การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูผู้สอน ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาและเปรียบเทียบสมรรถนะครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลสมรรถนะครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 268 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าทีแบบเป็นอิสระ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) สมรรถนะครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่าโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4) ตัวแปรการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ร่วมส่งผลต่อสมรรถนะครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 โดยพยากรณ์ได้ร้อยละ 85
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ได้สารสนเทศเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการจัดการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2) ด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีและการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ 3) ด้านการส่งเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการประสานความร่วมมือภายในและภายนอก 4) ด้านการวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน และ 5) ด้านการวางแผนงานวิชาการ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ครูไทยในศตวรรษที่ 21 ต้องมีทักษะในการสอนที่จำเป็น อะไรบ้าง.https://tedth.com/post/what-teaching-skills-must-thai-teachers-ibthe-21st-century-have
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. คุรุสภา.
กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวันนต์ และวีระวัฒน์ อุทัยรัตน์. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47 (ฉบับเพิ่มเติม 1), 1-17.
ไกรพันธ์ พูลพันธ์ชู. (2561). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาต้นแบบสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารจุฬาวิชาการ, 5 (ฉบับพิเศษ), 222-223.
ขวัญชนก บุญนาค. (2563). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ระดับประถมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 62-77.
ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ. วารสารสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 12(2), 47-63.
ดารกา บุญกาญจน์. (2563). ความต้องการพัฒนาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขต 3 พระใหญ่เขื่องใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 29. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 345-357.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (มปป.). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า ตอน อนาคตครูไทย ครูพันธุ์ C. https://sornorinno.blogspot.com/2010/09/c-c-teacher.html
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. ตักสิลา.
ทัดดาว โยงไทยสง. (2560). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].
ธนกฤต อั้งน้อย และอนุชา กอนพ่วง. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิด โรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(2), 169-180.
ธริศร เทียบปาน. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่].
ธัชพงศ์ ชอุ่ม. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการสำหรับสถานศึกษาเอกชนในบริบทสากล[วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม].
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. สุวีริยาสาส์น.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. พิมพ์ดีด.
พัชราภา ตันติชูเวช. (2560). เจเนอเรชั่นแอลฟา เจเนอเรชั่นใหม่ในสงคมไทยศตวรรษที่ 21. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชญ์สินี ชมพูคำ. (2562). รูปแบบการประเมินสมรรถนะนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 14(1), 105-121.
พิมพ์ใจ ปั้นรอบรู้ และอโนทัย ประสาน. (2564). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 13(2), 195-196.
วนิดา ภูชำนิ. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].
วิทยากร เชียงกูล. (2553). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2551/2552: บทบาทการศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
ศิริพร ปัญญาจันทร์. (มปป). บทบาทครูในยุคปัจจุบัน. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/ article/view/10461/8738
สมนึก อินทะลา และกรรณิกา ไวโสภา. (2566). การศึกษาสมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 5(1), 228-239.
สมัย ชารมาลย์. (2559). รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร].
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. https://www.sesaomuk.go.th/archives/7635
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการบริหารจัดการคุณภาพ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุชาติ วิริยะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. วารสารมหาวิทยาลัมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 4(1), 277-288.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). การบริหารสถานศึกษาสู่คุณภาพการศึกษายุคใหม่. แอนนา.
เสริมศักดิ์ คงสมบัติ. (2563). การใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 11(1), 203-207.
โสภิต ฉายะสถิตย์. (2562). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสองภาษาในประเทศไทย [ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].
อัมพิกา สิริพรม. (2563). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
อัสรี สะอีดี, สิทธิศักดิ์ บุญหาญ และจิตรัตดา ธรรมเทศ. (2019). สมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(4), 14-24 .
Kimbrough, B., & Nunnery, Y. (1998). Education Administration: An Introduction. Macmillan.
Sergiovanni, T. J., Kelleher, P., McCarthy, M. M. & Fowler, F. C. (2009). Educational governance and administration. 6th Ed. Pearson.