nelson Education Ltd.

Matthew lynch. (2012). A Guido to Effective School Leadership Theories. Refine Catch Limited, Bungay, Suffolk.

Sergiovanni, T. J., Kelleher, P., McCarthy, M. M., & Wirt, Fowler, F.C.(2009). Educational governanceand administration. (6th Edition). Pearson.