ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซอง ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการซื้อและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และจำแนกตามพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซอง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดและแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย โดยทำการสุ่มทั้งหมด 8 จังหวัดที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี, ตรัง, ชุมพร, กระบี่, ภูเก็ต, พังงา และระนอง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซองในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ในการตอบแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 400 ชุด เฉลี่ยจังหวัดละ 50 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสอบถามเรื่องปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการซื้อและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซองในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์เชิงอนุมาน การทดสอบ (Independent t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธี Least-Significant Different (LSD)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริโภคในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยส่วนใหญ่มีเหตุผลในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซอง คือ เลือกเพราะคุณภาพและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ รองลงมา คือ เลือกเพราะตราผลิตภัณฑ์ มีโอกาสในการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซอง คือ ใช้เป็นประจำทุกวัน เช้า-เย็น รองลงมา คือ ใช้เฉพาะบางโอกาส เช่น ใช้เมื่อเวลาเป็นสิว หรือแต้มเฉพาะจุด มีความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซอง คือ ซื้อสัปดาห์ต่อครั้ง มีปริมาณในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซองในแต่ละครั้ง คือ 1 ซองต่อครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซองในแต่ละครั้ง คือมากกว่า 200 บาทขึ้นไป และมีช่องทางในการซื้อผลิตภัณฑ์ คือ ร้านสะดวกซื้อ เช่น Watson, Boots 2. ผู้บริโภคในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 - 30 ปี รองลงมามีอายุระหว่าง 31- 40 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี รองลงมา คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รองลงมา คือ มีอาชีพพนักงานรัฐและข้าราชการ และมีรายได้ระหว่าง 20,001 - 30,000 บาทต่อเดือน รองลงมา คือ มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20,000 บาท
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ทำให้ได้รับทราบข้อมูลของการศึกษาเรื่องปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการซื้อและพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ ที่ได้แสดงถึงปัจจัยส่วนบุคคล, พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซอง และปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซอง เพื่อใช้เป็นข้อมูลและแนวทางในการศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดในอนาคตที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชนิดซองในพื้นที่ภูมิภาคอื่น ๆ เช่น ภาคเหนือ, ภาคกลาง หรือภาคอีสาน เพื่อให้ทราบความคิดเห็นที่แตกต่าง และหลากหลายเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากับผู้บริโภคในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
PACKAGING. (2019). Meaning of skincare products. https://www.42packaging.com/article
Arunpanyawong, T. (2019). Behavior of facial skincare sachet product purchasing among consumers in Samut Prakan province [Master’s thesis, Ramkhamhaeng University].
Foilpack. (2018). Cream sachets or sachet packaging: Small-sized packaging loved by people worldwide. https://www.foilpack.net/ซองครีม-หรือ-ซองซาเช่-บร/
Kasemwong, L. (2020). Marketing communication that influences the purchasing decision of Japanese skincare products by female consumers in Bangkok [independent study, Marketing Communication, Faculty of Mass Communication Technology, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon].
Khehalun. (2019). Decision-making process in purchasing facial sunscreen products of consumers in Bangkok [Master's thesis, Ramkhamhaeng University].
Kraikangwan, T. (2019). Factors influencing sunscreen lotion purchasing decisions among customers in Ubon Ratchathani province. Journal of Eastern Asia University, Social Science and Humanities Edition, 9(3), 202-212.
Marketeer. (2019). Skincare sachets in 7-11 are plentiful but still selling well. https://marketeeronline.co/archives/111698
Pisudthipan, C., & Thanabordeekij, P. (2019). Factors Affecting Purchase Intentions of Thai Consumers on Sachet Facial Skincare Products in Bangkok, Thailand. Association of private higher education institutions of thailand under the patronage of her royal highness princess maha chakri siridhorn, 8(2), 34-43.
POBPAD. (2022). How to choose the right cream for your skin. https://www.pobpad.com
Thairath Online. (2021). Meaning of packaging. https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2114796