ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อุไรวรรณ ขาวผ่อง
สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ (A cross-sectional analysis) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพขชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
ต่อมน้ำเหลืองในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อายุ 18 ปีขึ้นไป ยินยอมให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถาม เกณฑ์คัดออก คือ ผู้ป่วยมีไม่สามารถสื่อสารและเข้าใจภาษาไทยได้ ขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้โปรแกรม G*Power จำนวน 150 ราย สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น (probability) ด้วยวิธีหยิบฉลาก เครื่องมือ คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดคุณภาพชีวิต The Functional Assessment of Cancer Therapy-General Version 4 ฉบับ ภาษาไทย (FACT - G) ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา CVI เท่ากับ 0.96, 0.89 ตามลำดับ ส่วนค่าความเที่ยงของการวัด (Reliability) เท่ากับ 0.87, 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์อำนาจทำนายด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression)


ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.4 และปัจจัยด้านภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาเคมีบำบัด และปัจจัยด้านชนิดของมะเร็ง มีอิทธิพลร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ร้อยละ 33.2 (R2=.332) และภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาเคมีบำบัด (β=-.557) มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยสูงกว่าชนิดของมะเร็ง (β =-.141)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P<.05


สรุปผลการวิจัย คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาเคมีบำบัด และชนิดของมะเร็งมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิต และพบว่าอาการของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังได้รับยาเคมีบำบัด คือ ผมร่วง อ่อนเพลีย การรับรสและกลิ่นเปลี่ยนไป ความอยากอาหารลดลง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก และมีแผลในปาก

Article Details

How to Cite
ขาวผ่อง อ., & เอี่ยมจันทร์ประทีป ส. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(2), 674–686. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.42
บท
บทความวิจัย

References

Borel C, Lamy S, Compaci G, Récher C, Jeanneau P, Nogaro JC, Bauvin E, Despas F, Delpierre C, Laurent G. A. (2015). longitudinal study of non-medical determinants of adherence to R-CHOP therapy for diffuse large B-cell lymphoma: implication for survival. BMC Cancer, 15, 288. doi: 10.1186/s12885-015-1287-9

Jensen, R.E., Arora, N.K., Bellizzi, K.M., Rowland, J.H., Hamilton, A.S., Aziz, N.M. (2013). Health-related quality of life among survivors of aggressive non-Hodgkin lymphoma. Cancer, 119(3), 672–680.

Kang, D., Cho, J., Kim, I.R., Kim, M.K., Kim, W.S., Kim, S.J. (2018). Health-Related Quality of Life in Non-Hodgkin Lymphoma Survivors: A Prospective Cohort Study. Cancer Research and Treatment, 50(4), 1051-1063.

kanya, P., Sirijanchune, P. and Chueamuangphan, N. (2021). Overall Survival and Risk Factors of Relapsed or Refractory of The Treatment of Diffuse Large B-Cell Lymphoma in Chiangrai Prachanukroh Hospital. Chiangrai Medical Journal, 12(1), 1-12.

Kim, B.J., Park, H.R., Roh, H.J., Jeong, D.S., Kim, B.S., Park K.W., Cho, S.C., So, Y.T., Oh, S.J., Kim, S.J. (2010). Chemotherapy-related polyneuropathy may deteriorate quality of life in patients with B-cell lymphoma. Quality of Life Research, 19(8), 1097-103.

Klastersky. J., Naurois D.J., Rolston, K., Rapoport, B., Maschmeyer, G., Aapro, M., et al. (2016). Management of febrile neutropenia: ESMO Clinical Practice Guidelines. Annals of Oncology, 27(5), 111-118.

Oerlemans, S., Mols, F., Nijziel, M.R., Lybeert, M., van de Poll-Franse, L.V. (2011). The impact of treatment, sociodemographic and clinical characteristics on health-related quality of life among Hodgkin’s and non-Hodgkin’s lymphoma survivors: a systematic review. Annals of Hematology, 90(9), 993-1004.

Sathaporn, T., Chinvararak, C. and Bunworasate, U. (2021). Quality of life and associated factors of lymphoma patients in Hematology Clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Chulalongkorn Medical Journal, 3(1), 11-21.

Soares, A., Biasoli, I., Scheliga, A., Baptista, R.L., Brabo, E.P., Morais, J.C. (2013). Association of social network and social support with health-related quality of life and fatigue in long-term survivors of Hodgkin lymphoma. Support Care Cancer, 21(8), 2153-2159.

Wasse, S.K., Mounier, M., Assogba, E., Rossi, C., Adnet, J., Gauthier, S., Girard, S., Atsou, K.M., Dabakuyo-Yonli, T.S. and Maynadie, M. (2023). Factors Affecting Health-Related Quality of Life among Survivors of Non-Hodgkin Lymphoma: A Population-Based Study. Cancers (Basel), 15(15), 3885.

Yoobang, N. (2022). Outcome and Prognostic Factors in Diffuse Large B-cell Lymphoma Patients in Mahasarakham Hospital. Mahasarakham hospital Journal, 20(1), 80-96.